เพนตากอนอ้างอีโบลา แอบจับมือบ.ยาสร้าง “วัวโคลนนิงสายพันธุ์ดีเอ็นเอมนุษย์”

NBC News สื่อสหรัฐฯ รายงานเมื่อวันที่ 19 มกราคม ว่าในฟาร์มนอกเมือง Sioux Falls รัฐเซาท์ดาโกตา ฝูงวัวพันธุ์ Holstein-Jersey สีขาวดำจำนวน 50 ตัว ถูกสร้างโดยมีดีเอ็นเอมนุษย์ผสม เลี้ยงไว้เพื่อสร้างแอนติบอดีมนุษย์สำหรับผลิตเป็นวัคซีนโรคอีโบลา ผลงานการวิจัยมูลค่ามหาศาลของบริษัทยาของ SAb Biotherapeutics โดยเอ็ดดี ซัลลีแวน (Eddie Sullivan) ประธานและซีอีโอของบริษยาแห่งนี้เปิดเผยว่า “วัวโคลนนิงฝูงนี้สามารถผลิตแอนติบอดีมนุษย์ขั้นสูงได้เป็นจำนวนมาก” และเสริมว่า “ต้องใช้เงินมหาศาลในการสร้างวัว 50 ตัวขึ้นมา และพบว่า มีตัวอ่อนเพียง 10% เท่านั้นที่รอด และเติบโตเป็นลูกวัวได้ ดังนั้นสามารถจินตนาการได้ว่าวัวแต่ละตัวเหล่านี้มีมูลค่ามหาศาล และหากการวิจัยนี้สำเร็จ วัวฝูงนี้จะเป็นเสมือนขุมทรัพย์เพื่อใช้สำหรับคิดค้นการรักษาโรคร้ายแรงต่างๆ ซึ่งทางบริษัทจับมือกับเพนตากอนทำกาผลิตแอนติบอดีต่างเพื่อรักษาโรคต่างตั้งแต่โรคหวัด ไปจนถึงโรค MERS ที่ระบาดร้ายแรงในตะวันออกกลาง

สื่อสหรัฐฯรายงานเพิ่มเติมว่า วัวโคลนนิงดีเอ็นเอมนุษย์ที่ยังมีหน้าตาเหมือนวัวทั่วไปตามปกติจะไม่ผลิตแอนติบอดีวัว แต่จะผลิตแอนติบอดีมนุษย์แทน เพราะพวกมันถูกสร้างตามขั้นตอนวิศวพันธุกรรมให้เป็น “ครึ่งวัว ครึ่งมนุษย์” ซึ่งหลังจากนั้นวัวฝูงนี้ได้รับวัคซีนป้องกันโรคร้ายแรงต่างๆ เช่นอีโบลา และจะทำให้ร่างกายของวัวโคลนนิงกึ่งมนุษย์จะผลิตสารแอนติบอดีในการตอบสนองต่อวัคซีนเหล่านั้น และทางบริษัทยาสหรัฐฯหวังว่าจะนำพลาสมาเลือดเหล่านี้ไปรักษาผู้ติดเชื้ออีโบลาจนหาย

กระบวนการนี้คล้ายกับวิธีรักษาที่ถ่ายเลือดของผู้ป่วยอีโบลาที่รอดชีวิตไปยังผู้ป่วยติดเชื้ออื่น ซึ่งยังไม่มีผลวิจัยอย่างเป็นทางการรับรองความสำเร็จ แต่ได้มีการทดลองในการใช้วิธีถ่ายเลือดที่ไลบีเรีย และโรงพยาบาลอีโมรีซึ่งได้รับรักษานายแพทย์ เคนท์ แบรนต์ลี ผู้ติดเชื้ออีโบลารายแรกของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม การใช้ฝูงวัวโคลนนิงเพื่อผลิตแอนติบอดีมนุษย์อาจทำให้ขอบเขตโครงการขยายใหญ่ขึ้น “จากวัวทั้งหมดในฝูง นักวิจัยสามารถเก็บพลาสมาเลือดได้ราว 30 ถึง 60 ลิตรต่อเดือน และสามารถนำไปผลิตได้ถึง 500-1,000 โดสในการใช้กับคนไข้ต่อเดือนต่อวัวหนึ่งตัว ซัลลีแวนเผยกับ NBC News

ทั้งนี้บริษัท SAb Biotherapeutics จับมือร่วมกับสถาบันวิจัยยาของกองทัพสหรัฐฯสำหรับโรคติดต่อร้ายแรง หรือ USAMRIID ได้ทำการทดลองนี้กับโรคไวรัสแฮนตา (hantavirus) ไวรัสร้ายแรงที่หายาก ซึ่งล่าสุดเป็นตัวการเสียชีวิตของนักท่องเที่ยวตั้งแคมป์ในอุทยานแห่งชาติโยเซมิตีปี 2012

อย่างไรก็ตามคอนนี ชมาลจอห์น ( Connie Schmaljohn) นักวิจัยอาวุโสประจำ USAMRIID ซึ่งดูแลทั้งโรคอีโบลาและโรคไวรัสแฮนตาให้ความเห็นว่า “อาจไม่แน่ว่าวิธีการนี้จะได้ผลกับเชื้ออีโบลา” โดยอธายเพิ่มเติมว่า ในขั้นแรกวัวโคลนนิงต้องได้รับ ดีเอ็นเอวัคซีนเพื่อกระตุ้นทำให้ร่างกายตอบสนองเพื่อผลิตภูมิคุ้มกันผ่านแอนติบอดี และหลังจากนั้นนักวิจัยจะนำพลาสมาออกมา และถัดจากนั้นแอนติบอดีจะถูกนำออกมาจากพลาสมาอีกที และแอนติบอดีที่ได้ซึ่งมีรหัสพันธุกรรมเดียวกับมนุษย์จะถูกส่งมายังห้องวิจัยของ USAMRIID ในฟอร์ต เดทริค รัฐแมรีแลนด์ เพื่อการทดสอบ ซึ่งมีทีมนักวิจัยทำงานภายในห้องวิจัยความปลอดภัยทางด้านชีวภาพระดับ 4 ทำการทดลองให้แอนติบอดีนี้กับหนูทดลองที่ติดเชื้อไวรัสอีโบลา โดยพบว่า หนูทดลองตัวแรกรอดชีวิตหลังจากได้รับแอนติบอดีจำนวน 1 โดสใน 1 วันหลังจากที่ติดเชื้อ แต่ไม่สามารถมีชีวิตหากได้รับแอนติบอดีหลังจาก 2 วันหลังจากติดเชื้อไปแล้ว เพราะเชื้ออีโบลาร้ายแรงกว่าเชื้อไวรัสแฮนตา ชมาลจอห์นให้ความเห็นเพิ่มเติม ซึ่งเห็นได้ชัดว่าไวรัสอีโบลาสามารถเพิ่มจำนวนได้เร็วกว่า มีความทนทานกว่ามาก และสามารถทำอันตรายกับมนุษย์ร้ายแรงกว่าไวรัสแฮนตา โดยพบว่าอัตราเสียชีวิตของคนไข้เมื่อติดเชื้อไวรัสแฮนตาราว 5%-10% แต่อีโบลากลับอัตราเสียชีวิตที่ 50% – 90%

และแผนต่อไปของ USAMRIID คือการทดลองกับลิง และหากประสบความสำเร็จจะสามารถนำไปสู่การทดลองทางคลีนิกในอาสาสมัครมนุษย์ได้ ชมาลจอห์นเผย “แอนติบอดีพวกนี้เป็นแอนติบอดีรหัสสายพันธุ์มนุษย์ และสามารถผลิตภายใต้หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตตามมาตรฐาน GMP เพื่อใช้กับคนไข้

ความคิดเห็น

comments

ใส่ความเห็น