ม.จุฬาฯ-สภาเครือข่ายฯเตรียมจัด “ผ่าวิกฤตปาเลสไตน์ : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต”

ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี และเครือข่ายมหาวิทยาลัย ได้กำหนดจัดโครงการสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง ผ่าวิกฤตปาเลสไตน์ : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต หรือ International Seminar on Palestine: Past, Present and Future ในระหว่างวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2561 ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หากเทียบกับประเด็นความขัดแย้งทั้งหมดในตะวันออกกลาง ปัญหาปาเลสไตน์ถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนและมีความสำคัญต่อความมั่นคงและสันติภาพโลกมากที่สุด เหตุเพราะปัญหานี้ในด้านหนึ่งถูกนำไปเชื่อมโยงกับมิติทางศาสนาของประชากรชาวมุสลิม คริสเตียน และยิว ซึ่งมีจานวนรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ขณะเดียวกันปาเลสไตน์ก็เป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยืดเยื้อยาวนาน ปะทุขึ้นกลายเป็นสงครามหลายระลอก ก่อผลสะท้อนที่กระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของโลกในหลากหลายมิติ ทั้งปัญหามนุษยธรรม ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหาผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่น ปัญหาการแทรกแซงของมหาอำนาจโลก ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาการแบ่งสรรทรัพยากร ฯลฯ เรียกได้ว่าปัญหาปาเลสไตน์ดำรงอยู่ในความสนใจของประชาคมโลกตลอดมา และปัจจุบันยังได้กลายเป็นวาระสำคัญของโลกไปเรียบร้อยแล้ว ขณะเดียวกัน มหาอานาจแทบทุกฝ่ายก็ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องไม่ทางใดก็ทางหนึ่งจนนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศบางส่วนได้สรุปเอาไว้ว่า ปัญหาปาเลสไตน์ถือเป็นประเด็นศูนย์กลางหลักของวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางยุคปัจจุบัน

ยิ่งพิจารณาจากสถานการณ์ของปัญหาปาเลสไตน์ที่พัฒนาขึ้นในระยะหลัง ยิ่งทำให้ประชาคมโลกทั้งหมดห่วงกังวลถึงผลกระทบที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นการที่สหรัฐ ฯ ประกาศรับรองเยรูซาเล็มให้เป็นเมืองหลวงของอิสราเอล การปิดล้อมฉนวนกาซ่ายาวนานกว่า 10 ปี การขยายนิคมชาวยิวในเขตเวสต์แบงก์ออกไปเรื่อย ๆ การล้มครืนลงของกระบวนการสันติภาพตะวันออกกลางที่ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1993 และการเผชิญหน้าอย่างต่อเนื่องระหว่างชาวปาเลสไตน์กับกองทัพอิสราเอลในดินแดนกาซ่า (Gaza) เวสต์แบงก์ (West Bank) และเยรูซาเล็มตะวันออก (East Jerusalem) นับตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน นำไปสู่ความสูญเสียและความรุนแรงที่ขยายตัวตึงเครียดไม่เฉพาะแต่ในดินแดนปาเลสไตน์ภายใต้การยึดครอง (Occupied Palestinian Territories) เท่านั้น แต่สถานการณ์ตึงเครียดยังโยงใยร้อยเกี่ยวกับตัวแสดงต่าง ๆ ทั้งในระดับรัฐและต่ำกว่ารัฐในภูมิภาคตะวันออกกลางและในระดับโลกอีกด้วย

ท่ามกลางความสำคัญของปัญหาปาเลสไตน์และพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงย่างรวดเร็วของปัญหาดังกล่าวที่มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ ้นภายใต้บริบทโลกไร้ พรมแดนที่ปัญหานี้กาลังส่งผลสะเทือนไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดที่เราจะต้องทบทวนและพัฒนาองค์ความรู้ เรื่องวิกฤตปาเลสไตน์อย่างรอบด้าน ทั้งมิติทางประวัติศาสตร์ในอดีตที่เกิดขึ้น และความซับซ้อนของปัญหาที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนวิเคราะห์สถานการณ์ที่อาจพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ทั้งนี้ก็เพื่อการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีความสลับซับซ้อน ด้วยเหตุนี้การจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมทั้งเติมเต็มองค์ความรู้ ในด้านนี้ (ซึ่งยังเป็นองค์ความรู้ที่ยังขาดแคลนมากในสังคมไทย) ในช่วงเวลาที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของปัญหาปาเลสไตน์ในขณะนี้ จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนยิ่งและมีความสำคัญ โดยเฉพาะการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องนี้ของสังคมไทย

การสัมมนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีการประชุมวิชาการ ทบทวนและพัฒนาองค์ความรู้ ในการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและเอเชียด้านประเด็นปัญหาปาเลสไตน์อย่างครอบคลุมรอบด้าน เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และสร้างความร่วมมือในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในกรณีปัญหาปาเลสไตน์ รวมทั้งร่วมวิเคราะห์ภาพฉากสถานการณ์ที่อาจพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต (Scenario) อันจะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับวิกฤติที่มีความสลับซับซ้อน อีกทั้งสร้างความตระหนักรู้และเติมเต็มองค์ความรู้ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาปาเลสไตน์ในสังคมไทย ทั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากนักวิชาการในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยฟาฏอนีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรังสิต รวมถึงองค์กรเครือข่ายภายใต้สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี โดยคาดหวัง 500 คน เข้าร่วมสัมมนา และให้ผู้เข้าร่วมดังกล่าวได้รับองค์ความรู้ ในการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและเอเชีย ด้านประเด็นปัญหาปาเลสไตน์อย่างครอบคลุมรอบด้าน มีความร่วมมือในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ มากขึ้น รวมทั้งสังคมไทยตระหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาปาเลสไตน์ด้วย

ทั้งนี้ผู้สนใจ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ทางเพจ สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ผ่านทางลิงค์ google form หรือติดต่อสอบถามได้ที่ 086-101-0957

https://www.facebook.com/762235603836828/videos/252811205401547/?hc_ref=ARQmjo3pUwzU-lJmDMkrOM2JcWl19_inZSjVD7kuw3C-ggsXk26VR2oLQotc4ImeM60&__xts__%5B0%5D=68.ARA72m4P2gUgOHqBwUR5hIOUsfDym2F1FMfxg4E8ordINYwvMOLQCUr6nFxZLVuDDOEm6ixrzEuYWlfJoQ3gBg0sVSaah_aRhKrnge4ynhlIh0xM-Zr1UKEZCPmmgY2gEBFeuPsU5WfxN70-wSfDWVmcGKuPbIpjdMeEBxFo2nalpGZbNmMcreT_a7s3JmwHCj2NeskfpGs2Q9LhVIKf4h-vz79H_ws-bJukV7M&__tn__=FC-R

ความคิดเห็น

comments