เสื้อมือสองบูมในกาซา หลังพื้นที่ถูกปิดล้อมกว่า 10 ปี

Mohammed Al-Hamaydeh กำลังเลือกเสื้อผ้ามือสองที่กองอยู่เป็นจำนวนมากใน Firas ตลาดสินค้ามือสองในเมืองกาซา

ตลาดเสื้อผ้ามือสองหรือที่เรียกว่า “aswaq al-bala” กำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายในทุกเมืองในฉนวนกาซา ซึ่งส่วนมากเป็นผู้อพยพจากการโจมตีของอิสราเอล แต่สำหรับกาซาซิติ้สิ่งนี้ได้รับความนิยมที่สุด

Al-Hamaydeh เป็นหนึ่งในลูกค้าจำนวนมากที่เข้ามาในตลาด Firas บอกว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่รุนแรง รวมถึงการปิดล้อมอิสราเอลกว่า 12 ปี ทำให้ชาวกาซาต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากองค์กรการกุศลท้องถิ่น หรือองค์กรระหว่างประเทศมากขึ้น

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจได้ส่งผลต่อการยอมรับเสื้อผ้าที่ผ่านการใช้งานแล้วมากขึ้น Hamed Jad ผู้สื่อข่าว Arab News กล่าว

ครอบครัวของ Al-Hamaydeh ที่ประกอบด้วยพ่อของนักศีกษามหาวิทยาลัย 21 ปี และน้องอีก 6 คน พวกเขาได้พบที่พึ่งในตลาด Firas ซึ่งพวกเขาหาเสื้อผ้าที่พวกเขาต้องการได้ที่นี่

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของครอบครัว Al-Hamaydeh แย่ลงในปีที่ผ่านมาเนื่องจากการตัดเงินเดือนของพนักงานปาเลสไตน์ (PA) ในฉนวนกาซา Al-Hamaydeh กล่าวกับ Arab News ว่า “หลังจากที่ PA ตัดการชำระเงินผ่านธนาคารแล้ว ทำให้ไม่มีอะไรเหลือจ่ายสำหรับเงินเดือนของพ่อของเขาที่จะกิน และดื่ม”

หลังจากจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัย Al-Hamaydeh ไปทำงานประจำทุกวันที่โรงงานผลิตอิฐเพื่อหาเงินมาช่วยเหลือค่าใช้จ่ายพื้นฐานในครอบครัว

Mu’taz Sultan หนึ่งในลูกค้าของตลาดเสื้อผ้ามือสองบอกกับ Arab News ว่าก่อนหน้านี้เขารู้สึกอับอายเกี่ยวกับการไปเยือนตลาด Firas โดยจะเลือกเวลาที่มีคนน้อยๆ เพราะกลัวว่าจะได้เห็นคนที่รู้จักที่นั่น แต่วันนี้ความรู้สึกเหล่านั้นน้อยลง หลังจากที่ประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อประชากรส่วนใหญ่ “แม้แต่พ่อค้ายังต้องถูกคุมขัง จากการไม่สามารถชำระหนี้ได้” เขากล่าว

Sultan ผู้ซึ่งได้ทำงานในรัฐบาลภายใต้รัฐบาลฮามาสก่อนหน้านี้ได้รับเงินเดือนเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ มาหลายปีเหมือนๆ กับเพื่อนร่วมงานอีก 30,000 ราย เขาได้พบว่าตลาดมือสองเป็นสถานที่เหมาะสมที่จะซื้อทุกอย่างที่เขาต้องการ และนำให้กับลูกได้ใช้ในโอกาสพิเศษ

ตัวแทนจำหน่ายเสื้อผ้ามือสอง Sameer Al-Asfar กล่าวว่าลูกค้าของเขามาจากภาคสังคมต่างๆ และทุกๆ วัน จะมีผู้ประสบกับปัญหาความยากจน และการว่างงานมากขึ้น

แหล่งที่มาของเสื้อผ้ามือสอง Al-Asfar กล่าวว่า “ส่วนใหญ่มาจากอิสราเอลเนื่องจาก (ชาวยิวจำนวนมาก) เปลี่ยนชุดเก่าของพวกเขาในเทศกาลปัสกา”

Hussein Al-Sindawi ผู้ซึ่งทำงานในอาชีพนี้มานานกว่า 40 ปี หลังจากที่เขาได้รับมรดกทางธุรกิจจากพ่อของเขามีร้านค้าอยู่ในทุกเมืองในฉนวนกาซา เขาอธิบายการค้าของเขาเป็นที่น่าสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีของการล้อม และแตกแยกทางการเมืองระหว่าง ฟัตตะห์ และฮามาส

เขากล่าวว่าเสื้อผ้าที่แพงที่สุดในร้านค้าของเขาราคาไม่เกิน 30 เชเขลของอิสราเอล (ประมาณ 270 บาท)

Al-Sindawi กล่าวว่าเสื้อผ้าถูกส่งผ่านทางจุดผ่านแดน Kerem Shalom บรรจุในลังกระดาษแข็งขนาดใหญ่ แต่ละลังจะมีเสื้อผ้าปะปนกันมาทุกเกรด ราคาต่อตันอยู่ในช่วงตั้งแต่ 3,000 (27,000 บาท) ถึง 6,000 เชเขล(54,000 บาท) จากนั้นผู้ค้าปลีกจำนำไปคัดเลือกเพื่อขายให้กับลูกค้า

ในฉนวนกาซามีร้านค้าไม่กี่แห่งที่จำหนายเสื้อผ้า และรองเท้าใหม่จากแบรนด์ต่างประเทศ และราคาแพงเกินไปสำหรับผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะซื้อได้

Hassan Zughra พร้อมภรรยา และลูก ๆ ของเขาจะไปที่ตลาด al-bala เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาต้องการเสื้อผ้าใหม่ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อนหรือฤดูหนาว “เมื่อผม และลูก 5 คนของผมต้องการเสื้อผ้า และรองเท้า และผมสามารถซื้อทุกอย่างที่ต้องการในราคาที่ต่ำกว่าตลาดเสื้อผ้าแบรนด์ใหม่” เขากล่าว

“ผมกับลูก ๆ ของผมได้ใช้เสื้อผ้าจากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุโรป ซึ่งคุ้มค่าเกินกว่าสินค้าใหม่ ๆ ในท้องตลาด” เขากล่าวเสริม

ในขณะที่ลูกค้าไม่ทราบแหล่งที่มาของเสื้อผ้ามือสองเหล่านี้ แต่แม้จะรู้ก็ไม่กระทบกับความต้องมัน โดย Om Wael Al-Burdini กล่าวว่าเธอไม่เห็นความสำคัญของการรู้แหล่งที่มาของเสื้อผ้าไม่ว่าจะมาจากอิสราเอล หรือยุโรป สิ่งที่สำคัญคือมันอยู่ในสภาพดี และในราคาที่เหมาะสม และเธอต้องระมัดระวังในการล้างให้สะอาดก่อนใช้

Sherif Abu Mohsen เห็นด้วยกับ Al-Burdini โดยระบุว่า “ไม่ว่าเสื้อผ้าจะมาจากไหน เราล้างมันให้ดีก่อนที่เราจะใช้มัน”

ความคิดเห็น

comments