มาเลย์ผลักเรือโรฮิงญา 200 ชีวิตออกทะเลสากล ด้วยความกลัวโควิด19

มาเลเซียปฏิเสธการเข้าฝั่งของเรือที่บรรทุกชาวโรฮิงญาประมาณ 200 คนเนื่องจากความกลัวโคโรนาไวรัส กองทัพอากาศเปิดเผยปฏิบัติการ หลังจากที่มีข่าวว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งบนเรือแออัด

อาหรับนิวส์รายงานว่า บรรดานักเคลื่อนไหวต่างหวาดกลัวว่าชาวโรฮิงญาจำนวนมากซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่ถูกข่มเหงจากชาวพม่าอาจถูกขังอยู่บนเรือกลางทะเลโดยไม่สามารถไปถึงฝั่งประเทศใดได้

สถานการณ์ล่าสุดทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดวิกฤติซ้ำเหมือนปี 2015 เมื่อชาวโรฮิงญาหลายคนเสียชีวิตกลางทะเลหลังจากที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างผลักเรือพวกเขากลับทะเลสากล หลังจากมีการทลายขบวนการค้ามนุษย์โรฮิงญา

ในเหตุการณ์ล่าสุดเรือโรฮิงยาถูกพบเห็นเมื่อวันพฤหัสบดีโดยเครื่องบินกองทัพอากาศมาเลเซีย บริเวณเกาะทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะลังกาวี และสกัดกั้นโดยเรือกองทัพเรือสองลำที่ได้รับการสนับสนุนจากเฮลิคอปเตอร์

เรือรบมาเลเซียได้ให้อาหารแก่ชาวโรฮิงญาก่อนที่จะพาพวกเขาออกจากน่านน้ำของประเทศตามการเปิดเผยของกองทัพอากาศมาเลเซีย

“ด้วยการตั้งถิ่นฐานที่ไม่ดี และสภาพความเป็นอยู่ของพวกเขาที่แออัด เป็นเรื่องน่ากลัวอย่างยิ่งว่าผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารที่พยายามเข้าประเทศมาเลเซียเหล่านี้ไม่ว่าจะทางบกหรือทางทะเลจะนำ (COVID-19) เข้ามาในประเทศด้วย”

กองทัพมาเลย์เสริมว่า “การปฏิบัติการเฝ้าระวังทางทะเลจะทวีความเข้มข้นมากขึ้น”

การลาดตระเวนที่เข้มงวดส่งสัญญาณว่ามาเลเซียซึ่งอยู่ภายใต้การล็อคดาวทั่วประเทศเพื่อต่อสู้กับการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสหลังจากพบผู้ติดเชื้อแล้วมากกว่า 5,000 รายและ 80 รายเสียชีวิตทำให้ท่าทีดังกล่าวปฏิเสธการเข้ามาของชาวโรฮิงญา

ในขณะที่มีเรือเพียงไม่กี่ลำของพวกเขาสามารถเดินทางมาได้ถึงมาเลเซียนับแต่ปี 2015 โดยเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีชาวโรฮิงญา 202 คนได้รับอนุญาตให้นำเรือขึ้นฝั่งที่ลักกาวี ก่อนทั้งหมจากถูกทางการมาเลย์คุมตัวไป

มาเลเซียเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับผู้อพยพจากพม่าเนื่องจากเป็นประเทศมุสลิมที่มีชาวโรฮิงญาพลัดถิ่นอาศัยอยู่จำนวนมาก

การเดินทางบนเรือที่แออัดมาก ออกจากค่ายพักที่น่าอับอายใกล้ชายแดนของบังคลาเทศซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวโรฮิงญาเกือบหนึ่งล้านคนที่หลบหนีตายออกจากพม่าหลังจากการโจมตีทางทหารในปี 2017

ในเหตุการณ์นี้มี 60 ชาวโรฮิงยาเสียชีวิตบนเรือที่อัดแน่นไปด้วยผู้คนหลายร้อยคนที่ลอยลำอยู่ในอ่าวเบงกอลนานกว่าสองเดือนตามการเปิดเผยของผู้รอดชีวิต

เรือลำนั้นถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศโดยมาเลเซีย และไทยจากนั้นมุ่งหน้ากลับไปยังบังคลาเทศซึ่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยชายฝั่งได้รับการตรวจค้นเมื่อช่วงปลายวันพุธ ประมาณ 400 คนได้รับการช่วยเหลือ

กลุ่มสิทธิมนุษยชนฟอร์ทิฟายกล่าวว่าชาวโรฮิงยาได้บอกว่ามีเรือลำอื่น ๆ ล่องลอยไปในทะเลระหว่างบังคลาเทศและมาเลเซีย

“การส่งเรือผู้ลี้ภัยที่ไม่มีอาวุธออกสู่ทะเลนั้นผิดกฎหมาย และมีโทษประหารชีวิต” Matthew Smith ซีอีโอของกลุ่มกล่าว

ความคิดเห็น

comments