ประธานาธิบดีจีน Xi Jinping พบหารือกับพล.อ.อาวุโส Min Aung Hlaing ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่าที่หอประชุมใหญ่ของประชาชนในกรุงปักกิ่งเมื่อวันพุธ(10 เมษายน) โดยในการหารือไม่มีการกล่าวถึงประเด็นความรุนแรงต่อชาวโรฮิงญาแต่อย่างใด
สำนักข่าว Xinhua ของทางการจีนรายจากถึงมิตรภาพอันยาวนานที่เป็นภราดรภาพ ระหว่างจีนและพม่า โดยผู้นำจีนกล่าวถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีที่มั่นคงระหว่างทั้งสองในปัจจุบันโดยการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในด้านต่าง ๆ และในระดับต่าง ๆ และความก้าวหน้าใหม่ในความร่วมมือโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน
จีนให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสัมพันธ์จีน – พม่า ผู้นำจีนย้ำว่าไม่ว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรจีนก็ยังคงเต็มใจที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์กับพม่า เพิ่มความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และเสริมสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างจีนกับพม่า การเป็นหุ้นส่วนเพื่อนำประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมมาสู่ประชาชนทั้งสอง และมีส่วนร่วมในความพยายามร่วมกันเพื่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค
ประธานาธิบดีจีนยังกล่าวอีกว่าความร่วมมือทางทหารระหว่างจีนกับพม่าเป็นส่วนสำคัญของความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมระหว่างสองประเทศ
กองกำลังติดอาวุธของทั้งสองประเทศควรกระชับการแลกเปลี่ยน และความร่วมมือในเชิงปฏิบัติ และร่วมมือกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับกองทัพโดยอาศัยความเชื่อมั่นและผลประโยชน์ร่วมกัน และอุทิศตนเพื่อปกป้องผลประโยชน์ด้านความมั่นคง และการพัฒนาร่วมกันของทั้งสองประเทศ
เขากล่าวอีกว่าจีนสนับสนุนกระบวนการสันติภาพของพม่า และให้ความสนใจกับการพัฒนาสถานการณ์ในตอนเหนือของพม่า เขาแสดงความหวังว่าพม่าจะร่วมมือกับจีนในการเสริมสร้างการจัดการชายแดน และรักษาความมั่นคงชายแดนร่วมกัน
พล.อ.อาวุโส Min Aung Hlaing กล่าวว่ามิตรภาพระหว่างพม่ากับจีนและการพัฒนาความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีและการทหารระหว่างกองทัพกับกองทัพอย่างแน่นหนา พร้อมกล่าวว่าพม่าชื่นชมความช่วยเหลือระยะยาวและมีคุณค่าของจีนต่อการพัฒนาประเทศและการทหารของพม่า กระบวนการสันติภาพ
เขากล่าวว่าพม่ายินดีให้การสนับสนุนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในความร่วมมือในโครงการ Belt and Road เสริมสร้างความร่วมมือในทางปฏิบัติกับจีนในด้านต่าง ๆ และใช้มาตรการเชิงปฏิบัติเพื่อปกป้องความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนพม่า – จีน
ทั้งนี้ในการหารือของ 2 ผู้นำ ไม่ได้มีการกล่าวถึงปฎิบัติการทางทหารของพม่าในรัฐยะไข่ ที่ส่งผลให้ชาวโรฮิงญาเกือบล้านคนหนีตายไปยังบังกลาเทศ ขณะที่ทีมสอบสวนสหประชาชาติชี้ว่าปฎิบัติการของทหารพม่าเป็นการกวาดล้างทางชาติพันธ์ ขณะที่จีนยังเป็นผู้สนับสนุนพม่าในเวทีสหประชาชาติในการขัดขวางทุกมติที่จะมีผลต่อการตรวจสอบปฎิบัติการของทหารพม่าต่อชาวโรฮิงญาด้วย