ความพยายามรัฐประหารโค่นล้มประธานาธิบดี รอยับ ตอยยิบ ออโดกัน ที่ล้มเหลวทำมห้เศรษฐกิจของตุรกีเสียหาย 300 แสนล้านลีรา (ราว 3.4 ล้านล้านบาท) รายงานระบุโดยอ้างจากรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์
บูเลนต์ ตูเฟ็นคซี รัฐมนตรีกระทรวงศุลกากรและพาณิชย์กล่าวในหนังสือพิมพ์เฮอร์ริเยตว่า แม้กระทั่งราคาสินค้าก็อาจจะเพิ่มขึ้นแต่ยืนกรานว่ารากฐานของเศรษฐกิจของตุรกียังคงแข็งแกร่ง
“เครื่องบินขับไล่ เฮลิคอปเตอร์ อาวุธ ระเบิด อาคารสิ่งปลูกสร้างเท่ากับ 3 แสนล้านลีรา บางทีผมอาจประเมินต่ำไปเล็กน้อย” เขากล่าว โดยอ้างถึงความเสียหายอย่างหนักในคืนวันรัฐประหาร
อย่างไรก็ตามตูเฟ็นคซีเตือนว่า ภาพรวมทั้งหมดควรถูกมองในบริบทระยะกลาง แม้ว่านักลงทุนบางคนจะรู้สึกท้อแท้ในระยะสั้นก็ตาม
“พวกกบฏเหล่านี้ทำให้ตุรกีดูเหมือนกับประเทศโลกที่สาม” เขากล่าวด้วยคาวโมโห
“พวกเขา (นักลงทุน) ไม่เข้ามาหลังจากเห็นภาพรถถังถูกนำมาวิ่งบนท้องถนน รัฐสภาถูกทิ้งระเบิด” เขากล่าว พร้อมเสริมว่า บางคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างชาติถูกยกเลิกภายหลังรัฐประหาร
แต่ตูเฟ็นคซีกล่าว่า ถึงกระนั้นตุรกีก็ยังสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้
“หากการรัฐประหารเกิดในประเทศอื่น กว่าตลาดจะเปิดจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์” เขากล่าว รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม แต่ตลาดการเงินในตุรกีเปิดเป็นปกติหลังจากช่วงสุดสัปดาห์
“อัตราดอกเบี้ยไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ ความเสียหายของตลาดหลักทรัพย์อยู่ในวงจำกัด ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเลขการเติบโตหรือตัวเลขการส่งออก ประเทศนี้ยืนหยัดอย่างมั่นคง”
รัฐบาลระงับการลาหยุดประจำปีของเจ้าหน้าที่รัฐภายหลังความพยายามรัฐประหาร ซึ่งรัฐบาลโทษว่าเป็นฝีมือของเหล่าผู้สนับสนุนของ เฟตุลเลาะห์ กุเลน ครูสอนศาสนาที่เป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่สหรัฐอเริกาให้ที่พักพิงอยู่ในประเทศ
มาตรการนี้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลกระทบอยู่แล้วจากการขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเพราะความกังวลเรื่องปลอดภัยหลังจากเหตุโจมตีหลายครั้งรวมถึงวิกฤตกับรัสเซีย
จำนวนของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนตุรกีลดลงกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ในเดือนมิถุนายนสู่ระดับต่ำสุดในปีนี้ แต่มีข่าวดีว่าชาวรัสเซียจะกลับมาหลังจากที่อังการาแก้ไขความขัดแย้งกับมอสโคแล้ว