นายกรัฐมนตรีอิมรานข่านประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อปกป้องพืชผลการเกษตร และช่วยเหลือเกษตรกร รัฐบาลปากีสถาน ระบุว่าเป็นการระบาดที่รุนแรงที่สุดในรอบสองทศวรรษ
สำนักข่าว DW รายงานว่ารัฐบาลปากีสถานประกาศเหตุฉุกเฉินระดับชาติเมื่อวันเสาร์(1 กุมภาพันธ์)หลังฝูงตั๊กแตนทะเลทรายเข้าโจมตีภาคตะวันออกของประเทศ
นายกรัฐมนตรีอิมรานข่านได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหลังจากมีการบรรยายสรุปสถานการณ์ของรัฐบาลในวันศุกร์
“เรากำลังเผชิญกับการระบาดของตั๊กแตนที่เลวร้ายที่สุดในรอบกว่าสองทศวรรษ และได้ตัดสินใจที่จะประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อรับมือกับภัยคุกคามนี้” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศ Firdous Ashiq Awan กล่าวในวันเสาร์
ตั๊กแตนทะเลทราย – รวมทั้งสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายตั๊กแตนมักเดินทางจากอิหร่านมาถึงปากีสถานในเดือนมิถุนายน และจะทำลายฝ้ายข้าวสาลีข้าวโพดและพืชอื่น ๆ ไปแล้ว
สภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และการตอบสนองของรัฐบาลที่ล่าช้าทำให้กลุ่มตั๊กแตนเติบโตอย่างรวดเร็ว และโจมตีพื้นที่เพาะปลูก
ศักยภาพของพวกมันสำหรับการทำลายล้างพื้นที่การเกษตรครั้งใหญ่กำลังก่อให้เกิดความกลัวต่อความไม่มั่นคงด้านอาหาร
Makhdoom Khusro Bakhtiar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงด้านอาหารแห่งชาติกล่าวว่าฝูงตั๊กแตนอยู่ในชายแดนปากีสถาน – อินเดียบริเวณแคว้น Cholistan และก่อนหน้านี้อยู่ใน Sindh และ Balochistan ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ Dawn ของปากีสถาน
“การโจมตีของตั๊กแตนนั้นไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และน่าตกใจมาก” Bakhtiar บอกกับสภานิติบัญญัติของปากีสถานในการแถลงต่อสภาในวันศุกร์
“ฝูงตั๊กแตนได้สร้างความเสียหายไปแล้วมากกว่า 0.3 ล้านเอเคอร์ (121,400 เฮกตาร์ ( 758,750 ไร่)) และใช้โดรนฉีดพ่นยาฆ่าแมลงไปแล้ว 20,000 เฮคตาร์(125,000 ไร่)” เขากล่าวกับหนังสือพิมพ์ปากีสถาน The Express Tribune
“เจ้าหน้าที่บริหารส่วนท้องถิ่น องค์กรอาสาสมัคร แผนกการบิน และกองกำลังได้ถูกนำไปใช้งานเพื่อต่อสู้กับการคุกคามของฝูงตั๊กแตน และรักษาผลผลิตทางการเกษตร” เขากล่าวเสริม
นายกรัฐมนตรีอิมราน ข่านให้คำมั่นที่จะแก้ไขปัญหานี้โดยเสริมว่าการคุ้มครองการเกษตร และเกษตรกรเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ
“รัฐบาลจะดำเนินการทุกขั้นตอนที่เป็นไปได้ และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นเพื่อปกป้องพืชผลจากอันตรายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยมุ่งเน้นที่อันตรายของตั๊กแตนเป็นพิเศษ” ขานกล่าว
ครั้งล่าสุดที่ปากีสถานเห็นว่ามีตั๊กแตนเป็นภัยคุกคามร้ายแรงเกิดขึ้นในปี 2536 ปัจจุบันฝูงตั๊กแตนกำลังส่งผลกระทบต่ออินเดีย และประเทศในแอฟริกาตะวันออก
โดยโซมาเลียประกาศ ‘เหตุฉุกเฉินแห่งชาติ’ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยประกาศว่าการบุกรุกของตั๊กแตนได้ทำลายพื้นที่ที่ถูกเรียกว่าฮอร์นแห่งแอฟริกา สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อพืชผลในภูมิภาคที่มีความเปราะบางที่สุดในโลกแห่งนี้
“กระทรวงเกษตร … ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติโดยชี้ว่าฝูงตั๊กแตนทะเลทรายที่กำลังก่อตัวขึ้นเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อสถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารที่เปราะบางของโซมาเลีย” คำแถลงของกระทรวงระบุ
“แหล่งอาหารสำหรับผู้คนและปศุสัตว์ของพวกเขามีความเสี่ยง” คำแถลงระบุ
ตั๊กแตนจะทำให้เกิดการทำลายล้างทางการเกษตรและความหิวโหย
“ด้วยความรุนแรงของการระบาดของตั๊กแตนทะเลทรายนี้เราต้องพยายามอย่างเต็มที่ในการปกป้องความมั่นคงด้านอาหาร และการดำรงชีวิตของชาวโซมาเลีย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าว พร้อมเสริมว่า”ถ้าเราไม่ทำตอนนี้เราจะเสี่ยงต่อวิกฤติอาหารร้ายแรงที่เราไม่สามารถหามาแทนได้”