ยูเครนยังแคลงใจ เครื่องบินถูกจรวดอิหร่านยิงตก

อิหร่านระบุคืนวันพุธ (8 มกราคม) ว่าเครื่องบินโดยสารยูเครนเลี้ยวกลับหลังประสบปัญหา ก่อนตกบริเวณนอกกรุงเตหะรานพร้อมผู้โดยสารและลูกเรือ 176 ชีวิตเมื่อตอนเช้าวันเดียวกัน ขณะที่ ทางการยูเครนแสดงความจำนงต้องการร่วมตรวจสอบบริเวณที่เครื่องบินตกเพื่อค้นหาหลักฐาน ซึ่งรวมถึงความเป็นไปได้ที่เครื่องบินอาจถูกจรวดยิงตก ขณะที่อิหร่านยืนยันพบกล่องดำแล้วแต่ไม่ส่งให้วิเคราะห์ข้อมูลนอกประเทศ

ทั้งแคนาดาและสหรัฐฯ ต่างเรียกร้องให้มีการสอบสวนโดยละเอียด เพื่อระบุสาเหตุของเครื่องบินตกครั้งนี้ที่เกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากอิหร่านยิงขีปนาวุธเพื่อโจมตีฐานทัพอเมริกัน 2 แห่งในอิรัก

อย่างไรก็ตาม เมื่อคืนวันพุธ องค์การการบินพลเรือนของอิหร่านแถลงผ่านเว็บไซต์ว่า เครื่องบินโบอิ้ง 737-800 ของสายการบินยูเครเนียน อินเตอร์เนชันแนล แอร์ไลนส์ (UAI) ที่เริ่มแรกมุ่งหน้าทางทิศตะวันตกเพื่อออกจากเขตท่าอากาศยานนานาชาติอิหม่าม โคไมนีในกรุงเตหะราน ได้วกเครื่องกลับหลังประสบปัญหาและหายไปจากจอเรดาร์ที่ระดับความสูงเพียง 2,440 เมตร โดยที่นักบินไม่ได้ติดต่อศูนย์ควบคุมการบินแต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องไม่ปกติที่เครื่องบินจะเปลี่ยนเส้นทางโดยไม่แจ้งศูนย์ควบคุมการบิน

คำแถลงดังกล่าวยังอ้างอิงผู้เห็นเหตุการณ์บนภาคพื้นดิน และในเครื่องบินอีกลำที่บินอยู่เหนือเครื่องบินของ UIA ซึ่งระบุตรงกันว่า เครื่องบินลำดังกล่าวที่มุ่งหน้าสู่กรุงเคียฟของยูเครน เกิดไฟไหม้กลางอากาศก่อนตกลงกระแทกพื้นและระเบิดบริเวณนอกเมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเตหะราน ห่างจากสนามบินเพียง 45 กิโลเมตร หรือหลังออกจากสนามบินเพียง 6 นาที และทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 176 คนเสียชีวิต

นอกจากนั้นยังมีแหล่งข่าวในวงการข่าวกรอง 5 คน ประกอบด้วยชาวอเมริกัน 3 คน, ยุโรป 1 คน และแคนาดา 1 คน เปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า การประเมินเบื้องต้นของหน่วยงานข่าวกรองของตะวันตกหลายแห่งบ่งชี้ว่า เครื่องบินที่ประสบเหตุมีปัญหาทางเทคนิค ไม่น่าจะถูกขีปนาวุธยิง โดยแหล่งข่าวจากแคนาดายังอ้างว่า พบหลักฐานว่า เครื่องยนต์ตัวหนึ่งร้อนเกินไป

ทางด้านสายการบิน UIA แถลงว่า เครื่องโบอิ้ง 737-800 เที่ยวบิน PS752 ออกจากสนามบินเตหะรานเมื่อเวลา 6.10 น. ซึ่งล่าช้าจากกำหนดเดิมราว 1 ชั่วโมงก่อนหายไปจากจอเรดาร์หลังจากนั้นไม่กี่นาที ทั้งยังเผยว่า เครื่องบินลำนี้เพิ่งใช้งานเพียง 3 ปีและรับการซ่อมบำรุงตามกำหนดเมื่อวันจันทร์ (6) โดยอุบัติเหตุครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของ UIA ที่มีคนเสียชีวิต

ทั้งนี้ ผู้เสียชีวิตประกอบด้วยชาวอิหร่าน 146 คน, อัฟกัน 10 คน, ยูเครน 11 คน, แคนาดา 5 คน และสวีเดน 4 คน

ขณะที่ อาลี อะเบดซาดtห์ ประธานองค์การการบินพลเรือนของอิหร่าน กล่าวว่า อิหร่านจะร่วมมือกับยูเครนในการสอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ แต่จะไม่ส่งกล่องดำของเครื่องบินให้อเมริกา ประเทศผู้ผลิตโดยอ้างเหตุไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกันมา 4 ทศวรรษ และขณะนี้ยังเผชิญหน้ากันอย่างตึงเครียด แม้สถานการณ์ล่าสุดเริ่มผ่อนคลายลงแล้วก็ตาม

กัฟนิวส์รายงานว่า Volodymyr Zelenskiy ประธานาธิบดียูเครนระบุว่า “ไม่ต้องสงสัยเลยว่าลำดับความสำคัญของยูเครนคือการระบุสาเหตุของอุบัติเหตุเครื่องบินตก” พร้อมระบุอีกว่า “เราจะค้นหาความจริงอย่างแน่นอน”

Oleksiy Danilov เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งยูเครนกล่าวกับสื่อของยูเครนว่าเจ้าหน้าที่มีทฤษฎีการทำงานหลายประการเกี่ยวกับการตกรวมถึงการถูกยิงด้วยขีปนาวุธ

“การโจมตีด้วยขีปนาวุธอาจเป็นระบบขีปนาวุธเป็นหนึ่งข้อสงสัยหลัก เนื่องจากข้อมูลภาพที่ปรากฏบนอินเทอร์เน็ต พบความเชื่อมโยงกับกับองค์ประกอบของขีปนาวุธที่พบใกล้กับที่เกิดเหตุ” Danilov กล่าว เขา(อิหร่าน)ไม่ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดในที่ที่เขาเห็นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

นักวิจัยชาวยูเครนที่เดินทางมาถึงอิหร่านเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาในขณะนี้รอการอนุญาตจากทางการอิหร่านเพื่อเข้าตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ และมองหาชิ้นส่วนขีปนาวุธ Danilov กล่าว

ยูเครนมีประวัติศาสตร์ที่น่ากลัวด้วยการโจมตีด้วยขีปนาวุธซึ่งรวมถึงในเดือนกรกฎาคม 2557 เมื่อสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ถูกขีปนาวุธที่ผลิตโดยรัสเซียยิงตกเหนือน่านฟ้ายูเครนตะวันออกทำให้มีผู้เสียชีวิต 298 คน

จากการเปิดเผยของผู้เชี่ยวชาญระบุว่า มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลกล่องดำที่จะช่วยยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้นบนเครื่องก่อนตกได้ โดยประเทศเหล่านั้นรวมถึงอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และอเมริกา

การสอบสวนกรณีเครื่องบินตกยังเป็นการดำเนินการที่ซับซ้อน และต้องมีการประสานงานระหว่างผู้คุมกฎ ผู้เชี่ยวชาญ และบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบินลำดังกล่าว และที่สำคัญการออกรายงานเบื้องต้นถึงสาเหตุการตกภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิดอุบัติเหตุเป็นกรณีที่ไม่พบบ่อยนัก เพราะส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาสอบสวนหาสาเหตุกันเป็นเดือนๆ

ภายใต้กฎสากลที่กำกับดูแลโดยสหประชาชาติ อิหร่านจะมีบทบาทนำในการสอบสวนอุบัติเหตุครั้งนี้ ขณะที่สหรัฐฯ ควรได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วมด้วยในฐานะประเทศที่ออกแบบและผลิตเครื่องบินรุ่นนี้

ความคิดเห็น

comments