ศาลสูงอินเดียรับคำร้องของชาวโรฮิงญา ที่เป็นการท้าทายนโยบายของรัฐบาลที่นำโดยพรรคการเมืองฮินดูหัวรุนแรง ที่ประกาศขับไล่ชาวโรฮิงญาในอินเดียที่มีอยู่ประมาณ 40,000 คนหลังจากที่หนีความรุนแรงจากการประหัตประหารในพม่า ตามการเปิดเผยของทนายความเมื่อวันศุกร์ที่(1 กันยายน)ผ่านมา
สำนักข่าว Al-Arabiya รายงานว่าคำร้องที่ส่งถึงศาลสูงในนามของชายชาวโรฮิงญา 2 คนที่อาศัยอยู่ในกรุงนิวเดลีหลังจากหนีออกจากหมู่บ้านของพวกเขาในรัฐยะไข่ของพม่า ซึ่งปัจจุบันเกิดความรุนแรงระลอกล่าสุดในพื้นที่ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วไม่น้อยกว่า 400 คน และจากผลของการใช้ความรุนแรงของทหารพม่าส่งผลให้ชาวโรฮิงญาประมาณ 40,000 คนต้องหนีเข้าไปบังคลาเทศ
รัฐบาลฮินดูหัวรุนแรงของอินเดียนภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Narendra Modi’s ประกาศนโยบายของรัฐบาลอินเดียเมื่อเดือนที่แล้วว่ากำลังจะขับไล่ชาวโรฮิงยาทั้งหมดออกจากประเทศอินเดีย ไม่ว่าชาวโรฮิงญาเหล่านั้นจะได้ขึ้นทะเบียนผู้ลี้ภัยกับหน่วยงานสหประชาชาติแล้วหรือไม่ก็ตาม ทำให้เกิดกระแสประณามอย่างรุนแรงจากทางด้านสหประชาชาติ และนักการเมืองของอินเดีย
“ศาลฎีกาตระหนักถึงความเร่งด่วนของเรื่องนี้นั่นคือเหตุผลที่พวกเขาตกลงกันว่าจะพิจารณาเรื่องนี้ในวันจันทร์” ทนายความ Prashant Bhushan กล่าวกับรอยเตอร์
“คุณไม่สามารถส่งคนออกไปเผชิญกับความตายในประเทศอื่นซึ่งอาจเป็นการละเมิดสิทธิของมาตรา 21 ของประเทศ”
Bhushan กล่าวว่ามาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญของอินเดียในเรื่องการคุ้มครองชีวิตและเสรีภาพส่วนบุคคลครอบคลุมถึงบุคคลที่ไม่ใช่พลเมืองของอินเดียด้วย
การเนรเทศจะขัดแย้งกับหลักการ non-refoulement หรือการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปยังที่ที่พวกเขาเผชิญกับอันตรายเขากล่าว
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ K.S. Dhatwalia ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นว่ารัฐบาลจะยื่นเรื่องคัดค้านต่อศาลหรือไม่
Mohammad Salimullah ผู้ร้องเรียนที่เดินทางมายังอินเอียในปี 2555 ผ่านทางพรมแดนด้านตะวันออกของรัฐเบงกอลตะวันตกซึ่งอยู่ติดกับบังคลาเทศตามคำร้องที่รอยเตอร์นำเสนอ
ผู้ร้องเรียนรายที่สอง Mohammad Shaqir เข้ามาในอินเดียปี 2554
ทั้งสองกล่าวในข้อร้องเรียนว่าชีวิตของพวกเขาจะตกอยู่ในอันตรายหากพวกเขาถูกส่งกลับไปยังพม่าซึ่งเกิดการปะทะกันล่าสุดที่เริ่มต้นขึ้นในวันศุกร์ที่ผ่านมาหลังจากทางการพม่าอ้างว่ามีผู้ก่อการร้ายชาวโรฮิงญาที่ใช้ไม้, มีด และระเบิดน้ำมัน เป็นอาวุธในการโจมตีด่านตรวจ และค่ายทหารในพื้นที่ยะไข่
ชาวโรฮิงญาถูกปฏิเสธการเป็นพลเมืองในพม่าที่ส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธ และกล่าวหาว่าเป็นผู้อพยพผิดกฎหมาย แม้ชาวโรฮิงญาจะยืนยันว่าพวกบรรพบุรุษของพวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่มาหลายศตวรรษ
บังคลาเทศยังเป็นประเทศที่ติดกับพรมแดนพม่าที่ปัจจุบันมีชาวโรฮิงญามากกว่า 400,000 คนหลบหนี้การปราบปรามของพม่านับตั้งแต่ปี 1990 เข้ามาอยู่ในประเทศ
จากประเทศบังคลาเทศชาวโรฮิงญาจำนวนมากได้ข้ามพรมแดนทางธรรมชาติไปยังอินเดียที่มีรัฐบาลฮินดูหัวรุนแรงเป็นผู้ปกครอง ซึ่งปัจจุบันกำลังตกเป็นเป้าของรัฐบาลฮินดูหัวรุนแรงในการขับไล่ออกจากประเทศ
“เขาไม่ควรมุ่งเป้าเพียงเพราะเราเป็นมุสลิม” Ali Johar ชาวโรฮิงญาผู้ซึ่งเดินทางมายังอินเดียในปี 2555 และอาศัยอยู่กับครอบครัวของเขาในนิคมของกรุงนิวเดลี โดยเขาให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
“เราต้องเผชิญกับการประหัตประหารในพม่าแล้ว อินเดียไม่ควรทำอะไรที่จะแสดงให้เห็นว่าเป็นการแบ่งชนชั้น ”
พม่าปฏิเสธการข่มเหงชาวโรฮิงญา กล่าวว่ากองกำลังความมั่นคงกำลังจัดการกับ “ผู้ก่อการร้าย” ที่ได้เปิดการโจมตีในรัฐยะไข่