มูลนิธิมะดีนะตุสสลามร่วมกับมหาวิทยาลัยฟาฏอนี จัดโครงการสัมนาเรื่อง “วากัฟกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม” ครั้งที่ 1 ในวันอาทิตย์ที่ 21 ส.ค. 59 ณ อาคารเรียนรวมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี โดยมีการเชิญองค์ร่วมกว่า 20 องค์กร จากหลายภาคส่วน เช่น กลุ่มบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาฏอนี , ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฟาฏอนี , สถาบันอัสสลามและศูนย์ประสานงาน , กลุ่มผู้นำศาสนา/นักปกครอง , กลุ่มนักวิชาการ , เครือข่ายสหกรณ์อิสลาม , กลุ่มมุสลิมะห์ , สมาคมจันทร์เสี้ยวฯ การแพทย์และสาธารณสุข , กลุ่มนักธุรกิจ , กลุ่มสื่อสารมวลชนและสารสนเทศ , กลุ่มการศึกษา , กลุ่มเยาวชน และ กลุ่มนักกฎหมาย ประชาสังคม โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมกว่า 700 คน โดยเชิญนักวิชาการจากต่างประเทศ มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การวากัฟ ดังนี้
1.ดร.คอลิฟะห์ อัลคุวารี ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงกิจการอิสลามและศาสนสมบัติ จากประเทศการ์ต้า
2.ดร.ราซีด อะห์หมัด อัล-ทัรยาร กรรมการสภามหาวิทยาลัยฟาฏอนี จากประเทศซาอุดีอาราเบีย
3.ดร. มุตลาค บิน ราชีด อัล-กอราวี อดีตรองปลัดกระทรวงกิจการศาสนา จากประเทศคูเวต และเป็นที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีด้วย
4.คุณโอมัร เคซเมน กรรมการมูลนิธิกีฮาฮา จากประเทศตุรกี
5.ดาโตะยามาล มูฮำหมัดอามีน จากประเทศมาเลเซีย
6.คุณอัยมาน นูร อาซีซ จากประเทศอินโดนีเซีย
ผศ.มัสลัน มะหะมะ ได้กล่าวในรายงานช่วงพิธีเปิดงานสัมนาว่า “การประชุมนานาชาติ วากัฟฟอรั่มครั้งที่ 1 วัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่วากัฟมะดีนะตุสสลามให้ผู้มีจิตอาสาและเครือข่ายจากภูมิภาคต่างๆ ในระดับประเทศและนานาชาติ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องวากัฟ เป็นพลังในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับเครือข่าย ทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาคและนานาชาติ เพื่อให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืน”
ฯพณฯวันมูหะหมัดนอร์ มะทา นายกสภามหาวิทยาลัยฟาฏอนี ประธานในพิธีเปิดงานพร้อมกล่าวโอวาทโดยมีเนื่อหาใจความกล่าวขอบคุณและเป็นเกียรติกับทุกองค์กร ทั้งจากประเทศซาอุดีอาราเบีย , การ์ตา , คูเวต , ตุรกี , มาเลเซีย , อินโดนีเซีย และ ประเทศไทยที่เดินทางมาจากหลายจังหวัด “การจัดงานครั้งนี้เป็นการร่วมมือจาก 3 องค์กรหลักคือ มูลนิธิมะดีนะตุสสลาม , มหาวิทยาลัยฟาฏอนี และ เครือข่ายสหกรณ์อิสลามแห่งประเทศไทย งานครั้งนี้เพื่อหาความรู้ จากประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมสัมนาหลากหลายองค์กรและจากหลายประเทศ การสัมนามีความจำเป็นต้องมี 3 ประการ คือ ประการแรก ความรู้ คนที่ไม่ได้วากัฟเพราะเค้าไม่เคยคิดเรื่องวากัฟมาก่อน ไม่ใช่เค้าไม่อยากทำแต่เพราะเค้าไม่มีความรู้ว่าการวากัฟมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างไร จึงจำเป็นต้องให้ความรู้กันในเรื่องนี้ ทั้งในชุมชน ในมัสยิด และแม้แต่ในคุตบะห์ตามมันยิด ประการที่สอง ใจ ที่ต้องเข้มแข็งและต้องเอาชนะชัยฎอนให้ได้ เพราะชัยฎอนมันจะคอยกระซิบไม่ให้เราบริจาค อัลเลาะฮฺสัญญาว่าการบริจาคแล้วอัลเลาะฮฺจะคืนกลับให้ แต่เราไม่รู้ว่าอัลเลาะฮฺคืนกลับให้แล้ว ประการที่สามคือ ร่างกาย เพราะคนเราต้องมีร่างกายที่แข็งแรงจะได้สามารถทำงานได้เมื่อทำงานได้ก็จะมีรายได้มาวากัฟในที่สุด” ฯพณฯวันมูหะหมัดนอร์ มะทา ยังเน้นย้ำเรื่องการตัดสินใจอย่างเร่งด่วน เพราะการตัดสินใจที่ล่าช้าจะทำให้มูลค่าการลงวากัฟสูงขึ้นทุกๆ ครั้ง ดังนั้นการตัดสินใจทันทีจะทำใช้งบประมาณในมูลค่าที่น้อยกว่า พร้อมกันนี้ท่านยังได้ทำการวากัฟให้กับมะดีนะตุสสลาม 100 ตารางเมตรเป็นมูลค่า 70,000 บาทด้วย
อ่านต่อ วากัฟ : การร่วมมือร่วมใจกับองค์กรเครือข่าย
One thought on “วากัฟ : วากัฟกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม”
Comments are closed.