ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสฑูตมูฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) Shukur2003@yahoo.co.uk รายงานโดยระบุว่าไม่วันที่ 4 หรือ 5 มิถุนายน ศกนี้ จะเป็นวันอีดิลฟิฏรฺ(ฉลองหลังถือศีลอด) ของชาวมุสลิม
วันอีดเป็นวันสำคัญของประชาชาติมุสลิมทั่วโลกซึ่งมีขึ้นเมื่อ 1400 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งจะมีด้วยกัน 2 วัน คือวันอีดิ้ลฟิฏรฺ และวันอีดิ้ลอัฎฮา
รายงานนี้ขอสัมภาษณ์ อุสตาซบูดีมาน แยนา คอเต็บมัสยิมัจมูอิตตอลิบีน บ้านโคกยาง ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาพร้อมยังเป็นนักธุรกิจมุสลิมร้อยล้านเจ้าของบริษัทเนาตีย์ อีกตำแหน่งเกี่ยวกับวันอีดิลฟิฏรฺ
วันอีดิลฟิฏรฺ คืออะไร
วันอีดิลฟิฏรฺ ท่านศาสนฑูตมูฮัมมัด ได้กล่าวไว้
ความว่า “อัลลอฮฺทรงเปลี่ยนสองวันนี้ (ที่พวกท่านกำลังฉลองอยู่ตามประเพณีอาหรับโบราณ) ด้วยสองวันอันประเสริฐยิ่งกว่า คือ วันอีดิ้ลฟิฏรฺ และวันอีดิ้ลอัฎฮา”
โดยที่ วันอีดิ้ลฟิฏรฺ นั้นจะมีขึ้นหลังจากถือศีลอด ในขณะวันอีดิ้ลอัฎฮาจะเป็นช่วงที่มุสลิมไปทำฮัจญ์ซึ่งจะห่างจากวันอี ดิ้ลฟิฏรฺ สองเดือนสิบวัน
วันอีดิลฟิฏรฺเขาทำอะไร
สิ่งที่เราเห็นและทราบเป็นประจำก็คือการปฏิบัติศาสนกิจที่มัสยิดด้วยการ ละหมาด เพื่อขอบคุณพระเจ้าที่สามารถผ่านบดทดสอบได้ตลอดหนึ่งเดือน เป็นการเสริมจิตวิญญาณให้แข็งแกร่งเพิ่มขึ้น
การละหมาดวันนี้เขาทำอย่างไร?
วิธีการละหมาดอีดิลฟิฏริหรืออีดิลอัฎฮานั้นเหมือนกัน มีสองรอกอะฮ์โดยไม่ต้องมีการอะซานและการอิกอมะฮ์
จะเริ่มทำการละหมาดโดยกล่าวตักบีรหกครั้งก่อน ทำการอ่านไม่รวมการตักบีร่อตุลอิฮ์รอม และกล่าวตักบีรในรอกอะฮ์ที่สอง ห้าครั้งก่อนทำการอ่าน ไม่รวมการตักบีรกิยาม
ไม่ต้องเว้นระยะในระหว่างตักบีรและไม่ต้องยกมือทั้งสองข้าง นอกจากในการตักบีร่อตุลอิฮ์รอมเท่านั้น
และในทัศนะของชาฟีอีย์กับอะฮ์มัด ให้ตักบีรในร็อกอะฮ์แรก เจ็ดครั้ง ในร็อกอะฮ์ที่สอง ห้าครั้ง พร้อมเว้นช่วงระหว่างการตักบีรด้วยการกล่าวซิกรุลลอฮว่า : –
سبحان الله ، والحمد لله ، ولا إله إلا الله ، والله أكبر
“ซุบฮานัลลอฮฺ , วัลฮัมดุลิลลาฮฺ , ว่าลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ , วัลลอฮุอักบัร”
พร้อมทั้งยกมือทั้งสองในทุกๆตักบีรด้วยเสียงดัง แล้วหลังจากการทำละหมาดเสร็จแล้ว ให้กล่าวสองคุฏบะฮ์
ในขณะที่เวลาของการละหมาดอีด
เวลาการทำละหมาดอีดนั้น เป็นเวลาเดียวกันกับเวลาที่อนุญาตให้ทำการละหมาดซุนนะฮ์ได้ คือเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นสูงประมานเท่าด้ามหอก (สิบสองคืบ) หรือประมาณ ยี่สิบนาทีตามดาราศาสตร์ หลังจากดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว เรื่อยไปจนถึงดวงอาทิตย์คล้อย จึงหมดเวลา
มีอะไรบ้างสิ่งที่ควรปฏิบัติในวันอีด?
1- การรับประทานอาหารก่อนออกไปละหมาด อีดิลฟิฏริ ส่วนอีดิลอัฏฮานั้น ไม่ต้องรับประทาน เนื่องจากมีการรายงานของอนัสกล่าวว่า : –
كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لاَ يَغْدُو يَوْمَ الْفِطْرِ حَتَّى يَأْكُلَ تَمَرَاتٍ
“ท่านนะบี นั้น จะยังมิได้ออกไปในตอนเช้า วันอีดิลฟิฏริ จนกว่าว่าท่านจะรับประทานผลอินทผลัมหลายผล”
และอัลบุคอรีย์ รายงานต่อไปอีกเป็นการเสริมว่า :
’’ وَيَأْكُلُهُنَّ وِتْرًا ‘‘ “และท่านจะรับประทานผลอินทผลัมเหล่านั้นเป็นจำนวนคี่”
อิบนุ คุชัยมะฮ์ บอกว่า ฮะดีษนี้ต่อกัน
และในวันอีดิลอัฏฮาท่านจะไม่รับประทานก่อนทำการละหมาดอีด เพื่อที่ท่านจะได้รับประทานเนื้ออุฏฮียะฮ์ของท่าน หากท่านมีอุฏฮียะฮ์
2- การอาบน้ำล้างชำระร่างกายสำหรับวันอีดทั้งสอง พร้อมใส่เครื่องหอมและการแต่งตัวให้สวยงาม
3- ออกไปละหมาดอีดทางหนึ่งและย้อนกลับอีกทางหนึ่ง ดังที่มีรายงานของอบี ฮุรอยเราะฮ์ กล่าวว่า :
كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا خَرَجَ إِلَى الْعيد ر َجَعَ فِي غَيْرِ الطَّرِيقِ الَّذِي خَرَجَ فِيهِ
“ปรากฏว่าเมื่อท่านนะบี ออกไปละหมาดอีดนั้น ท่านจะกลับทางอื่นที่มิใช่เส้นทางตอนขาออก”
4- มีอยู่หลายรายงานระบุว่า บรรดาศ่อฮาบะฮฺ นั้น ได้กล่าวให้การอวยพรต่อกันในวันอีดว่า :
’’تقبل الله منا و منكم‘‘
“ขออัลลอฮทรงรับจากพวกเราและพวกท่าน”
หมายเหตุเนื้อหานี้ผมเอาจากโดย อ.มุฮัมมัด อาลี โต๊ะลงhttp://www.islammore.com/view/1768
เห็นว่านอกจากนี้มันเปรียบเสมือนวันสังคมสงเคราะห์
?
แต่มีผู้คนน้อยมากที่ทราบว่าในวันดังกล่าวยังเป็นวันสังคมสงเคราะห์ของชาว มุสลิมทั่วโลก ซึ่งคนยากคนจนตั้งตารอคอยนับปี ในขณะที่ปีนี้จังหวัดชายแดนภาคใต้ช่วงท้ายเดือนรอมฎอนสื่อนำเสนอแต่ระเบิด ความรุนแรงแม้แต่ช่วงวันอีดหน่วยข่าวกรองก็ออกมาเตือนให้ระวังเหตุร้าย ทำให้สิ่งดีๆตลอดทั้งเดือนจึงไม่ค่อยถูกเสนอ สำหรับเรื่องดีๆอีกเรื่องที่ควรถูกตีแผ่คือการสังคมสงเคราะห์ของชาว มุสลิมต่อคนยากจน กล่าวคือ ในคืนสุดท้ายหรือช่วงเช้าของวันอีด(ฮารีรายอ) จะเห็นชาวบ้านจำนวนมากจะออกจากบ้านไปหาคนยากจนหรือเจ้าหน้าที่มัสยิดเพื่อ จ่ายซะกาตฟิฏเราะห์
คำว่า ซะกาตฟิฏเราะฮฺ (ทานบังคับ) คือ ซะกาตที่จำเป็นจะต้องจ่ายอันเนื่องจากหมดภาระถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งจำเป็นแก่มุสลิมทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ชายหรือหญิง เพียงแต่ผู้ที่จะเป็นผู้จ่ายนั้นจะต้องเป็นหัวหน้าครอบครัว และผู้อุปการะผู้อื่นโดยจ่ายเพื่อตัวเขา และเพื่อคนที่อยู่ในครอบครัวทุกคน และคนที่ต้องรับผิดชอบด้วย
สำหรับปริมาณที่ต้องจ่าย คนละ 1 ศออฺ (ในภาษาอาหรับ) หรือประมาณเกือบ 4 ลิตร ของอาหารหลักในท้องถิ่นนั้น ๆ หรือคิดเป็นเงินประมาณ 80 บาท เช่น ในประเทศไทยคือ ข้าวสาร เป็นต้น โดยจะจ่ายให้แก่บุคคลคนยากจน
นอกจากซะกาตฟิฏเราะฮฺแล้วยังมีซะกาตทรัพย์สิน ที่พ่อค้า นักธุรกิจนิยมจ่าย 2.5 เปอร์เซ็นต์ จากทรัพย์สินในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน ไม่นับรวมบริจาคทานอื่นๆที่ให้กับเด็กๆ สตรีหม้าย เด็กกำพร้าและบุคคลทั่วไป
ในฐานะที่เรียนศาสนาเป็นนักธุรกิจด้วยปีนี้ได้ส่งแบบฟอร์มให้หน่วยงานต่างๆส่งรายชื่อผู้มีสิทธิ์รับซะกาตให้เราพิจารณาแล้วมอบซะกาตก่อนอีดแล้วนับร้อยคนซึ่งปีหน้าอาจจะปรับรูปแบบปรับปรุงให้ดีขึ้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า วันอีด จะเป็นวันสังคมสงเคราะห์ให้กับสังคมซึ่งถือเป็นการแบ่งเบาภาระรัฐได้อย่างมาก อันเนื่องมาจากซะกาตจะทำหน้าที่อุดช่องว่างระหว่างรายได้ในสังคมให้แคบลงใน ที่สุด
กลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำสามารถตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของตนโดยผ่านการ จัดสรรรายได้ ซึ่งซะกาตทำให้เกิดการหลีกเลี่ยงการสะสมทรัพย์สิน ทรัพย์สินจะหมุนเวียน ไม่สะสมในมือของคนไม่กี่คน แต่ต้องกระจายออกไปเพื่อทุกฝ่ายที่มีความจำเป็นในทรัพย์สินนั้นได้มีโอกาส สัมผัสถึงความสุขร่วมกัน
ในขณะเดียวกันผู้รับซะกาต จะทำให้เขามีกำลังซื้อที่มากขึ้น โดยสิ่งนี้ในแง่เศรษกิจแล้ว จะเป็นอุปสงค์ต่อสินค้าในตลาดที่จะเพิ่มขึ้น อุปสงค์ส่วนเกินจะเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ตลอดจนเปิดโอกาสให้การว่าจ้างทำงานมากขึ้น อุปสงค์ต่อแรงงานก็จะเพิ่มขึ้น มาตรฐานการครองชีพในระยะยาวก็จะดีขึ้น
ส่วนผลที่มีต่อผู้จ่ายซะกาต เป็นในแง่ของประโยชน์ในรูปของรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มผลผลิตและรายได้ของรัฐ ด้วยเหตุดังกล่าว จำนวนซะกาตของผู้จ่ายซะกาตก็จะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน สำหรับผลที่มีต่อรัฐ คือ การได้รับผลประโยชน์ที่สูงกว่า กล่าวคือ ส่งผลให้ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนแคบลงทำให้ลดปัญหาสังคมที่จะตามมา
หวัง ว่าศาสนธรรมและสันติธรรมไม่ใช่เป็นเพียงเป้าหมายเท่านั้น แต่เป็นวิถีทางที่สำคัญในการอยู่ร่วมอย่างสันติ และขอดุอาอ์(พร)จากอัลลอฮซุบฮานะฮุ วะ ตะอาลาโปรดทรงรวมพลังของพวกเราให้อยู่บนทางนำ และรวมหัวใจของพวกเราอยู่บนความรักฉันท์พี่น้อง รวมทั้งขอให้ความมุ่งมั่นของพวกเราอยู่บนการงานที่ดี
ขอให้พระองค์ทรงทำให้วันนี้ของพวกเราดีกว่าเมื่อวาน ให้พรุ่งนี้ของพวกเราดีกว่าวันนี้ แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงได้ยินและทรงอยู่ใกล้ และนำความสงบสุขสู่จังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้งประเทศชาติทั้งมวลด้วยเทอญ สุขสวัสดี…วันตรุษอีดิ้ลฟิฏรฺ ฮิจเราะห์ศักราชที่ 1440 อามีน