สึนามิถล่มอินโดนีเซียแบบไม่ทันตั้งตัวเมื่อคืนวันเสาร์ (22 ธันวาคม) กวาดเวทีวงร็อกชื่อดัง โรงแรมริมทะเล และบ้านเรือนประชาชนอีกจำนวนมาก พังราบทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 222 ราย และอีก 834 คนได้รับบาดเจ็บ สูญหาย 28 ราย
AFP รายงานล่าสุดว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 222 ราย บาดเจ็บ 834 ราย และสูญหายอีก 28 ราย และหน่วยกู้ภัยยังคงค้นหาผู้ประสบภัยต่อไป
ซึ่งก่อนหน้านี้ สุโตโป ปูร์โว นูโกรโฮ (Sutopo Purwo Nugroho) โฆษกสำนักงานภัยพิบัติแห่งชาติอินโดนีเซีย แถลงวันอาทิตย์ (23) ถึง ตัวเลขการเสียชีวิตทางการล่าสุดอยู่ที่ 168 คน บาดเจ็บ 745 คน และสูญหายอีก 30 คน ซึ่งเพิ่มจากตัวเลขเสียชีวิตก่อนหน้าที่ 43 คน และบาดเจ็บ 600 คน เอพีรายงาน
ด้าน ABC News ออสเตรเลีย รายงานโดยอ้างอิงจากเดอะการ์เดียน ของอังกฤษ ว่าสำนักงานกู้ภัยอินโดนีเซียระบุว่ายอดเสียชีวิตเฉพาะในเขตลัมปุง และสุมาตราอยู่ที่ 113 ราย และนักข่าวของ ABC News กล่าวว่า ที่ปันเดอกลัง (Pandeglang) บนเกาะชะวา หน่วยงานท้องถิ่นระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 92 ราย ซึ่งเชื่อว่าตัวเลขสูญเสียจะเพิ่มขึ้น
โฆษกหน่วยงานภัยพิบัติแห่งชาติอินโดนีเซียได้โพสต์ภาพความเสียหายทางอากาศของหาดคาเลียนดา (Kalianda Beach) ที่ลัมปุงใต้ (south Lampung) ซึ่งมาถึงเวลาล่าสุดพบว่าทางเจ้าหน้าที่สามารถดึงร่างผู้เสียชีวิตขึ้นจากน้ำได้แล้ว 35 ศพ และมีรายงานว่ามีคนราว 115 คนได้รับบาดเจ็บ
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า ทางเจ้าหน้าที่อินโดนีเซียได้ออกคำเตือนประชาชนในพื้นที่ว่า ขอให้ประชาชนที่ถูกอพยพออกนอกพื้นที่ช่องแคบซุนดา (Sunda Strait) ให้ยังคงอยู่นอกพื้นที่ต่อไปจนกว่าจะได้รับคำสั่งอนุญาตกลับเข้ามาได้เนื่องจากยังไม่ปลอดภัย
รอห์มัต ตรีโยโน (Rahmat Triyono) ผู้อำนวยการสำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินโดนีเซียแถลงผ่านการรายงานของรอยเตอร์ว่า “ได้โปรดอย่าอยู่บริเวณชายหาดรอบช่องแคบซุนดา และกลุ่มคนที่ถูกสั่งอพยพออกนอกพื้นที่ ขอความกรุณาอย่าเพิ่งกลับเข้ามา”
ล่าสุด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย โจโค วิโดโด ได้ออกมาแสดงความไว้อาลัยต่อการสูญเสียพร้อมประกาศว่า ได้ออกคำสั่งให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องรับมือออกมาตรการฉุกเฉินต่อวิกฤตคลื่นยักษ์สึนามิ รวมไปถึงให้ติดตามค้นหาผู้ได้รับผลกระทบ ดูแลผู้บาดเจ็บ
ด้าน สุโตโป ปูร์โว นูโกรโฮ (Sutopo Purwo Nugroho) โฆษกสำนักงานบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติอินโดนีเซีย (BNPB) ระบุก่อนหน้านี้ว่ากล่าวว่า ชายหาด Pandeglang ใน Banten เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดโดยมีผู้เสียชีวิต 33 คน และบาดเจ็บ 491 คน บ้าน 430 แห่งโรงแรม 9 แห่งและเรืออีก 10 ลำในบริเวณนั้นก็ได้รับความเสียหาย
“ เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาเที่ยวที่ชายหาด Pandeglang” Sutopo กล่าวในแถลงการณ์
เขาเสริมว่า 7 คนเสียชีวิตในชายหาดทางตอนใต้ของ Lampung ในขณะที่ 3 คนเสียชีวิตที่ชายหาด Serang ใน Banten
“ เครื่องจักรกลหนักถูกส่งเข้าไปในพื้นที่เพื่อช่วยในการอพยพและการซ่อมแซมฉุกเฉิน” เขากล่าว
ศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติอินโดนีเซียกล่าวว่าเหตุเกิดในช่วงกลางดึกของคืนวันเสาร์ (22) ที่ผ่านมา ขณะที่แถลงการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาของอินโดนีเซียให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สึนามิครั้งนี้เกิดจากการเลื่อนของเปลือกโลกจากเกาะอานัก กรากาตัว (Anak Krakatau) ที่แปลว่าบุตรแห่งกรากาตัว โดยเกาะภูเขาไฟแห่งนี้เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เองจากการระเบิดของภูเขาไฟกรากาตัว
“ผมต้องวิ่งหนี เมื่อคลื่นพัดถล่มเข้าสู่ชายหาด และกินพื้นที่ลึกเข้ามาบนแผ่นดินราว 15-20 เมตร” ออยสไตน์ ลุนด์ แอนเดอร์สัน นักการทูตชาวนอร์เวย์ซึ่งอยู่ระหว่างการพักผ่อนกับครอบครัวเปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก พร้อมระบุว่าเขากำลังถ่ายภาพภูเขาไฟระเบิดระหว่างที่เกิดเหตุ
“คลื่นลูกต่อมาเข้ามาถึงบริเวณโรงแรมที่พัก และไหลเข้าท่วมรถยนต์และถนนหลังโรงแรม ทำให้ผมและครอบครัวต้องหนีขึ้นที่สูง โดยความช่วยเหลือของชาวบ้าน ผ่านทางในป่าและหมู่บ้าน พวกเราปลอดภัยดี”
ด้าน ผู้ใช้ทวิตเตอร์ในชื่อ Sotiri Dimpinoudis (@sotiridi) ได้โพสต์วิดีโอคลิปเหตุการณ์ขณะที่วงดนตรีในเต็นท์ริมชายหาดของอินโดนีเซียกำลังบรรเลงเพลงกันอย่างสนุกสนาน แล้วจู่ๆ ก็ถูกคลื่นสึนามิซัดถล่มหายไปทั้งเวทีและนักดนตรีท่ามกลางเสียงกรีดร้องตกใจของผู้ชมที่วิ่งหนีตายกันอลหม่าน โดยเบื้องต้นพบมือเบส-ผู้จัดการวง เสียชีวิต นักแสดงสาว ซึ่งเป็นภรรยาของนักร้องนำวงที่กำลังจัดการแสดงก่อนถูกสึนามิถล่ม
ขณะที่นักวิชาการไทย Thon Thamrongnawasawat กล่าวถึงเหตุสึนามิที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซียล่าสุดระบุว่า ตอนหนึ่งว่าไม่ใช่เพราะระบบแจ้งเตือนมีปัญหา แต่มันมีหลายสาเหตุ
1. สึนามิทั้ง 2 ครั้ง ไม่ได้ส่งผลรุนแรงเป็นวงกว้าง แต่เกิดขึ้นในพื้นที่ใกล้กับจุดเกิดแผ่นดินไหว/ภูเขาไฟระเบิด คลื่นสึนามิเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง (800 กม./ชม.) ทำให้เข้าฝั่งก่อนแจ้งเตือนทัน เช่น ในกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้น จากภูเขาไฟอานัคการากาตัวไปถึงชายฝั่งรอบช่องแคบซุนดา ระยะทางเพียงไม่กี่สิบกิโลเมตร
2. สภาพภูมิประเทศที่ซับซ้อน อาจทำให้เกิดสึนามิโดยที่ระบบแจ้งเตือนไม่สามารถวิเคราะห์ได้ เช่น ครั้งที่เกิดช่วงเดือนตุลาคม หนนี้ก็เช่นกัน หากดูแผนที่ เพื่อนธรณ์จะเห็นว่าซับซ้อนมาก ทั้งแหลม ทั้งเกาะ ทั้งช่องแคบ มีอยู่เต็มไปหมด เป็นพื้นที่แห่งเดียวกับที่เคยเกิดมหาภัยพิบัติ 1883 ครั้งที่การากาตัวระเบิด ภูมิประเทศแบบนี้ ทำให้เกิดแรงบีบอัดน้ำบางจุด แต่บางจุดก็อาจไม่โดนหรือโดนน้อย ยากที่จะเจาะจงลงรายละเอียดได้
3. ปัจจุบัน ชายหาดส่วนใหญ่เริ่มกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวและมีผู้คนอาศัย ผิดไปจากสมัยก่อน แม้แต่พื้นที่เคยโดนสึนามิ ก็ยังมีคนอาศัยเพิ่มมากขึ้น มีโรงแรมสำหรับผู้อยากไปเที่ยวดูภูเขาไฟการากาตัว อันเป็นตำนาน ยิ่งมีการปะทุเป็นระยะ ก็ยิ่งมีคนอยากดู (ผมก็อยากครับ) เมื่อเกิดสึนามิ แม้จะเป็นขนาดเล็ก แต่ก็สร้างผลกระทบต่อประชาชนรุนแรงมากขึ้น