กลุ่มโจรกรรมไซเบอร์ซึ่งสงสัยว่าได้รับการสนับสนุนจากจีนทำการสอดแนมรัฐบาลและธุรกิจในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย โดยที่ไม่มีใครระแคะระคายนานนับ10ปีจากการเปิดเผยของบรรดานักวิจัยของไฟร์อายอิงค์ (FireEye)บริษัทความมั่นคงอินเตอร์เน็ตเมื่อวันจันทร์โดยในรายงานที่เผยแพร่ในวันเดียวกันไฟร์อายระบุว่าการสอดแนมทางไซเบอร์ต้องย้อนกลับไปอย่างน้อยในปี2548และเป้าหมายมุ่งเน้นไปที่รัฐบาลธุรกิจการค้าและสื่อมวลชนที่มีผลประโยชน์อยู่ในจีนซึ่งข้อมูลสำคัญที่โจรกรรมนั้นเกี่ยวกับการเมืองเศรษฐกิจและทหาร
บริษัทไฟร์อายระบุว่า กลุ่มแฮกเกอร์ซึ่งใช้ชื่อว่า เอพีที30โจรกรรมข้อมูลที่อ่อนไหวอย่างเป็นระบบมาตั้งแต่ปี2548ในรายงานบอกว่าจากข้อมูลเป้าหมายของเอพีที30และเหยื่อที่พวกเขากำหนดไว้แล้วความสนใจของกลุ่มดูเหมือนจะเพ่งเล็งไปที่เรื่องการเมืองเศรษฐกิจและการทหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้,รวมทั้งปัญหาดินแดนที่เป็นข้อพิพาทและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความชอบธรรมของพรรคคอมมิวนิสต์จีนการดำเนินการดังกล่าวแปลกแตกต่างไปจากกลุ่มโจรกรรมไซเบอร์อื่นๆ ทั้งขนาดและระยะเวลาซึ่งทำให้นักวิจัยพากันเชื่อว่ากลุ่มเอพีที30นี้ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
ยังไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้จากรัฐบาลจีนในทันทีแต่ปักกิ่งมักปฏิเสธข้อกล่าวหาการสอดแนมไซเบอร์อยู่เสมอๆ ไฟร์อาย ระบุว่า กลุ่มสอดแนมไซเบอร์ได้พัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง10ปีที่ผ่านมาเพื่อใช้ในปฏิบัติการของพวกเขาโดยไบรซ์ โบแลนด์หัวหน้าเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีประจำเอเชียแปซิฟิกของไฟร์อายระบุว่าภูมิภาคนี้ตกเป็นเป้าหมายในระดับสูงสุดของการโจมตีไซเบอร์ทั่วโลกและมีจำนวนมากที่ตรวจไม่พบซึ่งกลุ่มเอพีที30ถือว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินการ
รอไปอีก 10 ปี