ไมเคิล วิลเลียม คอรีย์ (Michael William Corey) ทหารหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯซึ่งประจำอยู่ญี่ปุ่นเสียชีวิตไม่ห่างจากค่ายฐานทัพสหรัฐฯ แคมป์แจ็คสัน ในระหว่างถูกส่งตัวมาฝึกในเกาหลีใต้ในช่วงนี้ โดยชาวเกาหลีใต้ที่อาศัยใกล้ฐานทัพสหรัฐฯเป็นผู้พบศพในวันจันทร์(15) ในขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุการเสียชีวิตอย่างแน่ชัด ซึ่งก่อนหน้านี้ สื่อการทหารและความมั่นคง The DefenceOne รายงานว่า หลังจากที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯยอมรับว่าได้มีความผิดพลาดจัดส่ง “เชื้อไวรัสแอนแทรกซ์” ซึ่งถือเป็นอาวุธชีวภาพไปยังห้องทดลองวิทยาศาสตร์ทั่วสหรัฐฯ และรวมไปถึงออสเตรเลีย แคนาดา และเกาหลีใต้ โดยเพนตากอนยอมรับว่า การจัดส่งไปยังเกาหลีใต้เพื่อต้องการให้กองทัพสหรัฐฯเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจพบและค้นหาอาวุธชีวิภาพชนิดนี้ด้วนความรวดเร็วจากระยะไกลเพื่อช่วยชีวิตทหารผูปฎิบัติหน้าที่
ฐานทัพสหรัฐฯประจำเกาหลีใต้ได้ออกแถลงการณ์ในวันพฤหัสบดี(18) หลังในวันจันทร์(15)ชาวเกาหลีใต้พบศพไมเคิล วิลเลียม คอรีย์ (Michael William Corey) ทหารหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯซึ่งประจำอยู่ญี่ปุ่นเสียชีวิตไม่ห่างจากค่ายฐานทัพสหรัฐฯ แคมป์แจ็คสัน ในระหว่างถูกส่งตัวมาฝึกในเกาหลีใต้ในช่วงนี้
รอยเตอร์รายงานว่า แต่เดิมคอรีย์เป็นทหาร NCO จาก โฮโร แวลลีย์ ( Oro Valley) รัฐแอริโซนา รายงานจากแถลงการณ์ของแคมป์ แจ็คสัน ทางเหนือของกรุงโซล
โดยในแถลงการณ์ระบุว่า คอรีย์เสียชีวิตในระหว่างการฝึกลาดตระเวนทางบกภายในค่ายทหารแห่งนี้ โดยนายทหารรายนี้เป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลประจำ 441st ฐานทัพสหรัฐฯแคมป์ซามา (Camp Zama )ในใกล้กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น แต่ถูกส่งตัวมาฝึกในเกาหลีใต้ในช่วงนี้ และการเสียชีวิตนายทหารรายนี้ยังอยู่ในระหว่างการสอบสวน
ทั้งนี้มีนายทหารสหรัฐฯร่วม 28,500 นายประจำอยู่ในเกาหลีใต้
ซึ่งเกาหลีใต้ถือเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ใกล้ชิดของสหรัฐฯ รอยเตอร์รายงานเพิ่มเติมว่า ค่ายทหารแคมป์แจ็คสันที่ดำเนินการโดยกองทัพที่ 8 (Eighth Army )เป็นสถานที่สำหรับฝึกซ้อมสำหรับทหาร NCO หรือทหารที่ไม่ได้รับมอบหมายภารกิจ และรวมไปถึงทหารเกณฑ์เกาหลีที่มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษขั้นสูงที่ประจำในหน่วย KATUSA
และความสัมพันธ์ด้านการทหารระหว่างทั้งสองชาติที่นอกจากที่สหรัฐฯจะมีฐานทัพประจำเกาหลีใต้ ฝึกทหารเกาหลีใต้ และรวมไปถึงการฝึกซ้อมรบร่วมกันแล้ว ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งนี้ยังปรากฏเป็นข่าวหน้าหนึ่งไปทั่วโลกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาที่ทางกองทัพสหรัฐฯได้ออกมายอมรับว่ามีการส่งตัวอย่างอาวุธชีวภาพ “เชื้อแอนแทรกซ์” ไปยังค่ายทหารกองทัพอากาศในเกาหลีใต้จริง จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ สื่อความมั่นคงและการทหาร The DefenceOne เปิดเผยถึงสาเหตุว่า เหตุใดเพนตากอนจึงจัดส่งเชื้อแอนแทรกซ์ไปยังห้องวิทยาศาสตร์ทั่วสหรัฐฯ รวมไปถึง แคนาดา ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้
โดยการรายงานข่าวของสื่อการทหารพบว่า เพนตากอนจัดส่งอาวุธชีวภาพแอนแทรกซ์ไปยังโซลเพื่อ “ทดสอบอุปกรณ์ชนิดใหม่ที่ใช้ดักจับเชื้อโรคอาวุธชีวภาพ” The DefenceOne ระบุว่าในเดือนเมษายน 2014 ทางเพนตากอนเริ่มต้นกระบวนการทดลองที่สำคัญของหน่วยงานความร่วมมือระหว่างกองทัพสหรัฐฯและกองทัพเกาหลีใต้ที่มีการทดลองเกี่ยวกับการระบุหาการคุกคามทางภัยความมั่นคง ที่โครงการความร่วมมือนี้มีชื่อย่อว่า “JUPITR”
และในภายใต้โปรแกรม JUPITR ประกอบไปด้วยการทดลองเครื่องมือต่างๆทั้งขนาดย่อส่วนและขนาดใหญ่เพื่อช่วยให้ทหารผู้ปฎิบัติหน้าที่สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสอาวุธชีวภาพได้ทันท่วงทีจากในระยะไกล ซึ่งความก้าวหน้าทางวิทยาการนี้ สื่อการทหารระบุว่า ก้าวหน้าไปกว่า การวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของกรดอะมิโนพื้นฐานที่กระทำอยู่ตามปกติไปแล้ว หรือการใช้เซนเซอร์เลเซอร์เพื่อตรวจจับ
และในเดือนสิงหาคม 2014 ทาง The DefenceOne ได้เห็นเครื่องมือตรวจสอบของ JUPITR ที่ Army’s Chemical Materials Activity ในเอดจ์วูด (Edgewood)รัฐแมรีแลนด์ ที่มีการใช้ระบบเซนเซอร์เลเซอร์ตรวจจับสารเคมีที่อยู่ในยูวี และส่งผลทำให้ทั้งระบบดึงตัวอย่างจากอากาศ ณ จุดนั้นเพื่อทำการวิเคราะห์ลงรายละเอียดทั้งหมด
โดยสื่อความมั่นคงชี้ว่า จากความพยายามทั้งหมด เพนตากอนต้องการที่จะค้นหาสารเคมีที่จะเกิดอันตรายต่อชีวิตได้อย่างรวดเร็วแต่ทว่าถือเป็นความผิดพลาดในการส่งเชื้อไวรัสทั้งเป็นออกไปยังห้องปฎิบัติการต่างๆ รวมถึงในโซล