“ฟ้าผ่า” ระเบิด “รถบรรทุกน้ำปนเปื้อนสารไวไฟ” ลามลุก “รง.บ.พลังงานรัฐโคโลราโด” วอดหมด หลังพายุเข้า

โรงงานบริษัทพลังงาน NGL Energy Partners ทำปิโตรเลียมแบบ Fracking ในรัฐโคโลราโด เกิดเพลิงไหม้ลุกโหมใหญ่ในวันศุกร์(17) หลังจากเกิดฟ้าผ่าเนื่องมาจากพายุที่เข้าทางใต้และมิดเวสต์อเมริกา และทำให้เกิด “ปฎิกริยาลูกโซ่” ระเบิดรถบรรทุกน้ำปนเปื้อนสารไวไฟ ที่จอดอยู่ใกล้ในเวลา 13.00 น.ในวันเดียวกัน พนักงานดับเพลิงไม่สามารถเข้ากู้สถานการณ์ได้ทันเพราะต้องให้เพลิงที่เกิดจากการระเบิดของน้ำมันสงบลงก่อนที่จะเข้าไปได้ ส่งผลให้โรงงานแห่งนี้ถูกเพลิงไหม้วอดทั้งหมด แต่ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บในเบื้องต้น

เดลีเมล สื่ออังกฤษรายงานเมื่อวานนี้(18)ว่า ทางเขตมิดเวสต์และทางใต้ของสหรัฐฯ เกิดสภาพอากาศวิปริตนับตั้งแต่วันศุกร์(17)ที่ผ่านมา พายุได้เข้ารัฐโคโลราโดส่งผลทำให้เกิดฟ้าผ่าขึ้นกับรถบรรทุกสารไวไฟที่เก็บน้ำปนเปื้อนก๊าซและน้ำมันจากการทำปิโตรเลียมแบบ Fracking หรือการขุดเจาะปิโตรเลียม ด้วยการยิงระเบิดเข้าไปในชั้นหินดินดาน เพื่อสร้างรอยแยก แล้วอัดสารเคมีลงไปเพื่อดูดเอาก๊าซธรรมมาชาติขึ้นมา

ซึ่งในเอกสารวิเคราะห์ in-depth analysis ของสภายุโรป (EUROPEAN PARLIAMENT-june 2014) ชื่อว่า Unconventional gas and oil in North America ยกให้การเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี fracking ของอเมริกาเป็นถึงรับการปฏิวัติพลังงานโลกเพราะมันเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิรัฐศาสตร์การพลังงานอีกโฉมหน้าหนึ่ง เทคโนโลยีขุดเจาะแบบเดิม (conventional oil) ต้องสำรวจหากระเปาะหรือแอ่งใต้ดินแล้วส่งท่อไปดูดขึ้นแต่เทคโนโลยี fracking แยงลึกลงไปอีกไปถึงชั้นหินแล้วท่อก็สามารถเปลี่ยนทิศหักมุมแนวนอนแยงเข้าไปแล้วก็ฉีดพ่นแรงอัดน้ำตามแนวนอนนั้นคล้ายกับก้างปลา

และเดลีเมลยังรายงานต่อว่า การะเบิดของรถถังเก็บสารไวไฟที่จอดอยู่ข้างโรงงานบริษัทพลังงาน NGL Energy Partners ในรัฐโคโลราโด ทำให้เกิดลามไปทั่วทั้งโรงงาน เพลิงแดงฉานที่เกิดจากน้ำมันที่ไหม้พวยพุ่งไปยังอากาศ รวมไปถึงควันดำสารพิษกระจายคลุ้งไปทั่วหลังจากเวลา 13.00 น.ของวันศุกร์(17) เดล ไลแมน (Dale Lyman) โฆษกประจำสถานีดับเพลิงกรีลีย์( Greeley)ให้สัมภาษณ์กับสื่อท้องถิ่น หนังสือพิมพ์กรีลีย์ ทริบูนว่า หน่วยดับเพลิงถูกเรียกมาที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสนามบินกรีลีย์ แต่ทว่า ทางดับเพลิงต้องรอให้เพลิงสงบลงเล็กน้อยก่อนจึงสามารถเข้าไปภายในได้ เนื่องด้วยไฟที่เกิดโหมขึ้นมาการเผาไหม้ของน้ำมัน

นอกจากนี้ชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณรอบตัวโรงงานถูกอพยพออกไปทั้งหมดเพื่อความปลอดภัย และไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด

เพลิงไหม้เกิดจากฟ้าผ่าไปที่รถเก็บถังสารไวไฟซึ่งเป็นน้ำปนเปื้อนที่ใช้ในอุตสากรรมการขุดเจาะปิโตเลียมแบบ Fracking ซึ่งสื่ออังกฤษชี้ว่า เพลิงลุกโหมขึ้นสู่ท้องฟ้าในอากาศ และลามไปยังพื้นราว 60 ฟุต
ทั้งนี้พบว่าน้ำที่ปนเปื้อนนั้นมีส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอนและปิโตรเลียม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่จุดการระเบิดรถถังเก็บน้ำปนเปื้อนเหล่านี้ โดยพบว่ารถถังเก็บน้ำปนเปื้อนจอดอยู่บริเวณใกล้กับบ่อน้ำปนเปื้อนสารไวไฟ (fracking wastewater) สำหรับที่เตรียมไว้ใช้ในการขุดเจาะในส่วนของการฉีดลงไปในชั้นใต้ดิน

และยังพบว่าบริเวณที่เกิดเหตุนี้ยังเชื่อมกับแผ่นดินไหวในกรีลีย์ในพฤษภาคม และมิถุนายน 2014

สื่ออังกฤษรายงานเพิ่มเติมว่า ไลแมน โฆษกหน่วยดับเพลิงกรีลีย์ แถลงต่อว่า โฟมสารเคมีของหน่วยงานดับเพลิงสหรัฐฯนี้ใช้เพื่อเพลิงไหม้ที่เกิดจากไฟไฟม้ที่เกิดจากสารเหลวประเภท 1 ในการที่จะตัดก๊าซออกซิเจนออกจากเปลวเพลิง และทำให้ไฟโหมน้อยลง

และยังพบว่าบริษัทพลังงาน NGL Energy Partners แห่งนี้มีที่ตั้งโรงงานเก็บน้ำปนเปื้อนสารไวไฟเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเช่นนี้ทั่วสหรัฐฯ โดย ดัก ไวท์ รองประธานบริษัทได้ให้สัมภาษณ์กับกรีลีย์ ทริบูนว่า “เหตุเพลิงไหม้นั้นได้รับการควบคุมแล้ว เราพบกับฟ้าผ่ารุนแรงที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้น” ซึ่งไวท์ยืนยันว่ายังไม่ทราบตัวเลขความเสียหายชัดเจนถึงแม้ว่า สื่อท้องถิ่นนำเสนอว่า โรงงานปิโตรเลียมที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมนี้ถูกเผาจนราบก็ตาม

จากรายงานชี้ว่า เทคโนโลยี fracking ของการทำปิโตรเลียมแบบใหม่ที่นิยมมากในสหรัฐฯในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้นส่งผลกระทบอย่างหนักต่อสิ่งแวดล้อม ที่เห็นได้ชัดคือ เหตุเกิดในรัฐเพนซิลวาเนีย เพราะเทคนิคใหม่นี้ส่งผลทำให้ทำให้ก๊าซมีเทนในใต้ดินลึกรั่วไหลออกมาปนเปื้อนดินและน้ำ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงผลกระทบที่มีต่อ “แผ่นดินไหว” เนื่องด้วยประสิทธิภาพในการทำปิโตรเลียมที่สามารถชอนไชชั้นดินและหินรองรับเป็นชั้นๆที่ถือว่าเป็นโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่พยุงเปลือกโลก และดูดก๊าซธรรมชาติได้มากกว่าการทำปิโตรเลียมแบบปกติ

ความคิดเห็น

comments

ใส่ความเห็น