ผู้นำรัสเซียและตุรกีกล่าวในวันพุธ (3 พฤษภาคม) ย้ำกับสาธารณะต่อคำสัญญาระหว่างพวกเขาในการร่วมมือกันยุติความขัดแย้งในซีเรีย แม้เหตุก๊าซพิษโจมตีพลเรือนในเมืองแห่งหนึ่งของซีเรีย เป็นบททดสอบความสัมพันธ์ที่เปราะบางระหว่างสองชาติ ขณะเดียวกันประธานาธิบดีทั้งสองยังประกาศทิ้งวิกฤตด้านการทูตระหว่างกันไว้เบื้องหลังและกลับมาคืนดีกันโดยสมบูรณ์
ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินแห่งรัสเซียและประธานาธิบดีรอยับ ตอยยิบ ออโดกัน ของตุรกี ซึ่งต่างถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากเหล่ารัฐบาลตะวันตกต่อประวัติด้านสิทธิมนุษยชน ได้จัดทำข้อตกลงซีเรียร่วมกัน แม้ต่างฝ่ายต่างสนับสนุนคนละฟากฝั่งของคู่ขัดแย้งในสงครามกลางเมือง
ทั้งสองพบปะกันที่เมืองโซชิ ดินแดนตากอากาศริมทะเลดำของรัสเซียในวันพุธ (3) นับเป็นการเจอกันครั้งแรกตั้งแต่เกิดเหตุสารเคมีโจมตีเมืองข่าน ชัยคุนของซีเรีย เมื่อวันที่ 4 เมษายน ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 คน โดยมีเด็กรวมอยู่ด้วยกว่า 30 คน ซึ่งรัสเซียออกมาปกป้องการโจมตีดังกล่าวของซีเรียอย่างเต็มที่ ในขณะที่ตุรกี และนานาชาติชี้ว่าการโจมตีดังกล่าวเสมือนเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
ระหว่างให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวหลังการหารือ ปูตินและออโดกัน บอกว่าพวกเขายังพุ่งเป้าทำงานร่วมกันเพื่อยุติความขัดแย้งในซีเรีย ซึ่งแปรเปลี่ยนประเทศแห่งนี้เป็นสมรภูมิเพาะเชื้อกลุ่มดาอิช “เรายืนหยัดอยู่เคียงข้างสหายรัสเซียของเราในการต่อสู่กับก่อการร้าย” ออโดกันแถลงข่าวในขณะที่ปูติน ยืนอยู่ข้างๆ
ผู้นำทั้งสองบอกว่าพวกยังคงหนุนหลังกระบวนการสันติภาพ ซึ่งมีขึ้นที่กรุงอัสตานา เมืองหลวงของคาซัคสถาน และมีรัสเซีย ตุรกี และอิหร่าน เป็นผู้สนับสนุนร่วม แม้ว่าในการเจรจารอบล่าสุดตัวแทนจากฝ่ายต่อต้านซีเรียระบุว่าพวกเขากำลังตัดสินใจระงับการเข้าร่วมการเจรจาดังกล่าว หลังข้อตกลงที่มีขึ้นก่อนหน้าไม่เคยถูกบังคับใช้เหนือฝ่ายบาชาร์ อัล-อัสซาด
ออโดกันและปูติน ยังส่งเสียงสนับสนุนข้อเสนอที่ได้รับการหนุนหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐฯ ในการกำหนด “เซฟโซน” ในซีเรีย เพื่อปกป้องพลเรือนจากการสู้รบ
ในประเด็นก๊าซพิษ ปูตินและแอร์โดอัน ไม่ได้พาดพิงความเห็นต่างก่อนหน้านี้กรณีที่ฝ่ายใดควรถูกกล่าวโทษ โดยแอร์โดอัน บอกว่าเขาเห็นด้วยกับ ปูติน ว่าใครก็ตามที่อยู่เบื้องหลังต้องโดนลงโทษ
รัสเซียเข้าแทรกแซงทางทหารในซีเรีย เพื่อสนับสนุนให้ ระบอบการปกครอง บาชาร์ อัล-อัสซาด ที่ได้รับการหนุนหลังจากกองกำลังติดอาวุธชีอะห์ที่มีอิหร่านหนุนหลัง ส่วน ตุรกี สนับสนุนกลุ่มฝ่ายต่อต้านซีเรียที่มักถูกโจมตีด้วยอาวุธเคมี
ขณะที่ความขัดแย้งของทั้งสองก่อนหน้านี้ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดทางการค้าบางอย่างถูกบังคับใช้ตามหลังเครื่องบินรัสเซียถูกยิงตก ก่อความระคายเคืองในความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและตุรกีมาตั้งแต่นั้น อย่างไรก็ตามหลังการหารือที่เมืองโซชิในวันพุธ(3) อาร์คาดี ดวอร์โควิช รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย บอกว่าตุรกี ยอมยกเลิกข้อจำกัดห้ามนำเข้าข้าวสาลีของมอสโกภายในไม่กี่วันนี้
ปูติน กล่าวระหว่างแถลงข่าวราวมว่า แม้มีความเคลื่อนไหวดังกล่าว แต่ ณ ปัจจุบันรัสเซียจะยังคงข้อจำกัดบางอย่างต่อตุรกีเอาไว้ตามเดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรการห้ามนำเข้ามะเขือเทศและคำสั่งระงับโครงการยกเว้นวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวตุรกี
ปูตินยังบอกอีกว่ารัสเซียจะกลับมาซื้อมะเขือเทศตุรกีอีก แต่จำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อให้แน่ใจว่าเกษตรกรรัสเซียที่ลงเงินปลูกมะเขือเทศภายในประเทศ จะไม่ลงทุนอย่างสูญเปล่า