ม.นราธิวาสฯจับมือป่าไม้ ดันต้น “ตุงกัดอาลี” เป็นพืชเศรษฐกิจ

คณะเกษตรศาสตร์ ม.นราธิวาสฯ จับมือป่าไม้ เตรียมยกระดับต้น “ตุงกัดอาลี” เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ในพื้นที่ ขยายเพาะต้นกล้า ขายได้ราคาดีเป็นที่ต้องการของตลาด นำไปเป็นยาดูแลสุขภาพและสมรรถภาพทางร่างกายดีเยี่ยม สร้างรายได้ให้ประชาชน หลังราคายางพารา ปาล์ม ราคาดิ่งตกต่ำ

ณ ฟาร์มคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ บ้านโคกเขือ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันสถาปนาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ภายใต้ชื่อ “ปลูกต้นไม้ ปล่อยสัตว์สู่ธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์” ครบรอบ 11 ปี โดยมีกิจกรรมและพิธีทางศาสนาพุทธ และอิสลาม กิจกรรมปลูกต้นไม้ เต่า ปล่อยพันธ์ปลา หอย และแย้ ภายในบริเวณฟาร์มคณะเกษตรศาสตร์ เพื่อเป็นสิริมงคล โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวี บุญภิรมณ์ คณะบดีมหาวิทยาลัยฯ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ แขกผู้มีเกียรติ นักศึกษา และประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม

นับตั้งแต่คณะเกษตรศาสตร์ได้รับการประกาศให้เป็นส่วนราชการตามกฏกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ.2549 คณะเกษตรศาสตร์จึงได้เริ่มรับโอนนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต ซึ่งเข้าเรียนเมื่อปีการศึกษา 2549 จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโยยีนราธิวาส มาปรับเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ต่อมา ในปี 2551 คณะเกษตรศาสตร์ได้รับอนุมัติให้เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาข่าวิชาเกษตรศาสตร์ และจัดการเรียนการสอนหลักสูตรดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน โดยในปีการศึกษา 2550 คณะเกษตรศาสตร์ ได้เปิดรับสมัครนักศึกษา เป็นรุ่นแรก ซึ่งหลังจากเปิดภาคเรียนในเดือนมิถุนายน จึงได้ริเริ่มจัดงานทำบุญคณะ เพื่อเฉลิมฉลองเป็นสิริมงคล เป็นขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรและนักศึกษา ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 นับจากนั้นเป็นต้นมา จึงถือปฏิบัติสืบมาว่า วันสถาปนาคณะเกษตรศาสตร์ คือวันที่ 29 เดือน มิถุนายน ของทุกปี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวว่า คณะเกษตรศาสตร์ มีเป้าหมายให้บัณฑิตทุกสาขามีความรู้ทางวิชาการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ คณะเกษตรศาสตร์จึงจัดตั้งฟาร์มเกษตรขึ้น ซึ่งมีทั้งฟาร์มโคเนื้อ ฟาร์มแพะ – แกะ ฟาร์มสัตว์ปีก ฟาร์มม้า แปลงเพาะชำกล้าไม้ ฟาร์มพืชผัก ฟาร์มเห็ด โรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สวนปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา แปลงนาข้าว ตลอดจนบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อรองรับการฝึกทักษะแก่นักศึกษา และเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป โดยน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน จนปัจจุบัน โดยในปีการศึกษา 2560 คณะเกษตรศาสตร์มีจำนวนนักศึกษา 233 คน อาจารย์ที่ปฏิบัติงาน 20 คน อาจารย์กำลังศึกษาต่อปริญญาเอก 6 คน พนักงานสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานด้านธุรการ 13 คน พนักงานสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานฟาร์ม 14 คน โดยตลอดระยะเวลา 11 ปี ที่ผ่านมา ได้เห็นการพัฒนาของคณะเกษตรศาสตร์มาโดยตลอดและฟาร์มแห่งนี้ได้เริ่มจากพื้นที่พรุที่เป็นป่าเสม็ดเสื่อมโทรม แต่ด้วยการร่วมแรงร่วมใจของบุคลากร จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายมาเป็นสถานที่ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ประโยขน์และเก็บเกี่ยวความรู้ทางวิชาการได้เป็นอย่างดีภายในเวลาไม่ถึง 10 ปี

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวี บุญภิรมณ์ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสฯได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัชราชสุดาสยามบรมราชกุมารีเข้ามาอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยพิจารณาเอาพืชสมุนไพรในบ้านเราที่มีความสำคัญ จึงนำปลาไหลเผือกหรือตุงกัดอาลี ที่มีสับคุณทางยาและไม้พื้นถิ่นบ้านเราเป็นอย่างดี โดยได้ร่วมกับทางกรมป่าไม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ทำการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชปลาไหลเผือกหรือตุงกัดอาลีให้คงอยู่คู่บ้านเรา ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในอนาคต เพื่อนำมาให้นักศึกษาได้เรียนรู้พร้อมกับวิจัยในการที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยขนสูงสุดให้ได้ และในอนาคตทางคณะเกษตรศาสตร์ร่วมกับกรมป่าไม้จะนำพืชชนิดนี้เข้าไปใช้ในการปลูกพืชเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรที่ปลูกพืชร่วมกับพืชชนิดอื่นให้เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งด้วย โดนสามารถเจริญเติบโตในสภาพดินราบทั้งดินพรุ ดินเปรียวและภูเขาสูงได้ดี โดยใช้ระยะเวลาเพียง 2 ปี ก็สามารถเจริญเติบโตและพัฒนาตัวเองได้ดี ถึงระดับที่มีความสูง ประมาณ 180 – 200 ซม.

โดยมีสัพคุณทางร่างกายที่สำคัญ เช่น บำรุงกำลัง การปรับสภาพโฮโมนในร่างกายทั้งเพสชายและเพศหญิง ขยายหลอดเลือดให้ไหลเวียนที่ดี ฟื้นฟูสภาพร่างกายและอวัยวะต่างๆทำงานได้ดี สุขภาพแข็งแรง และยังเป็นพืชเศรษฐกิจได้อย่างแน่นอน และจะทำการเพาะเนื้อเยื่อและส่งกลับไปยังโรงเรียน มัสยิด วัด สถานที่ต่างๆในชุมชนและเกษตรกรต่อไปเพื่อรองรับตลาด AEC ที่สามารถจำหน่ายในราคาสูงได้

ด้านนายบุญเสริม พรมเสนะ ผอ.ส่วนจัดการที่ดินป่าไม้ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 13 สาขานราธิวาส และหัวหน้าโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชตามแนวพระราชดำริป่าฝั่งขวาแม่น้ำสายบุรี กล่าวว่า ปลาไหลเผือกเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในทางการแพทย์แผนไทยและตำหรับยาของชาติที่มีการใช้เป็นอย่างมากในหมอพื้นบ้าน โดยการหามาจากป่า ซึ่งในอนาคตจะมีโอกาสที่จะศูนย์พันธ์ได้ ทางคณะเกษตรศาสตร์ ม.นร ได้ร่วมกับกรมป่าไม้ได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงร่วมกันศึกษาและอนุรักษ์พันธุกรรมเพื่อให้ชาวบ้านหรือหมอพื้นบ้านที่ใช้สูตรยาเหล่านี้จะได้มีใช้ตลอดไป และสัพคุณที่สามารถแก้อักเสพ แก้ไข้ แก้ปวดข้อ บำรุงกำลังและการเสริมสร้างทางเพศ

“พืชปลาไหลเผือกที่ปลูกเองนั้นมันเป็นทรัพย์สิน และไม่ได้เป็นไม้ต้องห้ามสามารถนำมาใช้ประโยขนได้ แต่ถ้าไปเอามาจากในป่าก็จะผิดกฎหมาย โดยในหลายๆประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศมาเลเซีย ได้มีการจดลิขสิทธิ์แล้ว และมีการปลูกกันเป็นจำนวนมากเพื่อนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ทางยาบำรุงร่างกาย แต่ในบ้านเรายังไม่มีใครปลูกเนื่องจากเป็นไม้ที่หายาก และจะส่งเสริมให้ชาวบ้านหรือหมอยาได้มีการร่วมปลูกและอนุรักษ์เพื่อให้มีใช้กันตลอดไปได้”

ภาพ/ข่าว ซาการียา ดอเลาะ​

ความคิดเห็น

comments