ยุโรปลั่นดัน AIIB สู่มาตรฐานสากล

รัฐมนตรีคลังมะกันวอนพันธมิตรคิดให้ถ้วนถี่ ขณะที่สื่อจีนรุมเยาะ ชี้การที่ชาติชั้นนำของยุโรปหลั่งไหลเข้าร่วมธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียที่ปักกิ่งเป็นตัวตั้งตัวตี ฟ้องว่าความกดดันของวอชิงตันเป็นเพียง “องุ่นเปรี้ยว” ที่ยิ่งทำให้อเมริกาถูกโดดเดี่ยวมากขึ้น ขณะเดียวกัน เยอรมนี อิตาลี และฝรั่งเศสยังออกแถลงการณ์ร่วม ให้คำมั่นจะดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่า AIIB ปฏิบัติตามมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด

การที่พันธมิตรสำคัญตบเท้าเข้าร่วมโครงการเศรษฐกิจระดับเรือธงของจีนโดยพร้อมเพรียงยังฟ้องความล้มเหลวทางการทูตของลุงแซม ขณะที่พยายามต้านทานอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการทูตของพญามังกร

ความเคลื่อนไหวของชาติชั้นนำของยุโรปยังสะท้อนความกระตือรือร้นที่จะร่วมเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจกับจีน ประเทศเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก และเกิดขึ้นขณะที่การเจรจาการค้าระหว่างบรัสเซลส์กับวอชิงตันอยู่บนเส้นทางวิบาก

นอกจากนั้น สหภาพยุโรป (EU) และประเทศต่างๆ ในเอเชียยังไม่พอใจที่รัฐสภาสหรัฐฯ เตะถ่วงการปฏิรูปกลไกการออกเสียงในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งหากสำเร็จจะเปิดทางให้จีนและประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ มีสิทธิ์มีเสียงในองค์กรแห่งนี้มากขึ้น

วอชิงตันนั้นยืนยันว่า ไม่ได้ชักชวนให้ประเทศต่างๆ หันหลังให้ธนาคารเพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) เพียงแต่ต้องการรู้ว่า แบงก์ใหม่ของจีนแห่งนี้มีมาตรฐานสูงพอในด้านธรรมาภิบาล ตลอดจนการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคมหรือไม่

วันอังคาร (17) แจ็ค ลิว รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ออกมาตอกย้ำเรื่องนี้อีกรอบระหว่างการแถลงต่อรัฐสภาว่า หวังว่า ก่อนที่จะให้คำมั่นขั้นสุดท้าย ทุกประเทศที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก AIIB จะตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า ธนาคารดังกล่าวมีระดับธรรมาภิบาลเหมาะสม

ลิวยังบอกว่า การที่คองเกรสส์ชะลอการให้สัตยาบันรับรองข้อตกลงปฏิรูป IMF บ่อนทำลายความน่าเชื่อถือและอิทธิพลของอเมริกา เนื่องจากทำให้ประเทศอื่นๆ ตั้งคำถามต่อความมุ่งมั่นที่วอชิงตันมีต่อสถาบันระหว่างประเทศ รวมทั้งทำให้ตลาดเกิดใหม่มองหาสถาบันทางเลือก

วันเดียวกันนั้น วูล์ฟกัง ชอเบิล รัฐมนตรีคลังเยอรมนี ประกาศระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีหม่า ข่าย ของจีนที่เดินทางเยือน ว่าเยอรมนี ประเทศเศรษฐกิจอันดับ 1 ของยุโรป จะร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของ AIIB

ในแถลงการณ์ร่วม รัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีคลังเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี ยังกล่าวว่า จะร่วมกันดำเนินการเพื่อสร้างหลักประกันว่า AIIB ปฏิบัติตามมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในด้านธรรมาภิบาล การปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งนโยบายหนี้และการจัดซื้อ

ขณะเดียวกัน กระทรวงคลังจีนได้ออกแถลงการณ์สั้นๆ แสดงความยินดีต่อการตัดสินใจของสามชาติยุโรป และหวังว่า หากทุกอย่างราบรื่น ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมนีจะเข้าเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง AIIB อย่างเป็นทางการภายใน 2 สัปดาห์หน้า

นอกจากนี้ กระทรวงคลังลักเซมเบิร์ก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเงินขนาดใหญ่ของยุโรป ยังยืนยันว่า ได้สมัครเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของ AIIB แล้ว

อนึ่ง สัปดาห์ที่แล้ว อังกฤษเป็นชาติตะวันตกแห่งแรกที่ประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วม AIIB เรียกเสียงตำหนิอย่างที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนักทันทีจากอเมริกามหามิตร

ธนาคารน้องใหม่แห่งนี้เปิดตัวในปักกิ่งเมื่อปีที่แล้ว ภายใต้เป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุนด้านการขนส่ง พลังงาน โทรคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ในเอเชีย จึงถูกมองว่า เป็นคู่แข่งของธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่ตะวันตกครอบงำอยู่

แม้วอชิงตันมองว่า บทบาทของ AIIB จะช่วยตอบสนองความต้องการในภาคโครงสร้างพื้นฐานของเอเชียได้ และเชื่อว่า ธนาคารแห่งนี้จะเป็นพันธมิตรกับ ADB ทว่า กลยุทธ์การตั้งคำถามต่อมาตรฐานของ AIIB เรียกเสียงวิจารณ์จากผู้สังเกตการณ์บางส่วนที่มองว่า อเมริกาควรให้การยอมรับธนาคารน้องใหม่หรือไม่ก็เสนอทางเลือกด้วยสถาบันที่มีอยู่เดิมมากกว่า

เช่นเดียวกัน สื่อแดนมังกรพากันเฉลิมฉลองชัยชนะจากการตัดสินใจของชาติมหาอำนาจยุโรปในการเข้าร่วม AIIB ทั้งที่อเมริกาพยายามขัดขวางก็ตาม

สำนักข่าวซินหวาของทางการจีนวิจารณ์ว่า อเมริกา “เจ้าอารมณ์และชอบดูถูกชาติอื่น” และว่า การตัดสินใจของชาติยุโรปเป็น “การเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมและกล้าหาญ” และขณะเดียวกันก็เป็นการส่งสาส์นถึงวอชิงตันว่า กลยุทธ์องุ่นเปรี้ยวรังแต่ทำให้อเมริกาโดดเดี่ยว รวมทั้งฟ้องถึงความหน้าซื่อใจคดของลุงแซมชัดเจนขึ้น

ปิดท้ายด้วยโกลบัล ไทมส์ ซึ่งรู้กันดีว่า เป็นกระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ประกาศว่า การตัดสินใจของยุโรปเป็นชัยชนะที่ชัดเจนของจีน และว่า นักวิเคราะห์มากมายเชื่อว่า สถานการณ์ปัจจุบันพิสูจน์ว่า อเมริกาขาดแคลนความสามารถในการควบคุมการแผ่ขยายอิทธิพลของจีน

อย่างไรก็ดี โกลบัล ไทมส์ไม่เห็นด้วยกับการปั่นกระแสแอนตี้อเมริกัน โดยบอกว่า การมองวอชิงตันเป็นศัตรูขัดกับหลักการของจีน
ยุโรปลั่นดัน AIIB สู่มาตรฐานสากล สื่อจีนเยาะพันธมิตรทิ้งทุ่นหนีมะกัน

เอเจนซีส์ – รัฐมนตรีคลังมะกันวอนพันธมิตรคิดให้ถ้วนถี่ ขณะที่สื่อจีนรุมเยาะ ชี้การที่ชาติชั้นนำของยุโรปหลั่งไหลเข้าร่วมธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียที่ปักกิ่งเป็นตัวตั้งตัวตี ฟ้องว่าความกดดันของวอชิงตันเป็นเพียง “องุ่นเปรี้ยว” ที่ยิ่งทำให้อเมริกาถูกโดดเดี่ยวมากขึ้น ขณะเดียวกัน เยอรมนี อิตาลี และฝรั่งเศสยังออกแถลงการณ์ร่วม ให้คำมั่นจะดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่า AIIB ปฏิบัติตามมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด

การที่พันธมิตรสำคัญตบเท้าเข้าร่วมโครงการเศรษฐกิจระดับเรือธงของจีนโดยพร้อมเพรียงยังฟ้องความล้มเหลวทางการทูตของลุงแซม ขณะที่พยายามต้านทานอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการทูตของพญามังกร

ความเคลื่อนไหวของชาติชั้นนำของยุโรปยังสะท้อนความกระตือรือร้นที่จะร่วมเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจกับจีน ประเทศเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก และเกิดขึ้นขณะที่การเจรจาการค้าระหว่างบรัสเซลส์กับวอชิงตันอยู่บนเส้นทางวิบาก

นอกจากนั้น สหภาพยุโรป (EU) และประเทศต่างๆ ในเอเชียยังไม่พอใจที่รัฐสภาสหรัฐฯ เตะถ่วงการปฏิรูปกลไกการออกเสียงในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งหากสำเร็จจะเปิดทางให้จีนและประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ มีสิทธิ์มีเสียงในองค์กรแห่งนี้มากขึ้น

วอชิงตันนั้นยืนยันว่า ไม่ได้ชักชวนให้ประเทศต่างๆ หันหลังให้ธนาคารเพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) เพียงแต่ต้องการรู้ว่า แบงก์ใหม่ของจีนแห่งนี้มีมาตรฐานสูงพอในด้านธรรมาภิบาล ตลอดจนการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคมหรือไม่

วันอังคาร (17) แจ็ค ลิว รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ออกมาตอกย้ำเรื่องนี้อีกรอบระหว่างการแถลงต่อรัฐสภาว่า หวังว่า ก่อนที่จะให้คำมั่นขั้นสุดท้าย ทุกประเทศที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก AIIB จะตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า ธนาคารดังกล่าวมีระดับธรรมาภิบาลเหมาะสม

ลิวยังบอกว่า การที่คองเกรสส์ชะลอการให้สัตยาบันรับรองข้อตกลงปฏิรูป IMF บ่อนทำลายความน่าเชื่อถือและอิทธิพลของอเมริกา เนื่องจากทำให้ประเทศอื่นๆ ตั้งคำถามต่อความมุ่งมั่นที่วอชิงตันมีต่อสถาบันระหว่างประเทศ รวมทั้งทำให้ตลาดเกิดใหม่มองหาสถาบันทางเลือก

วันเดียวกันนั้น วูล์ฟกัง ชอเบิล รัฐมนตรีคลังเยอรมนี ประกาศระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีหม่า ข่าย ของจีนที่เดินทางเยือน ว่าเยอรมนี ประเทศเศรษฐกิจอันดับ 1 ของยุโรป จะร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของ AIIB

ในแถลงการณ์ร่วม รัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีคลังเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี ยังกล่าวว่า จะร่วมกันดำเนินการเพื่อสร้างหลักประกันว่า AIIB ปฏิบัติตามมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในด้านธรรมาภิบาล การปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งนโยบายหนี้และการจัดซื้อ

ขณะเดียวกัน กระทรวงคลังจีนได้ออกแถลงการณ์สั้นๆ แสดงความยินดีต่อการตัดสินใจของสามชาติยุโรป และหวังว่า หากทุกอย่างราบรื่น ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมนีจะเข้าเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง AIIB อย่างเป็นทางการภายใน 2 สัปดาห์หน้า

นอกจากนี้ กระทรวงคลังลักเซมเบิร์ก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเงินขนาดใหญ่ของยุโรป ยังยืนยันว่า ได้สมัครเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของ AIIB แล้ว

อนึ่ง สัปดาห์ที่แล้ว อังกฤษเป็นชาติตะวันตกแห่งแรกที่ประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วม AIIB เรียกเสียงตำหนิอย่างที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนักทันทีจากอเมริกามหามิตร

ธนาคารน้องใหม่แห่งนี้เปิดตัวในปักกิ่งเมื่อปีที่แล้ว ภายใต้เป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุนด้านการขนส่ง พลังงาน โทรคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ในเอเชีย จึงถูกมองว่า เป็นคู่แข่งของธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่ตะวันตกครอบงำอยู่

แม้วอชิงตันมองว่า บทบาทของ AIIB จะช่วยตอบสนองความต้องการในภาคโครงสร้างพื้นฐานของเอเชียได้ และเชื่อว่า ธนาคารแห่งนี้จะเป็นพันธมิตรกับ ADB ทว่า กลยุทธ์การตั้งคำถามต่อมาตรฐานของ AIIB เรียกเสียงวิจารณ์จากผู้สังเกตการณ์บางส่วนที่มองว่า อเมริกาควรให้การยอมรับธนาคารน้องใหม่หรือไม่ก็เสนอทางเลือกด้วยสถาบันที่มีอยู่เดิมมากกว่า

เช่นเดียวกัน สื่อแดนมังกรพากันเฉลิมฉลองชัยชนะจากการตัดสินใจของชาติมหาอำนาจยุโรปในการเข้าร่วม AIIB ทั้งที่อเมริกาพยายามขัดขวางก็ตาม

สำนักข่าวซินหวาของทางการจีนวิจารณ์ว่า อเมริกา “เจ้าอารมณ์และชอบดูถูกชาติอื่น” และว่า การตัดสินใจของชาติยุโรปเป็น “การเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมและกล้าหาญ” และขณะเดียวกันก็เป็นการส่งสาส์นถึงวอชิงตันว่า กลยุทธ์องุ่นเปรี้ยวรังแต่ทำให้อเมริกาโดดเดี่ยว รวมทั้งฟ้องถึงความหน้าซื่อใจคดของลุงแซมชัดเจนขึ้น

ด้านไชน่า เดลี่ของทางการจีนเช่นเดียวกัน ยืนกรานว่า แม้ AIIB เป็นแนวคิดของจีนและมีสำนักงานใหญ่อยู่ในปักกิ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่า ธนาคารแห่งนี้เป็นของจีนหรือเป็นเครื่องมืออำนาจละมุนของจีน

“วอชิงตันเร่งเร้าให้ปักกิ่งใช้อำนาจอย่างมีความรับผิดชอบ และ AIIB ก็คือคำตอบล่าสุดของเรื่องนี้” ไชน่า เดลี่จัดหนัก

ปิดท้ายด้วยโกลบัล ไทมส์ ซึ่งรู้กันดีว่า เป็นกระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ประกาศว่า การตัดสินใจของยุโรปเป็นชัยชนะที่ชัดเจนของจีน และว่า นักวิเคราะห์มากมายเชื่อว่า สถานการณ์ปัจจุบันพิสูจน์ว่า อเมริกาขาดแคลนความสามารถในการควบคุมการแผ่ขยายอิทธิพลของจีน

อย่างไรก็ดี โกลบัล ไทมส์ไม่เห็นด้วยกับการปั่นกระแสแอนตี้อเมริกัน โดยบอกว่า การมองวอชิงตันเป็นศัตรูขัดกับหลักการของจีน

ความคิดเห็น

comments

ใส่ความเห็น