นับเป็นครั้งแรกที่มีการนำ “จารึกดินเหนียวโบราณ” ที่ถูกค้นพบในอิรัก มาจัดแสดงในนิทรรศการเพื่อบอกเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันของชาวยิว ที่อพยพไปยังอาณาจักรบาบิโลน เมื่อราว 2,500 ปีก่อน สวนทางกับข้อเท็จจริงที่ว่าในอดีตการจารีกเป็นลักษณะอักษรขนาดใหญ่ และต้องสลักในหินขนาดใหญ่
นิทรรศการนี้มุ่งจัดแสดงจารึกอักษรรูปลิ่ม (คูนิฟอร์ม) ซึ่งไม่ได้ขนาดใหญ่เกินไปกว่าฝ่ามือของผู้ใหญ่กว่า 100 แผ่น โดยจารึกแต่ละแผ่นล้วนแล้วแต่บอกเล่ารายละเอียดของการติดต่อค้าขาย และการทำสัญญาระหว่างชาวยิว ที่ถูกพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ มหาราชแห่งอาณาจักรบาบิโลนใหม่ขับไล่ หรือชักชวนให้ย้ายออกจากนครเยรูซาเลม เมื่อราว 600 ปีก่อนคริสตกาล
บรรดานักโบราณคดีมีโอกาสได้เห็นแผ่นจารึกเหล่านี้เป็นครั้งแรก ภายหลังได้รับมอบจากนักสะสมชาวอิสราเอลที่มีฐานในกรุงลอนดอน เมื่อราวๆ 2 ปีก่อน
ฟิลิป วูโคซาโววิก ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์บาบิโลน สุเมเรียน และอัสซีเรียโบราณ ซึ่งเป็นภัณฑารักษ์ผู้ดูแลนิทรรศการนี้ ซึ่งจัดขึ้น ณ พิพิธภัณฑ์ดินแดนแห่งไบเบิล เยรูซาเลมระบุว่า “เราโชคดีเหมือนถูกรางวัลใหญ่”
“พอเราเริ่มอ่านจารึกเหล่านี้ เราก็ต้องตกตะลึงภายในไม่กี่นาทีต่อมา เพราะข้อมูลนี้คือคำตอบของคำถามของสิ่งที่เราสงสัยมาโดยตลอดว่า เกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของชาวยิวในอาณาจักรบาบิโลน เมื่อกว่า 2,500 ปีที่แล้ว”
พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ ซึ่งเป็นผู้ปกครองที่ทรงอิทธิพล และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางเพราะสวนลอยแห่งบาบิโลน เคยเสด็จเยือนนครเยรูซาเลม มาแล้วหลายครั้ง ขณะพระองค์ทรงพยายามขยายอาณาจักร
แต่ละครั้งที่พระองค์เสด็จเยือนนครเยรูซาเลม พระองค์ทรงขับไล่ หรือโน้มน้าวให้ชาวยิวหลายพันคนเดินทางออกจากดินแดน ทั้งยังมีครั้งหนึ่งที่พระองค์ประพาสเยรูซาเลม ในช่วงเวลาเดียวกับที่วิหารแห่งแรกของนครนี้ถูกทำลายเมื่อ 586 ปีก่อนคริสตกาล
ชาวยิวราว 1,500 คนที่เดินทางออกจากเยรูซาเลมในช่วง 587 ปีก่อนคริสตกาลได้รอนแรมผ่านดินแดนที่ในปัจจุบันคือเลบานอน และซีเรีย ไปยังดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ทางใต้ของอิรัก ซึ่งเป็นจุดที่ชาวยิวทำมาค้าขาย ทำธุรกิจ และช่วยบริหารราชอาณาจักร
จารึกแต่ละแผ่นนั้นซึ่งถูกจารด้วยอักษรอัคคาเดียตัวเล็กๆ กล่าวถึงผลไม้และโภคภัณฑ์อื่นๆ การจ่ายภาษี การติดหนี้ และการสะสมเครดิต
วูโคซาโววิกอธิบายว่า จารึกเหล่านี้ช่วยไขปริศนาอายุเก่าแก่ 2,500 ปี ขณะที่ชาวยิวมากมายเดินทางกลับไปยังเยรูซาเลม เมื่อชาวบาบิโลนอนุญาต ภายหลัง 539 ปีหลังคริสตกาล แต่ก็ยังมีชาวยิวอีกมากมายที่เริ่มลงหลักปักฐานก่อตั้งชุมชนยิวอันมีชีวิตชีวาซึ่งดำรงอยู่มายาวนานถึง 2,000 ปี
ทั้งนี้ตามข้อเท็จจริงในสมัยบาบิโลน ซึ่งเป็นมีการจากรึดข้อมูลเป็นรูปอักษรขนาดใหญ่ และจะมีการจารึกลงบนพื้นที่ขนาดใหญ่