ชาวเยอรมันหลายหมื่นชุมนุมต้านกลุ่มต่อต้านอิสลาม

ชาวเยอรมันกว่า 22,000 คนชุมนุมต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มเยอรมันขวาจัดหัวรุนแรงที่จัดชุมนุมใหญ่เกณ์คน 18,000 มาร่วมชุมนุมต่อต้านอิสลาม ขณะนายกรัฐมนตรีกลุ่มชุมนุมต่อต้านอิสลิมเป็นการเหยียดเชื้อชาติอย่างรุนแรง

สำนักข่าวดอยเชอ เวลเลอของเยอรมนี รายงานเมื่อวันที่ 6 ม.ค. ว่า กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านอิสลามที่เรียกตัวเองว่า “เปกีดา” ประกาศยกเลิกการชุมนุมที่เมืองโคโลญจ์ของเยอรมนี หลังจากชาวเยอรมันกว่า 20,000 คน ออกมาประท้วงต่อต้านและแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวในประเทศเยอรมนี

มหาวิหารโคโลญ ดับไฟเพื่อร่วมต่อต้านกลุ่ม PEGIDA ที่ต่อต้านมุสลิม
มหาวิหารโคโลญ ดับไฟเพื่อร่วมต่อต้านกลุ่ม PEGIDA ที่ต่อต้านมุสลิม

รายงานระบุว่า ประชาชนในเมืองโคโลญจ์แสดงออกถึงการสนับสนุนผู้ลี้ภัยและนโยบายคนเข้าเมืองในเยอรมนีอย่างล้นหลาม โดยบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำไรน์ มหาวิหารโคโลญซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญอันมีชื่อเสียงมากที่สุดของเยอรมนี ได้ดับไฟเพื่อเป็นการประท้วงกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านอิสลาม ขณะที่ประตูบรันเดนบูร์กก็ปิดไฟที่ส่องออกด้านนอกเพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน นอกจากนั้น กิจการผู้ผลิตรถยนต์โฟล์กสวาเกน ในเมืองเดรสเดน ก็ปิดไฟโรงงานจนมืดสนิท เพื่อแสดงให้เห็นว่าบริษัทนี้มีจุดยืนสนับสนุน “สังคมที่ใจกว้าง มีเสรีภาพ และยึดหลักประชาธิปไตย”

ขณะที่ประชาชนที่ร่วมการเดินขบวนต่างร้องตะโกนแสดงเจตจำนงของตนว่าจะไม่ต้องการให้กลุ่มต่อต้านมุสลิมออกมาประท้วงในเมืองโคโลญจ์ พร้อมชูป้ายต่อต้าน นอกจากนี้ ยังมีประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อต้านกลุ่มแอนตี้มุสลิมผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์กอีกเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ สำนักข่าวดีพีเอสรายงานว่า ที่เมืองสตุตการ์ต มึนสเทอร์ และฮัมบูร์ก ยังมีกลุ่มผู้ประท้วงฝ่ายต่อต้าน PEGIDA ออกมาชุมนุมรวมทั้งสิ้น 22,000 คน

ไฮโก มาส รัฐมนตรียุติธรรมเยอรมนีกล่าวในที่ชุมนุมของฝ่ายต่อต้านขบวนการ PEGIDA ที่กรุงเบอร์ลินว่า “เยอรมนีเป็นประเทศที่เปิดประตูต้อนรับผู้ลี้ภัย และคนส่วนใหญ่ที่ยังไม่ประกาศจุดยืนก็ต้องไม่เอาแต่ปิดปากเงียบ แต่ต้องออกไปรวมตัวกันแสดงพลังตามท้องถนน”
ส่วนที่กรุงเบอร์ลิน ประชาชนราว 5,000 คนรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสันติ ขณะที่นายดิเลก โคลัต จากพรรคสังคมประชาธิไตยประณามกลุ่มเปกีดาว่า “ทำลายสันติสุขของการอยู่ร่วมกันในสังคมเยอรมัน” นอกจากนี้ยังมีการประท้วงเพื่อต่อต้านกลุ่มแอนตี้มุสลิมในเมืองมิวนิค และสตุตการ์ตอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม บีบีซีรายงานว่าที่เมืองเดรสเดน ประชาชนที่สนับสนุนกลุ่มเปกีดาราว 10,000 คนได้ออกมาประท้วงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเพื่อต่อต้านอิสลาม ซึ่งอ้างว่าเป็นภัยต่อค่านิยมของสังคมเยอรมันและยุโรป โดยเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ประท้วงเข้าร่วมเดินขบวนกับกลุ่มเปกิดาในเมืองเดรสเดนถึง 17,500 คน ขณะที่กลุ่มต่อต้านกลุ่มเปกิดา ซึ่งมีจำนวนราว 3,000 คนและได้ออกมาเดินขบวนเช่นเดียวกันเมื่อวันจันทร์ ได้เสนอแนวทางการเจรจากับกลุ่มเปกิดาแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมันแสดงความเห็นผ่านสุนทรพจน์ประจำปีว่า ผู้นำกลุ่มเปกีดานั้น “มีอคติ เย็นชา และจิตใจเต็มไปด้วยความเกลียดชัง” ทำให้ น.ส.แคธริน เออร์เทล ผู้นำกลุ่มเปกิดาโจมตีรัฐบาลเยอรมันว่ากดขี่ทางการเมือง

ขณะที่หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์เยอรมัน บิลด์ ได้ลงแถลงการณ์จากบุคคลสำคัญ 50 คน ในประเทศ รวมไปถึงรัฐมนตรีการคลังเยอรมัน วูล์ฟกัง ชูเบิล นักร้องเพลงร็อค อูโด ลินเดนเบิร์ก และอดีตกัปตันทีมฟุตบอล  โอลิเวอร์ เบียร์ฮอฟฟ์  ออกประนามขบวนการ “ต่อต้านอิสลาม” ครั้งนี้

เอเอฟพีรายงานเพิ่มเติมวันนี้(7)ว่า แดเนียล โคห์น-เบนดิต สมาชิกสภายุโรปพรรคกรีน และนักเคลื่อนไหวเอียงซ้ายให้ความเห็นว่า “ในยุโรป สถานการณ์ทั่วไปมีความอึดอัดที่เห็นการขยายตัวของปรากฏการณ์ต่อต้านอิสลาม” ทั้งนี้ โคห์น-เบนดิตโยงไปถึงการประท้วงของกลุ่มชาตินิยมเยอรมัน PEGIDA ที่สามารถรวมตัวผู้สนับสนุนประท้วงในบริสเบนได้ถึง 18,000 คนในวันจันทร์(5) ทั้งๆที่กลุ่ม PEGIDAเพิ่งเริ่มจัดตั้งขึ้นในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ที่เริ่มแรกมีเป้าหมายที่ปัญหาต่างๆหลากหลาย เช่น สื่อสารมวลชน (ที่ถูกประนามว่าเป็นพวกโป้ปด) และบรรดาชนชั้นนักการเมืองชั้นนำของเยอรมัน (ที่ถูกกล่าวหาว่าทำให้วัฒนธรรมคริสเตียนของเยอรมันอ่อนแอลง) โดยไม่ได้มีเป้าหมายโจมตีศาสนาอิสลามแต่เริ่มจัดตั้ง

ด้านโคห์น-เบนดิต สมาชิกสภายุโรปพรรคกรีนให้ความเห็นสรุปว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเชิงวัฒนธรรมภายในยุโรป “มีกลุ่มPEGIDAในเยอรมัน และยังมีการแต่งงานชนเพศเดียวกันในฝรั่งเศส ทำให้มีความกลัวว่าจะสูญเสียในสิ่งที่ไม่มีเหลืออยู่แล้ว มีความกลัวถึงการเสียความเป็นเยอรมันที่แท้จริงไป การเสียวิสัยทัศน์ความเป็นครอบครัว ซึ่งไม่มีอยู่จริงนานแล้ว เป็นต้น”

ทั้งนี้ ขบวนการ PEGIDA ได้สั่นคลอนเสถียรภาพของสถาบันการเมืองเยอรมนี ทั้งที่ในตอนแรกการเคลื่อนไหวของกลุ่มขวาจัดน่าจะเอื้อประโยชน์ให้แก่พรรค “อัลเทอร์เนทีฟ ฟอร์ เยอรมนี” (AfD) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่คลางแคลงสงสัยกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) เป็นทุนเดิม ทว่า สมาชิกของ AfD ซึ่งเดิมทีก็ประสบปัญหาแย่งชิงอำนาจภายในพรรคอยู่แล้ว ยังคงเสียงแตกจนไม่สามารถตกลงกันได้ว่าควรรับมือกับขบวนการ PEGIDA อย่างไร

กลุ่มผู้ประท้วงฝ่าย PEGIDA ในเมืองเดรสเดน
กลุ่มผู้ประท้วงฝ่าย PEGIDA ในเมืองเดรสเดน
กลุ่มผู้ประท้วงฝ่าย PEGIDA ในเมืองเดรสเดน
กลุ่มผู้ประท้วงฝ่าย PEGIDA ในเมืองเดรสเดน
กลุ่มผู้ประท้วงฝ่ายต่อต้านขบวนการ PEGIDA ในเมืองเดรสเดน
กลุ่มผู้ประท้วงฝ่ายต่อต้านขบวนการ PEGIDA ในเมืองเดรสเดน
กลุ่มผู้ประท้วงฝ่ายต่อต้านขบวนการขวาจัดในเมืองรอสทอค ของเยอรมนี
กลุ่มผู้ประท้วงฝ่ายต่อต้านขบวนการขวาจัดในเมืองรอสทอค
กลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านขบวนการ PEGIDA ในเมืองโคโลญ
กลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านขบวนการ PEGIDA ในเมืองโคโลญ
กลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านขบวนการ PEGIDA ในกรุงเบอร์ลิน
กลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านขบวนการ PEGIDA ในกรุงเบอร์ลิน

ความคิดเห็น

comments

ใส่ความเห็น