จากกรณีที่กรุงเทพมหานคร(กทม.)ได้ฟ้องยื่นฟ้องบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์พุค สเปเชียล ฟาห์รซอยก์จำกัดต่ออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เพื่อเพิกถอนสัญญาซื้อขายรถและเรือดับเพลิงและเรียกเงินตามสัญญาซื้อขายกลับคืนทั้งหมดเต็มจำนวนเนื่องจากการทำสัญญาจัดซื้อมีการทุจริตเป็นการกีดกันทางการค้าและการเสนอราคาอย่างไม่เป็นธรรมซึ่งคณะผู้บริหารกทม.ได้เดินทางไปให้ข้อมูลนัดสุดท้ายกับอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์เมื่อต้นเดือน ส.ค.2557ที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดผลการตัดสินของอนุญาโตตุลาการเป็นลายลักษณ์อักษรได้ส่งมาถึงกรุงเทพมหานครแล้วและอยู่ระหว่างให้สำนักงานกฎหมายแห่งหนึ่งจัดแปลเอกสารผลคำวินิจฉัยดังกล่าวอย่างเป็นทางการโดยผลสรุปการตัดสินคือกระบวนการซื้อขายรถเรือดับเพลิงดังกล่าวเป็นไปตามข้อตกลงสัญญาการซื้อขายระหว่างคู่สัญญาถูกต้องซึ่งกทม.ได้ขอให้มีการตรวจสอบประเมินราคารถและเรือโดยคนกลางที่เชี่ยวชาญซึ่งทั้ง 2ฝ่ายยอมรับโดยต่างหาคนกลางที่เชี่ยวชาญมาทำการตรวจสอบประเมินราคามูลค่ารถเรือที่จัดซื้อเมื่อได้ข้อมูลการประเมินราคามาแล้วทางอนุญาโตตุลาการฯเป็นผู้ชี้ขาดให้ทางบริษัทสไตเออร์ฯจ่ายคืนเงินกทม.จำนวนหนึ่งซึ่งเป็นวงเงินที่ยอมรับทั้ง2 ฝ่ายทั้งนี้เมื่อได้รับเอกสารแปลคำตัดสินแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเสนอให้ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.พิจารณาต่อไปซึ่งการต่อสู้คดีในอนุญาโตตุลาการที่ผ่านมาเป็นข้อสรุปว่าสัญญาซื้อดังกล่าวถูกต้องซึ่งเป็นที่สุดว่าไม่สามารถนำเรื่องการฟ้องให้สัญญาเป็นโมฆะไปฟ้องที่ศาลใดได้อีก
รายงานข่าวแจ้งอีกว่ามูลค่าที่ทางสไตเออร์ฯจะจ่ายคืนให้กทม.คำนวณเป็นเงินไทยแล้วคาดว่าเป็นวงเงินอยู่ที่ไม่เกิน1,000 ล้านบาทโดยผลการตัดสินคดีนี้กทม.จะต้องยอมรับในสัญญาซื้อขายดังกล่าวมีผลผูกพันตามกฎหมายและต้องรับรถและเรือทั้งหมดมาใช้งานต่อไป ซึ่งค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องตามมาเป็นภาระของกทม.แต่เพียงผู้เดียวโดยเบื้องต้นหากกทม.ยอมรับตามผลการตัดสินตามนี้ ก่อนนำรถออกมาใช้จะต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ตามมาได้แก่ค่าซ่อมรถและเรือที่จอดทิ้งอยู่นานกว่า8 ปีซึ่งจากการลงตรวจสอบสภาพรถและเรือผลการประเมินเบื้องต้นกรณีที่ยังไม่ได้ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ภายในคาดว่าจะใช้งบประมาณในการซ่อมราว200 ล้านบาท ค่านำของออกจากท่าเรือตามพิธีการศุลกากรประมาณ500 – 600ล้านบาท โดยยังมีค่าปรับและค่าภาษีที่ยังไม่ได้คำนวณเป็นตัวเงินอีก