ฮังการียินดีต้อนรับชาวยูเครน แต่ไม่ใช่สำหรับนักเรียนอัฟกัน

เมื่อรัสเซียเปิดสงคราม ฮังการีได้เปิดพรมแดนรับผู้ลี้ภัยหลายหมื่นคนที่หลบหนีออกจากยูเครนเข้าประเทศ แต่ผู้ลี้ภัยที่มาจากประเทศอื่นๆ กลับถูกทิ้งไว้ที่ชายแดนโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ ในทุ่งแห่งหนึ่งบริเวณพรมแดนเซอร์เบีย

หลังจากเรียนที่ฮังการีเป็นเวลาสามปี Hasib Qarizada ได้ขอลี้ภัยที่นั่นหลังจากที่ประเทศอัฟกานิสถานของเขาเกิดความวุ่นวายเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่แทนที่จะได้รับการรับรองสถานะผู้ลี้ภัย แต่ทางการฮังการีกลับส่ง Qarizada ข้ามพรมแดนไปยังเซอร์เบียประเทศเพื่อนบ้านตั้งแต่เมื่อหกเดือนก่อน เขาถูกไล่ไปยังประเทศที่เขาไม่รู้จักด้วยซ้ำ

“ตำรวจเข้ามา และใส่กุญแจมือผม” Qarizada บอกกับ The Associated Press ในกรุงเบลเกรด เมืองหลวงของเซอร์เบีย “พวกเขาบอกผมว่า ‘อย่าพยายามวิ่งหนี อย่าพยายามต่อสู้ อย่าทำอะไรโง่ ๆ’” ผมถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังในทุ่งแห่งหนึ่งในเซอร์เบียโดยมองไปสุดตาไม่เห็นใคร Qarizada นักศึกษาอัฟกานิสถานวัย 25 ปีระบุ ซึ่ง

ผมไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน และจะต้องไปทางไหน เขาบอก

“ผมเป็นนักเรียน และพวกเขาทำให้ชีวิตของผมแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง” เขากล่าว “พวกเขาไม่ให้โอกาสผมคว้าเสื้อผ้า ที่ชาร์จ (โทรศัพท์) หรือแล็ปท็อปของผม หรืออะไรก็ตามที่สำคัญที่ผมจะต้องเดินทางด้วยซ้ำ”

เขาบอกกับ AP ว่าเขา “ไม่รู้ว่าเซอร์เบียอยู่ที่ไหน พวกเขาพูดภาษาอะไร พวกเขามีวัฒนธรรมแบบไหน”

ตำรวจฮังการีไม่ตอบสนองต่อคำการชี้แจงกรณีดังกล่าวของ AP เกี่ยวกับการขับไล่ Qarizada ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

แม้ว่าฮังการีจะขึ้นชื่อเรื่องการปฏิบัติต่อผู้อพยพหนีสงคราม และความยากจน แต่คดีของ Qarizada ชี้ให้เห็นถึงแนวทางปฏิบัติที่น่ากลัวอย่างยิ่งในการส่งคนไปยังประเทศที่สามที่พวกเขาไม่ได้มาจากที่นั่น

นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิในภูมิภาคได้บันทึกกรณีดังกล่าวเป็นครั้งแรกในปี 2017 เมื่อชาวเคิร์ดวัย 16 ปีจากอิรักถูกฮังการีจับส่งตัวไปยังเซอร์เบีย แม้ว่าในตอนแรกเขาจะเข้าฮังการีจากโรมาเนีย และพยายามเข้าไปให้ถึงออสเตรียก่อนที่เขาจะถูกฮังการีจับแล้วส่งไปเซอร์เบีย

ไม่นานมานี้ ผู้หญิงจากแคเมอรูนที่เข้าสู่ฮังการีจากโรมาเนีย ก็ถูกส่งไปยังเซอร์เบียเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว หญิงชาวแอฟริกันอีกคนที่บินมาจากดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เมื่อหนึ่งปีก่อนก็จบลงที่ทุ่งแห่งหนึ่งในเซอร์เบียเช่นกัน นิโคลา โควาเซวิช ทนายความด้านสิทธิชาวเซอร์เบียกล่าวว่า

การขับไล่ Qarizada แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างโดยสิ้นเชิงในการปฏิบัติต่อผู้คนจากยูเครน และผู้ที่มาจากเขตสงครามนอกยุโรปภายใต้นโยบายของนายกรัฐมนตรี Viktor Orban ที่มาจากกลุ่มขวาจัดของฮังการี

ในทำนองเดียวกัน โครเอเชีย ซึ่งเป็นประเทศในสหภาพยุโรปอีกประเทศหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าใช้ความรุนแรงต่อผู้อพยพ ก็กล่าวว่าชาวยูเครนสามารถเข้ามาในโครเอเชีย และอยู่อาศัยได้

นักเคลื่อนไหวต่างปรบมือให้กับการเปลี่ยนแปลงนี้ ขณะเดียวกันก็เตือนเรื่องการเลือกปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย และผู้อพยพจากตะวันออกกลางและแอฟริกา ซึ่งต้องเผชิญกับอันตรายและการตอบโต้ที่ชายแดนฮังการี โครเอเชีย และประเทศในยุโรปอื่นๆ เป็นเวลาหลายปี

“สำหรับพวกเราที่ติดตามปัญหาเหล่านี้ เป็นเรื่องยากที่จะเห็นความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมากับการตอบสนองที่รุนแรงของยุโรปต่อผู้คนที่หนีสงครามและวิกฤตอื่นๆ” จูดิธ ซันเดอร์แลนด์ จากฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าว พร้อมเสริมว่า “ผู้คนจำนวนมากจากเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลางเสียชีวิตทุกปีในความพยายามเข้าถึงยุโรป”

Zsolt Szekeres จากคณะกรรมการของเฮลซิงกิของฮังการีกล่าวว่า “รัฐบาล (ฮังการี) พยายามอย่างเต็มที่ที่จะอธิบายในตอนนี้ว่าทำไมชาวยูเครนถึงเป็นผู้ขอลี้ภัยที่ดีและคนอื่น ๆ กลายเป็นผู้อพยพที่ไม่ดี”

เมื่อการเลือกตั้งของฮังการีในวันที่ 3 เมษายนใกล้เข้ามา โซลตัน โคแวคส์ โฆษกรัฐบาลกล่าวหาว่าที่สื่อรายงานเป็น “ข่าวปลอม” ต่อรายงานว่าทางการได้เลือกปฏิบัติเกิดขึ้นแม้ในหมู่ผู้ลี้ภัยที่เดินทางมาจากยูเครน

การผลักกลับที่ชายแดนซึ่งผิดกฎหมายภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ หมายความว่าผู้คนถูกส่งจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์ของแต่ละบุคคล

โควาเซวิช ทนายความชาวเซอร์เบีย กล่าวว่า เมื่อพวกเขาถูกไล่ออกจากโรงเรียนเช่นเดียวกับ Qarizada ไปยังประเทศที่พวกเขาไม่ได้มาจากที่นั่นมันคือ “ความรุนแรงของการละเมิดมีมากขึ้น”

การเนรเทศของ Qarizada รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก เนื่องจากเขาไม่ได้มาถึงฮังการีตามเส้นทางอพยพที่ผิดกฎหมายใดๆ Qarizada เป็นนักศึกษาที่หาเงินส่งตัวเองเรียนซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันในอพาร์ตเมนต์และมีชีวิตที่มั่นคงในบูดาเปสต์

เขาจึงขอลี้ภัยเพราะความวุ่นวายในอัฟกานิสถานทำให้ครอบครัวของเขาไม่สามารถจ่ายเทอมของมหาวิทยาลัยของเขาได้อีกต่อไป ดังนั้นเขาจึงไม่สามารถต่ออายุใบอนุญาตผู้มีถิ่นที่อยู่ได้

ในการปฏิเสธคำขอลี้ภัยของเขา นักเคลื่อนไหวกล่าวว่าทางการฮังการีเพิกเฉยต่อความจริงที่ว่าบ้านเกิดของ Qarizada ในอัฟกานิสถานไม่สามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากกลุ่มตอลิบานกลับสู่อำนาจ

Qarizada บอกกับ AP ว่าครอบครัวของเขามีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลก่อน ทำให้ตกอยู่ในอันตรายจากการแก้แค้น “พวกเขาแทบจะไม่ออกไปข้างนอก” เขากล่าว

ทนายความของคณะกรรมการเฮลซิงกิได้นำคดีของ Qarizada ขึ้นสู่ศาลในฮังการี และศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป โดยโต้แย้งว่าการขับไล่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของเขาขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป Szekeres กล่าว

ศาลในฮังการีตัดสินให้ Qarizada ชนะคดี แต่ทนายต้องต่อสู้กันทางกฎหมายอีกครั้งเพื่อบังคับให้ทางการฮังการีดำเนินการตามคำตัดสินและอนุญาตให้เขากลับมา เขากล่าวเสริม

“เขายื่นขอลี้ภัย เขาพักอยู่ที่นี่ และเขาต้องการอยู่ที่นี่ แต่เขากลับถูกไล่ออกในลักษณะที่เกิดขึ้น” ทนายความยืนกราน “เขาไม่เคยได้รับโอกาสหรือทางเลือกในการอธิบายสถานการณ์ของเขา”

สำหรับ Qarizada หลายวันหลังจากการถูกขับออกจากฮังการีถือเป็นช่วงที่แย่ที่สุดในชีวิตของเขา

เขาถูกทอดทิ้งในเซอร์เบีย เขาเดินไปหลายชั่วโมง ในที่สุดก็ถึงปั๊มน้ำมันที่ผู้หญิงคนหนึ่งยอมให้เขาชาร์จโทรศัพท์ และนำทางเขาไปที่ศูนย์ลี้ภัยที่ใกล้ที่สุด และเขาต้องนอนข้างนอกเป็นเวลาสี่คืน

“ผมรู้สึกแย่มาก … เพราะผมเป็นนักเรียนธรรมดา ผมกำลังเรียน ผมกำลังจะไปเรียน ผมมีเพื่อน ผมมีชีวิตของตัวเอง” เขากล่าว “ผมไม่ได้ทำอะไรไม่ดี”

Karox Pishtewan ผู้เยาว์ชาวเคิร์ดถูกส่งตัวมายังประเทศเซอร์เบียในปี 2017 และผู้ที่ได้รับสิทธิ์ลี้ภัยที่นั่น ยังบอกกับ AP ว่าตำรวจฮังการี “เปิดประตูและบอกให้เราไป”

“มันเป็นเดือนกรกฎาคมและทุกอย่างเป็นสีเขียว” เขาจำได้ “ค่อนข้างตกใจ เราไม่ได้นอนมาสามวันแล้ว และพวกเขาเพิ่งเตะเราออกไปที่นั่น ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนและเกิดอะไรขึ้น”

Szekeres กล่าวว่าการยอมรับผู้ลี้ภัยจากยูเครนแสดงให้เห็นว่าความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือยังคงแข็งแกร่งในหมู่ประชาชนชาวฮังการีธรรมดาแม้ว่ารัฐบาลจะมีวาระการต่อต้านการย้ายถิ่นฐานมานานหลายปี

“ไม่มีความแตกต่างระหว่างพ่อแม่ชาวยูเครนที่หนีไปกับลูกๆ กับพ่อแม่ชาวอัฟกันที่หนีพร้อมกับลูกๆ ของพวกเขา” เขากล่าว “นี่เป็นเครื่องเตือนใจที่ดีสำหรับทุกคนว่าผู้ขอลี้ภัย ไม่ว่าพวกเขาจะมาจากไหน จำเป็นต้องได้รับการปกป้อง คุ้มครอง”

ความคิดเห็น

comments