สำนักข่าว ISNA ของอิหร่านรายงานว่ากระทรวงสาธารณสุขของอิหร่านเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ที่(29 ตุลาคม)ผ่านมาว่ามีผู้เสียชีวิต 84 ราย และเกือบ 1,000 คนบาดเจ็บจากการดื่มเหล้าเถื่อนในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา
แม้จะมีการลงโทษที่รุนแรงต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่การต้มเหล้าเถื่อน และจำหน่ายก็ยังคงมีอย่างแพร่หลาย
หลายกรณีของการเป็นพิษรุนแรงจากเหล้าแสงจันทร์ พบครั้งแรกในปลายเดือนกันยายน และได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว
Iraj Harirchi โฆษกกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า 959 คนได้รับการรักษาอาการเป็นพิษนับเป็นจำนวนที่ “ผิดปกติมาก” ตามรายงานของสำนักข่าวกึ่งทางการ ISNA
มีผู้เสียชีวิตแล้ว 84 ราย 305 คนมีอาการไตวาย และ 27 รายต้องสูญเสียดวงตา
Harirchi กล่าวว่าสาเหตุหลักคือการใช้เมทานอลที่เป็นพิษ แทนเอทานอลที่พบในสุรากลั่นที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตอย่างถูกกฎหมายในอิหร่าน
“บางคนถูกจับกุม และประชาชนทั่วไปควรได้รับความรู้ว่าแม้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะบรรจุในบรรจุภัณฑ์จากต่างประเทศก็สามารถปลอมแปลงได้” Harirchi กล่าว
กรณีที่เป็นพิษมากที่สุดได้รับรายงานในจังหวัด Alborz ทางตอนเหนือของกรุงเตหะรานและเมือง Hormozgan ทางตอนใต้ของประเทศ
มีเพียงเฉพาะสมาชิกของชนกลุ่มน้อยทางศาสนาเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตจากภาครัฐให้มีสิทธิ์ที่จะผลิต หรือซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอิหร่าน
ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายแอลกอฮอล์ของอิหร่านอาจต้องระวางโทษปรับ หรือถูกคุมขัง แต่สุราเถื่อนก็ยังคงแพร่กระจายอย่างกว้างขวางผ่านตัวแทนจำหน่ายที่ผิดกฎหมาย