ดาวเทียมแห่งประวัติศาสตร์ดวงแรกที่ออกแบบ และพัฒนาทั้งหมดโดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเป็นผลสำเร็จ จากฐานปล่อยทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันจันทร์ที่(29 ตุลาคม)ผ่านมา
สายตาของโลกกำลังเฝ้ามองขณะที่ KhalifaSat ดาวเทียมที่มีความซับซ้อนที่สุดที่สร้างขึ้นโดย UAE ซึ่งได้รับการทดสอบ และผลิตโดยวิศวกรของ UAE ถูกส่งขึ้นสู่วงโครจรด้วยจรวดของ Mitsubishi Heavy Industries H-2A และเมื่อวันจันทร์ เวลา 8:08 น. ตามเวลา UAE จากฐานปล่อย Tanegashima Space Center ในประเทศญี่ปุ่น การเปิดตัวครั้งนี้ถือเป็นโครงการด้านอวกาศซึ่งดำเนินการโดย UAE และประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอ่าวที่กว้างขึ้นในอีกหลายปีข้างหน้า
ดร.Ahmed Murad คณบดีวิทยาลัย วิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวกับอาหรับนิวส์ว่าการเปิดตัวของ KhalifaSat เป็นขั้นตอนที่ยิ่งใหญ่สำหรับโครงการอวกาศที่เต็มไปด้วยความทะเยอทะยานของโลกอาหรับซึ่งจะเป็นการกระตุ้นความหลากหลายของเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับนวัตกรรม ทั่วภูมิภาค
“การเปิดตัวครั้งนี้เป็นความสำเร็จที่สำคัญมากสำหรับประเทศในฐานะที่เป็นหนึ่งในเสาหลักเชิงยุทธศาสตร์ ของยุทธศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” เขากล่าวว่าหมายถึงเป้าหมายที่จะทำให้ UAE เป็นหนึ่งในประเทศที่มีนวัตกรรมมากที่สุดในโลกภายในปี 2564
“การเปิดตัวครั้งนี้จะทำให้ UAE เป็นศูนย์กลางของวิทยาศาสตร์อวกาศ ประเทศได้บรรลุแผนโดยการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมของวิทยาศาสตร์อวกาศ ซึ่งจะสร้างเศรษฐกิจจากพื้นฐานของความรู้”
“ประเทศกำลังสร้างภูมิภาคนี้ผ่านนโยบาย, การกำกับดูแลทรัพยากรทางการเงิน และการสร้างศักยภาพของชาติ ผมเชื่อมั่น และมั่นใจว่า UAE จะนำเป็นผู้นำภูมิภาคอาหรับในด้านวิทยาศาสตร์อวกาศเนื่องจากความพยายามที่สร้างขึ้นนี้” เขากล่าว
ดาวเทียมที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นในห้องทดลองด้านเทคโนโลยีอวกาศที่ Mohammed Bin Rashid Space Center (MBRSC) ในดูไบ ซึ่ง KhalifaSat เป็นชื่อของประธานาธิบดี UAE ดาวเทียมจะส่งภาพถ่ายคุณภาพสูงของโลก ที่จะช่วยให้กับองค์กรภาครัฐและเอกชนทั่วโลก จากขีดความสามารถในการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม บรรเทาสาธารณภัย และการวางแผนเมือง
การเปิดตัวที่ประสบความสำเร็จได้รับการยกย่องจากบรรดาผู้นำของ UAE โดยมี Sheikh Hamdan bin Mohammed มกุฎราชกุมาร ของดูไบซึ่งเป็นการยกย่องสรรเสริญทีมงาน KhalifaSat ไม่นานหลังจากจรวดถูกส่งขึ้นสู่ท้องฟ้า “ขอแสดงความยินดีกับผู้นำ และประชาชน UAE ในการเปิดตัว KhalifaSat ซึ่งเป็นดาวเทียมที่สร้างขึ้นโดยวิศวกรเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นภาพสะท้อนที่แท้จริงของความปรารถนาของเยาวชน และประเทศของเรา” เขากล่าวเสริมอีกว่า “(ผม) ภูมิใจกับบุคลากรที่มีความสามรถของเอมิเรตส์ ที่ Mohammed Bin Rashid Space Center (MBRSC) พวกเขาเป็นวีรบุรุษที่อยู่เบื้องหลังโครงการสำคัญนี้ซึ่งมีชื่อของประธานาธิบดีของเรา ผู้ก่อตั้งผลักดันเราไปสู่อวกาศเป็นสิ่งที่น่าจดจำสำหรับการเฉลิมฉลองในปีแห่ง Zayed”
นอกจากนี้ Sheikh Hamdan ยังอ้างถึงแผนการที่มีความมุ่งมั่นในอนาคตภายใต้โครงการอวกาศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งรวมถึง Emirates Mars Mission ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมปี 2020 ที่จะเปิดตัวยานอวกาศ “Hope” ของโลกอาหรับแห่งแรกในโลกที่มีเป้าหมายเพื่อลงจอดบนดาวอังคารในปี 2021 ตรงกับวาระครบรอบ 50 ปีของการสถาปนา UAE และโครงการฝึกอบรมนักบินอวกาศแห่งแรกของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งสองนักบินชาวเอมิเรตส์ขึ้นสู่สถานีอวกาศในเดือนเมษายนปี 2019
ด้านองค์การอวกาศแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทวีตว่า “ดาวเทียม #KhalifaSat ของ UAE ประสบความสำเร็จ ดาวเทียมถ่ายภาพขั้นสูงจะเริ่มโคจรรอบโลกจากความสูงที่ระยะ 613 กม. โดยมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย ทั้งระบบควบคุม และกล้องดิจิทัล”
“นี่ไม่ใช่แค่งานด้านเทคนิคที่เรากำลังทำร่วมกับเพื่อนร่วมงานชาวญี่ปุ่นของเรานั่นคือความผูกพันของสองทีม และสองวัฒนธรรมที่ทำงานร่วมกันเพื่อวิสัยทัศน์เดียวกัน” เขากล่าว
ทีมงานวิศวกรของ MBRSC เดินทางไปยัง Tanegashima Space Center เพื่อติดตามการส่ง KhalifaSat ขึ้นสู่วงโครจร ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในโลก”
นับเป็นครั้งล่าสุดในประวัติศาสตร์อันยาวนานด้านดาวเทียมของชาติอาหรับในด้านอวกาศซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อ Arab Satellite ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลกอาหรับเข้าสู่วงโครจรเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1985 ภายใต้ชื่อ Arabsat-1A ถูกส่งโดยจรวด Ariane ของฝรั่งเศสและถูกนำมาใช้ในการให้บริการสื่อสารกับรัฐอาหรับ
Arabsat ก่อตั้งขึ้นในปี 1976 โดยกลุ่มประเทศอาหรับ 21 ประเทศ ด้วยการสนับสนุนจากซาอุดิอาระเบีย และดำเนินงานจากสำนักงานใหญ่ในกรุงริยาด และสถานีควบคุมดาวเทียม 2 แห่งในริยาด และตูนิส การส่งดาวเทียมรุ่นที่ 6 ArabSat-6A ด้วยจรวด Falcon Heavy – มีขึ้นในเดือนมกราคม 2019
เมื่อปีที่แล้วกษัตริย์ ซัลมาน ของซาอุดิอาระเบียได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับประธานาธิบดีวลาดิเมีย ปูตินของรัสเซียซึ่งทำสัญญาทั้งสองประเทศเพื่อความร่วมมือด้านอวกาศในขณะที่ในปี 2560 ซาอุดิอาระเบีย พร้อมกับอีก 5 ประเทศอาหรับ (เลบานอน, จอร์แดน, โมร็อกโก, แอลจีเรีย และบาห์เรน)เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยซูดาน, โอมาน และคูเวต จะเข้าร่วมในโอกาสต่อไป
Space Generation (Kuwait) ตั้งเป้ารวบรวมเยาวชนของคูเวตเพื่อแสดงความคิดเห็น และแนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งโครงการอวกาศในประเทศ ขณะที่ในจอร์แดนจะเปิดศูนย์ภูมิภาควิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการศึกษาอวกาศในกรุงอัมมานเป็น ศูนย์ภูมิภาคสำหรับสำนักงานกิจการอวกาศแห่งสหประชาชาติ (UNOOSA) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศเข้าร่วมในการพัฒนา และเสริมสร้างความรู้ และทักษะของประชาชนในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศและโครงการอวกาศอย่างมีประสิทธิภาพ
ความพยายามดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับ GCC ขณะที่เศรษฐกิจค่อยๆ เปลี่ยนจากการพึ่งพาน้ำมันไปสู่การลงทุนด้านวิทยาศาสตร์อวกาศมากขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีเช่นดาวเทียม และการสำรวจที่เกี่ยวข้องกับภารกิจไปยังดวงจันทร์ และดาวอังคาร
https://www.youtube.com/watch?v=tQbSPmCpK94