เจ้าหน้าที่ในเมืองหลวงของจีนได้สั่งให้ร้านอาหารฮาลาลและแผงขายอาหารฮาลาล ลบข้อความภาษาอาหรับ และสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามออกจากร้าน นับเป็นสัญญาณของความพยายามของทางการจีนในควบคุมประชากรมุสลิมในระดับชาติ

พนักงานที่ร้านอาหาร และร้านค้า 11 แห่งในกรุงปักกิ่งที่ขายผลิตภัณฑ์ฮาลาล และผู้สื่อข่าวรอยเตอร์เพิ่งเข้าเยี่ยมชมเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ได้บอกให้พวกเขาลบภาพที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามเช่นจันทร์เสี้ยว และคำว่า “ฮาลาล”

เจ้าหน้าที่ของรัฐจากสำนักงานต่าง ๆ บอกผู้จัดการร้านก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่งในกรุงปักกิ่งเพื่อลบคำว่า “ฮาลาล” ในภาษาอาหรับบนป้ายร้านค้าของเขา แล้วยืนดูให้ผู้จัดการร้านทำตามคำสั่งในทันที

“พวกเขาบอกว่านี่เป็นวัฒนธรรมต่างประเทศ และคุณควรใช้วัฒนธรรมจีนมากกว่า” ผู้จัดการคนดังกล่าวซึ่งในทำนองเดียวกันกับเจ้าของร้านอาหาร และพนักงานทุกคนที่เปิดเผยกับรอยเตอร์โดยปฏิเสธที่จะให้ชื่อเขาเนื่องจากหวั่นเกรงด้านความปลอดภัย

การรณรงค์ต่อต้านข้อความภาษาอารบิก และภาพจำของอิสลามถือเป็นขั้นตอนใหม่ของการขับเคลื่อนที่ได้รับแรงผลักดันมาตั้งแต่ปี 2559 โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่าศาสนาอิสลามในจีนจะเป็นไปโดยสอดคล้องกับวัฒนธรรมแบบที่จีนต้องการ

การรณรงค์ครั้งนี้ได้รวมการกำจัดโดมแบบตะวันออกกลางในมัสยิดหลายแห่งทั่วประเทศและให้สร้างเป็นเจดีย์แบบจีนขึ้นแทนที่

จีนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมุสลิม 20 ล้านคนได้รับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนาอย่างเป็นทางการ แต่รัฐบาลได้รณรงค์ไม่ได้ทำตามคำรับรองดังกล่าวโดยพยายามควบคุมให้การปฎิบัติทางศาสนาต้องสอดคล้องกับอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

มันไม่ใช่แค่มุสลิมที่ถูกทางการจีนแทรกแซงทางศาสนา

ทางการจีนยังได้ปิดโบสถ์คริสต์ที่ดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาตหลายแห่ง และยังได้ตัดขาดโบสถ์บางแห่งที่รัฐบาลถือว่าผิดกฎหมาย

แต่ชาวมุสลิมถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษตั้งแต่การจราจลในปี 2552 ระหว่างชาวอุยกูร์และชาวจีนฮั่นในเขตตะวันตกของซินเจียงซึ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อยชาวอุยกูร์

นักวิเคราะห์ระบุว่าพรรคคอมมิวนิสต์เป็นกังวลว่าอิทธิพลจากต่างประเทศสามารถทำให้เขาควบคุมกลุ่มผู้นับถือศาสนาได้ยากขึ้น

“ภาษาอาหรับถูกมองว่าเป็นภาษาต่างประเทศและความรู้เรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐ” Darren Byler นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันผู้ศึกษาเรื่องซินเจียงกล่าว

“จะเห็นได้ว่าเป็นรูปแบบการเชื่อมต่อกับต่างประเทศในสายตาของเจ้าหน้าที่รัฐ, พวกเขาต้องการให้ศาสนาอิสลามในจีนต้องดำเนินการผ่านภาษาจีน” เขากล่าว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Kelly Hammond แห่งมหาวิทยาลัยอาร์คันซอซึ่งศึกษาชนกลุ่มน้อยฮุ่ยในประเทศจีนกล่าวว่ามาตรการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ “การผลักดันเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่”

ปักกิ่งเป็นที่ตั้งของร้านอาหารมุสลิมอย่างน้อย 1,000 ร้านค้า และยังมีร้านอาหารฮาลาลแผ่กระจายไปทั่วตามเมืองประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับในละแวกใกล้เคียงอื่น

ไม่ชัดเจนว่าร้านอาหารทุกแห่งในปักกิ่งถูกสั่งให้ปกปิดอักษรอาหรับ และสัญลักษณ์อิสลามหรือไม่ แต่หนึ่งในผู้จัดการร้านอาหารยังคงการแสดงภาษาอาหรับกล่าวว่าเขายังไม่ถูกสั่งให้ลบออกในตอนนี้

ร้านค้าขนาดใหญ่หลายแห่งตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า ทางการท้องถิ่นให้ใช้ภาษีจีนแทนคำว่าฮาลาลในภาษาอาหรับ ในขณะที่ร้านเล็กๆ หลายร้านถูกสั่งให้ปิดทับข้อความภาษาอาหรับ หรือสัญลักษณ์ของอิสลามด้วยสติกเกอร์ หรือเทป

คณะกรรมการเชื้อชาติและศาสนาของทางการปักกิ่งปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น โดยบอกเพียงว่าคำสั่งที่เกี่ยวกับร้านอาหารฮาลาลเป็นคำสั่งของรัฐบาลกลาง

ในขณะที่เจ้าของร้านส่วนใหญ่สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่าพวกเขาไม่ต้องการเปลี่ยนตามคำสั่งของทางการ เพราะมันสร้างความสับสนกับลูกค้า และพนักงานในร้านขายเนื้อฮาลาลที่ถูกระบุว่าจีนพยายาม “ลบ” วัฒนธรรมของชาวมุสลิม

“พวกเขามักจะพูดคุยเกี่ยวกับความสามัคคีของชาติ พวกเขามักจะพูดคุยเกี่ยวกับประเทศจีน นี่คือความสามัคคีของชาติอย่างนั้นหรือ?”

ความคิดเห็น

comments

By admin