เอกอัครราชฑูตซาอุดีอาระเบียประจำตุรกี Waleed Al-Khereiji เปิดเผยว่าราชอาณาจักรอาณาจักรซาอุดิอาระเบียยืนหยัดอยู่เคียงข้างชาวโรฮิงญาตลอด 70 ปี นับแต่เกิดความรุนแรงขึ้นในพื้นที่ ทั้งการให้ความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย และการสนับสนุนด้วยการบริจาค
หนังสือพิมพ์รายวัน Daily Sabah ตุรกีรายงานแถลงการณ์ของเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบีย ระบุว่ารัฐบาลของกษัตริย์ซาลมาน บินอับดุลอาซิสได้ให้ความสำคัญกับการปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ซาอุดิอาระเบียยังได้เป็นแกนนำในการเข้าร่วมองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหลายแห่งและอนุสัญญาต่างๆ ที่เรียกร้องให้ยุติการแบ่งแยกและการกระทำทารุณตั้งแต่ปี 2540
ในเรื่องวิกฤตโรฮิงญาเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่า “ราชอาณาจักรได้ทุ่มเทความพยายามทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือชาวมุสลิมในพม่าในเหตุการณ์โศกนาฏกรรมนี้ ที่ผ่านมาราชอาณาจักรได้ดำเนินการด้วยการกระทำ ไม่ใช่เพียงคำพูด ราชอาณาจักรฯ ได้ดำเนินการในการให้ความช่วเหลือชาวโรฮิงญามากตลอด 70 ปีที่ผ่านมาประวัติศาสตร์เป็นพยานได้ในสิ่งนี้ ราชอาณาจักรฯ เป็นรัฐแรกที่สนับสนุนพวกเขา ทั้งในระดับนานาชาติ และในสภาสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ”
“ราชอาณาจักรฯ ได้ประณามรัฐบาลพม่าในการปฏิเสธการเป็นพลเมืองของชาวโรฮิงญานับตั้งแต่ปี 1982 ที่ทำให้ชาวโรฮิงญากลายสภาพเป็นผู้อพยำผิดกฎหมายในบ้านเกิดตัวเอง ถูกจำกัดจากเสรีภาพ และสิทธิขั้นพื้นฐานอื่นรวมทั้งอาหาร นำ และบริการด้านสุขภาพ นอกจากนี้ราชอาณาจักรฯ ยังได้บริจาคเงินจำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับช่วยเหลือพวกเขาผ่านโปรแกรมการฟื้นฟูสุขภาพ และการศึกษา และได้เริ่มต้นเปิดประเทศรับพวกเขาในฐานะผู้ลี้ภัยตั้งแต่ปี 1948 จนปัจจุบันซาอุดิอาระเบียมีชาวโรฮิงญาที่อยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศสูงถึง 300,000 คน”
“ราชอาณาจักรฯ ได้ออกแถลงการณ์หลายฉบับในเหตุการณ์รุนแรงต่อชาวโรฮิงญาที่รวมถึงการข่มขืน, ฆาตกรรม, การบังคับขับไล่ออกจากบ้านเกิด การประหัตประหาร และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ราชอาณาจักรได้ติดต่อกับเลขาธิการสหประชาชาติ และวิกฤติโรฮิงญาก็กลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศและทำให้พม่ากำลังเผชิญกับการลงโทษระหว่างประเทศเกี่ยวกับวิกฤตการณ์โรฮิงญา ในฐานะผู้นำของโลกอิสลามราชอาณาจักรฯ จะดำเนินการต่อ และพยายามติดต่อประสานงานเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น”
โศกนาฏกรรมในรัฐยะไข่ของพม่าได้ทำชาวโรฮิงญาบางส่วนได้อพยพมายังมหานครมักกะห์
หลายปีมาแล้วชาวชาวโรฮิงญาหนีการประหัตประหารของรัฐบาลพม่า จนต้องอพยพไปยังมักกะห์ โดยใช้เวลาเดินทางประมาณสองปี
สหประชาชาติจัดให้ชาวโรฮิงญาเป็นกลุ่มชนที่ถูกข่มเหงมากที่สุดในโลก
ในบริบทนี้ผู้อำนวยการ Rohingya Media Center เชค Saleh Abdul Shakur กล่าวว่าชาวโรฮิงญาเป็นชนกลุ่มน้อยประมาณ 1 ล้านคนที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกของพม่า พวกเขาถูกทางการพม่ายึดคืนสัญชาติ และถูกกดขี่ข่มเหงมาตลอด 70 ปีที่ผ่านมาด้วยเหตุผลเดียวเท่านั้นคือพวกเขาเป็นชาวมุสลิมโรฮิงญา
Abdul Shakur กล่าวกับ Alarabiya.net ว่าการกดขี่ข่มเหงอย่างต่อเนื่องทำให้ชาวมุสลิมชาวโรฮิงญาบางส่วนหนีไปยังซาอุดิอาระเบีย เมื่อช่วงปลายสมัยการปกครองของกษัตริย์ไฟซอล บิน อับดุลอาซิส ได้มอบสถานะพิเศษให้แก่พวกเขา และนับแต่นั้นเป็นต้นมา “ชุมชนชาวพม่าในราชอาณาจักรได้รับการดูแลอย่างดีอย่างที่พวกเขาไม่เคยได้รับมาในประเทศบ้านเกิด”
Abdul Shakur กล่าวเพิ่มเติมว่าเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา ทางการซาอุดิอาระเบียได้เปิดตัวโครงการพิเศษเพื่อแก้ไขสถานการณ์ของชุมชนมุสลิมพม่า และได้รับใบอนุญาตให้พำนักได้ตามกฎหมายซึ่งทำให้พวกเขาได้รับการศึกษา การดูแลสุขภาพ และการจ้างงาน โครงการนี้ได้ดำเนินการโดยรัฐบาลมักกะห์ ในการดูแลชาวมุสลิมพม่ามากกว่า 250,000 คน ซึ่งสหประชาชาติได้จัดให้โครงการดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ใหญ่ที่สุด
Abdul Shakur ยืนยันว่าราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียเป็นผู้สนับสนุนที่ใหญ่ที่สุดของชาวโรฮิงญาตลอดช่วงที่ผ่านมา