สภาเครือข่ายฯ ร้องเมียนมาร์เคารพกฎหมายระหว่างประเทศ

สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรมสำนักจุฬาราชมนตรี นำโดยอ.เมธา เมฆารัฐ เดินทางไปยังสถานทูตเมียนมาร์ประจำประเทศไทย ยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาร์แก้ปัญหาในรัฐยะไข่โดยเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ โดยระบุว่าจากกรณีความรุนแรงที่เกิดขึ้นล่าสุดในรัฐยะไข่ ของประเทศเมียนมาร์ นับตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชนตามการเปิดเผยของ ฮิวแมนไรท์วอช ที่อ้างอิงจากภาพถ่ายดาวเทียมพบโครงสร้างมากกว่า 820 จุด ถูกทำลายในหมู่บ้านชาวโรฮิงญา 5 แห่ง ในช่วงระหว่างวันที่ 10 ,17 และ 18 พฤศจิกายน โดยหากนับตั้งแต่เริ่มเหตุการณ์พบว่ามีสิ่งปลูกสร้างถูกทำลายแล้วไม่น้อยกว่า 1,250 จุด

นอกจากนี้ กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และโครงการอาหารโลก (WFP) ซึ่งเป็นองค์กรในสังกัดสหประชาชาติ ยังได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาร์ดำเนินการฟื้นคืนการบริการที่จำเป็นอย่างเต็มรูปแบบ และยกเลิกข้อจำกัดทั้งหมดต่อความเคลื่อนไหวด้านสุขภาพ และความเชี่ยวชาญอื่นๆ อย่างเร่งด่วน เพื่อองค์กรบรรเทาทุกข์สามารถเข้าถึงเด็ก และครอบครัวได้อย่างปลอดภัย โดยจากรายงานของสหประชาชาติพบว่าในเมืองหม่องดอ รัฐยะไข่ มีอัตราการขาดแคลนอาหารในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี สูงถึงร้อยละ 9 สะท้อนถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่เด็กเหล่านี้ต้องได้รับการช่วยเหลือ

ขณะที่องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) เปิดเผยว่าชาวโรฮิงญาหลายร้อยคนได้เดินทางหลบหนีความรุนแรงข้ามพรมแดนเข้ามาในค่ายขององค์กรดังกล่าวที่อยู่ใกล้กับชายแดนเมียนมาร์ โดยมีรายงานว่าชาวโรฮิงญาบางส่วนเหยียบกับระเบิดที่บริเวณพรมแดนจนเสียชีวิต และบาดเจ็บสาหัส ขณะที่ชาวโรฮิงญาบางส่วนเดินทางโดยทางเรือเพื่อข้ามแม่น้ำนาฟ ซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างบังกลาเทศ และเมียนมาร์ และประสบเหตุเรือล่มจนมีผู้เสียชีวิตหลายราย แม้บางส่วนจะหลบขึ้นฝั่งได้สำเร็จ แต่ก็ยังคงถูกทหารชายแดนบังกลาเทศผลัดดันกลับไปยังเมียนมาร์

จากข้อมูลขององค์กรระหว่างประเทศในสังกัดของสหประชาชาติที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ได้ยืนยันว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบรุนแรงต่อพลเรือนในพื้นที่ โดยเฉพาะเด็กที่ย่อมได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 1989 ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่นานาอารยะประเทศต่างให้สัตยาบัน และถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด

ดังนั้นสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมุนษยธรรมสำนักจุฬาราชมนตรี ในฐานะองค์กรด้านมนุษยธรรมในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยองค์กรสมาชิกมากกว่า 20 องค์กรทั่วประเทศ เป็นหนึ่งในองค์กรบรรเทาทุกข์ในอาเซียน และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในสมาชิกประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเมียร์มาร์เปิดทางให้องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ นำความช่วยเหลือเข้าไปยังพื้นที่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบ และเรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมาร์เปิดให้มีการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม และโปร่งใส ต่อข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยมีส่วนร่วมจากนานาชาติ และองค์กรสหประชาชาติ

สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสำนักจุฬาราชมนตรี ร่วมกับพี่น้องของประชาคมอาเซียนทั้งปวง ขอเรียกร้องผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่ใช้ความรุนแรงต่อพลเรือนในครั้งนี้ และขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องชาวเมียนมาร์ที่รักสันติ ให้อดทน อดกลั้น ร่วมฝ่าฝันอุปสรรคต่างๆ เพื่อก้าวข้ามความรุนแรง ความอคติ ความเกลียดชังทางชาติพันธ์ มุ่งสู่สังคมแห่งความสามัคคี สมานฉันท์ บนความหลากหลายของวัฒนธรรม เชื้อชาติ และศาสนา ตามหลักการเอกภาพบนความหลากหลายของประชาคมอาเซียน เพื่อพัฒนาสังคม ประชาชาติ และประชาคมอาเซียนไปพร้อมกันt1919

t1913

t1914

t1915

t1916

t1917

t1918

screenshot_2016-11-25-15-16-39

screenshot_2016-11-25-15-17-04

ความคิดเห็น

comments