อุทกภัยครั้งใหญ่ของปากีสถานนำไปสู่การเรียกร้องครั้งใหม่ต่อประเทศร่ำรวยที่สร้างมลพิษด้วยการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมาก ต้องจ่ายเพื่อชดเชยประเทศกำลังพัฒนาสำหรับผลกระทบร้ายแรงที่เกิดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
อัลญะซีเราะห์รายงานว่า ปัจจุบันนักเคลื่อนไหวได้เรียกร้องในแนวคิด “การสูญเสียและความเสียหาย” การจ่ายชดเชย แต่นักรณรงค์บางคนต้องการที่จะดำเนินการต่อไป และกำหนดกรอบปัญหาว่าเป็น “การชดเชยสภาพอากาศ”
นอกเหนือข้อเรียกร้องที่ยากต่อการเป็นไปได้แล้ว กลุ่มพลังสีเขียวยังเรียกร้องให้มีการยกเลิกหนี้สำหรับประเทศที่ขาดแคลนเงินสดซึ่งถูกบังคับให้ใช้งบประมาณส่วนใหญ่เพื่อให้บริการสินเชื่อภายนอก แทนที่จะทุ่มเทเงินทุนเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างรวดเร็ว
Meera Ghani นักเคลื่อนไหวด้านสภาพอากาศในเบลเยี่ยมกล่าวว่า “มีแบบอย่างทางประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช่แค่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเท่านั้นที่นำไปสู่การปล่อยมลพิษ และมลภาวะจากก๊าซคาร์บอน แต่ยังรวมถึงประวัติศาสตร์ของการล่าอาณานิคมและประวัติศาสตร์ของการปล้นชิงทรัพยากร ความมั่งคั่ง และแรงงาน”
Ghani อดีตผู้เจรจาด้านสภาพภูมิอากาศของปากีสถานกล่าวว่า “วิกฤตสภาพภูมิอากาศเป็นการรวมตัวกันของระบบการกดขี่ที่เชื่อมต่อกัน และเป็นรูปแบบหนึ่งของลัทธิล่าอาณานิคม”
ข้อโต้แย้งเหล่านี้ย้อนเวลาไปหลายสิบปี และถูกพูดถึงครั้งแรกโดยประเทศเกาะเล็กๆ ที่เสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น แต่ข้อเรียกร้องนี้กำลังก่อตัวขึ้นอีกครั้งจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปากีสถาน ซึ่งเกิดขึ้นหลังฝนตกลงมาอย่างหนักอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
มีผู้เสียชีวิตเกือบ 1,600 คน หลายล้านคนต้องพลัดถิ่น และรัฐบาลที่ขาดแคลนเงินสดประเมินความเสียหายสูงถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์
นักรณรงค์ชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศที่เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในโลก แต่กลับสร้างผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น ปากีสถานปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก (GHG) น้อย กว่า 1 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม G20 ซึ่งสร้างมลพิษสูงขึ้น 80 เปอร์เซ็นต์
การตอบสนองสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับแนวทางที่แตกออกไปคือการ “บรรเทา” ซึ่งหมายถึงการลด ก๊าซ เรือนกระจก และ “การปรับตัว” ซึ่งหมายถึงขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงระบบและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
การเรียกร้องการจ่ายเงินชดเชย “การสูญเสียและความเสียหาย” เป็นมากกว่าการจัดหาเงินทุนเพื่อการปรับตัว และแสวงหาการชดเชยสำหรับผลกระทบจากสภาพอากาศเลวร้ายที่ประเทศต่างๆ ไม่สามารถต้านทานได้
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน แม้แต่เป้าหมายเป็นไปได้ยากมากขึ้น แม้แต่การจัดหาเงินทุนเพื่อการปรับตัวก็ยังเป็นเรื่องยาก
ในปี 2009 ประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายตกลงที่จะส่งเงิน 1 แสนล้านดอลลาร์ให้กับประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2020 ซึ่งเป็นคำมั่นสัญญาที่หลอกลวง ถึงแม้ว่าเงินทุนที่ระดมออกมาส่วนใหญ่จะมาในรูปของเงินกู้ยืมกับประเทศด้อยพัฒนาก็ตาม
Maira Hayat ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านสิ่งแวดล้อม และการศึกษาสันติภาพที่มหาวิทยาลัยนอเทรอดามในรัฐอินเดียนา กล่าวว่า “จุดเริ่มต้นของเราคือประเทศซีกโลกเหนือส่วนใหญ่ต้องรับผิดชอบต่อสภาพโลกของเรา
“ทำไมประเทศที่มีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อยในการปล่อย GHG จึงขอความช่วยเหลือจากมหาอำนาจเหล่านี้ผ่านเงินกู้โดยมีเงื่อนไขการชำระคืนที่ลำบาก? หากสิ่งนั้นทำให้บางคนไม่พอใจ ขั้นตอนต่อไปก็คือการสอบสวนว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น พวกเขาโต้แย้งประวัติศาสตร์หรือไม่? หรือความหมายในปัจจุบันของการยอมรับอดีตทางประวัติศาสตร์บางอย่าง?”
Daanish Mustafa ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์ที่สำคัญจาก King’s College London กล่าวว่า “มันคือการใช้คำพูดเชิงวาทศิลป์ที่จะไม่ไปไหน”
ในขณะที่เขาตำหนิประเทศในซีกโลกเหนือส่วนใหญ่สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันของโลก เขากล่าวว่าเขาระมัดระวังที่จะผลักดันการเล่าเรื่องที่อาจเป็นการแก้ตัวต่อการกระทำของผู้นำปากีสถาน และการเลือกนโยบายที่พวกเขาใช้ซึ่งทำให้ภัยพิบัตินี้รุนแรงขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศกลุ่ม World Weather Attribution พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีส่วนทำให้เกิดน้ำท่วม
แต่ผลกระทบร้ายแรงยังได้รับแรงหนุนจาก “ความใกล้ชิดของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน [บ้าน อาคาร สะพาน] และพื้นที่เกษตรกรรมไปจนถึงที่ราบน้ำท่วมถึง” ท่ามกลางปัจจัยอื่นๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยท้องถิ่น
ศ.Mustafa กล่าวว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับโลก กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยผลประโยชน์จะไหลไปสู่ชนชั้นสูงกลุ่มเล็กๆ และประเทศควรดำเนินตามเส้นทางการพัฒนาทางเลือกอื่นที่มีคาร์บอนต่ำมากกว่าที่จะ “พุ่งไปทางตะวันตก” และสร้างความเสียหายให้กับตัวเอง
กรณีสำหรับการจ่ายเงินชดเชย “การสูญเสีย และความเสียหาย” ได้รับการสนับสนุนเมื่อเร็ว ๆ นี้โดยอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติเรียกร้องให้มี “การดำเนินการที่นำสู่การปฎิบัติ” ในการประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศโลกครั้งต่อไป COP27 ที่อียิปต์ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้
แต่ประเด็นนี้ละเอียดอ่อนสำหรับประเทศร่ำรวย โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ปล่อย GHG รายใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งกลัวว่าจะเป็นการปูทางไปสู่การดำเนินการทางกฎหมาย


