บุหรี่ไฟฟ้าเสี่ยงมะเร็งกว่าบุหรี่ 15 เท่า

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพอร์ตแลนด์ สเตท ทำการทดลองใช้เครื่อง “สูบควัน” บุหรี่ไฟฟ้าที่ใช้หลักการให้ความร้อนกับน้ำที่มีส่วนผสมของสารนิโคตินและกลิ่นสังเคราะห์ภายในด้ามบุหรี่ โดยเปรียบเทียบกันระหว่างการสูบที่ใช้ไฟฟ้าระดับต่ำกับไฟฟ้าระดับสูง เพื่อตรวจหาปริมาณสารฟอร์มาลดีไฮด์ที่เกิดจากไอน้ำที่ได้รับความร้อน ซึ่งมีกลิ่นสังเคราะห์ สารนิโคติน สารโพรไพลีนไกลคอล และสารกลีเซอรอล เป็นส่วนผสม

ทั้งนี้นักวิจัยกำหนดให้เครื่องสูบควันบุหรี่ทำการสูดควันบุหรี่ไฟฟ้าจำนวน10ครั้ง ภายในเวลา5นาที โดยมีระยะเวลาในการสูดควันแต่ละครั้ง3-4วินาที ซึ่งผลการทดลองออกมาไม่พบสารฟอร์มาลดีไฮด์จากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าระดับต่ำที่3.3โวลต์ แต่เมื่อปรับระดับไฟฟ้าเป็น5โวลต์ กลับพบสารฟอร์มาลดีไฮด์สูงกว่าบุหรี่ปกติ ในระดับที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งมากกว่าถึง15เท่า จากการสูบในระยะยาว

อย่างไรก็ตามแม้นักวิจัยยังไม่ทราบว่า สารฟอร์มาลดีไฮด์ที่ออกมาจากบุหรี่ไฟฟ้านั้นมีผลอย่างไรต่อระบบทางเดินหายใจ แต่ทั้งนี้องค์กรระหว่างประเทศด้านการศึกษาวิจัยเรื่องโรคมะเร็ง กำหนดให้สารฟอร์มาลดีไฮด์เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่มที่1และคาดว่าน่าจะมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจมากกว่าสารฟอร์มาลดีไฮด์ที่ปล่อยออกมาในรูปของก๊าซ

ความคิดเห็น

comments

ใส่ความเห็น