ผ้าทออีสาน สู่ตลาดมุสลิมเชิงพาณิชย์

วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานีร่วมงาน “ผ้าทออีสานจากวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่า เชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม” ต่อยอดภูมิปัญญาการทอผ้าของคนอีสาน ประยุกต์ศิลปะอิสลาม เพิ่มโอกาสทางการตลาดและกลุ่มคู่ค้าใหม่ในตลาดมุสลิมทั้งภายในประเทศ

เฟสบุก Praween Prapertchob เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2565 นายธีทัต พิมพา วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเพื่อกล่าวปิดกิจกรรมในโครงการ “ผ้าทออีสานจากวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่า เชิงพาณิชย์ในตลาดมุสลิม” พร้อมมอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ในกิจกรรม “ผ้าทออีสาน สู่ตลาดมุสลิมเชิงพาณิชย์” โดยมีผู้ประกอบการผ้าทออีสานจากจังหวัดขอนแก่น สกลนคร หนองคาย และอุดรธานี และผู้สนใจทั่วไปจำนวน 60 คน ระหว่างวันที่ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25-26 พ.ค. 65

อาจารย์สุวัยบ๊ะห์ ประพฤติชอบ หัวหน้าโครงการฯ ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ว่า นอกจากการถ่ายทอดและส่งต่อภูมิปัญญาการทอผ้าของคนอีสานแล้ว การส่งเสริมและพัฒนาความหลากหลายของการออกแบบลวดลายบนผืนผ้าทอ โดยการประยุกต์ศิลปะอิสลาม มาใช้ในลายผ้าทอ รวมถึงการออกแบบดีไซน์เครื่องแต่งกายที่ตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคมุสลิม นับเป็นความท้าทายและเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มโอกาสทางการตลาดและกลุ่มคู่ค้าใหม่ในตลาดมุสลิมทั้งภายในประเทศ กลุ่มประเทศอาเซียน และอาจมองไกลถึงกลุ่มผู้บริโภคมุสลิมจากตะวันออกกลาง

ภายในงานนอกจากองค์ความรู้ที่หลากหลายทั้งเรื่องของโอกาสของสินค้าและเสื้อผ้าแฟชั่นในตลาดโลกมุสลิม แล้ว การนำเอาศิลปะอิสลามและภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนอีสาน มาผสานลวดลายท้องถิ่นบนผืนผ้าทอและประยุกต์ใช้ในวงการแฟชั่นผ้าไทย การตลาดดิจิทัลกับกลุ่มเป้าหมายมุสลิม ตลอดจนแฟชั่นและงานออกแบบที่ตรงกลุ่มเป้าหมายของผู้บริโภคมุสลิม

ทั้งนี้ภาพความสำเร็จของกิจกรรมในครั้งนี้ คือ รอยยิ้มที่เปื้อนโอกาสและความหวังของกลุ่มแม่ๆ ที่หวังให้งานฝีมือได้เป็นที่รู้จัก แพร่หลาย และสร้างรายได้ที่มั่งคั่ง และมั่นคงในกับครอบครัวและชุมชนต่อไป

ความคิดเห็น

comments