อินเดียทำ “สถิติโลก” ปล่อยดาวเทียม 104 ดวงในครั้งเดียว

อินเดียนำดาวเทียมมาเป็นประวัติการณ์ถึง 104 ดวงขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดเพียงลำเดียวในวันพุธ (15 กุมภาพันธ์) ในความสำเร็จครั้งล่าสุดของหน่วยงานอวกาศที่ขึ้นชื่อเรื่องความประหยัดของประเทศนี้

บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมชมการปล่อยจรวดลำดังกล่าวในท่าอวกาศศรีฮาริโกตาทางตอนใต้ต่างปรบมือกันกึกก้องในขณะที่ผู้อำนวยการขององค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (อิโร) ประกาศว่า ดาวเทียมทุกดวงถูกปล่อยออกมาหมดแล้ว

“ผมของแสดงความยินดีจากใจจริงต่อทีมอิสโรสำหรับความสำเร็จครั้งนี้” กิรัน กุมาร ผู้อำนวยการอิสโรบอกกับนักวิทยาศาสตร์ที่รวมตัวกันที่หอสังเกตการณ์เพื่อชมความคืบหน้าของ Polar Satellite Launch Vehicle (PSLV).

นายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี ของอินเดียแสดงความยินดีต่อนักวิทยาศาสตร์สำหรับการปล่อยที่ประสบความสำเร็จครั้งนี้ซึ่งทำลายสถิติที่รัสเซียสร้างไว้ก่อนหน้านี้

“ความสำเร็จอันน่าทึ่งนี้ยังเป็นอีกช่วงเวลาแห่งความภูมิใจสำหรับประชาคมวิทยาศาสตร์อวกาศของเราและนี้ด้วย อินเดียเคารพนักวิทยาศาสตร์ของเรา” โมดี เขียนในทวิตเตอร์

จรวดลำนี้ถูกปล่อยเมื่อเวลา 9.28 น. ตามเวลาท้องถิ่น ( 10.58 น. ตามเวลาประเทศไทย) และบินขึ้นด้วยความเร็ว 27,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาปล่อยดาวเทียม 104 ดวงเข้าสู่วงโคจรประมาณ 30 นาที อ้างจากอิสโร

สัมภาระหลักของจรวดลำนี้คือดาวเทียมหนัก 714 กิโลกรัมสำหรับการสำรวจโลกแต่ก็บรรทุกดาวเทียมจิ๋ว 103 ดวงที่มีน้ำหนักรวมกัน 664 กิโลกรัมด้วย

ดาวเทียมจิ๋วเกือบทั้งหมดมาจากประเทศอื่นรวมถึงอิสราเอล คาซัคสถาน เนเธอแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ 96 ดวงจากสหรัฐฯ

การปล่อยดังกล่าวทำให้ตอนนี้อินเดียเป็นเจ้าของสถิติปล่อยดาวเทียมมากที่สุดในครั้งเดียว แซงหน้ารัสเซียที่ปล่อยดาวเทียม 39 ดวงในภารกิจครั้งเดียวเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2014

ธุรกิจการนำดาวเทียมพาณิชย์ขึ้นสู่อวกาศเพื่อเก็บค่าธรรมเนียมกำลังเติบโต ในขณะที่บริษัทโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต และบริษัทอื่นๆ ตลอดจนประเทศต่างๆ กำลังต้องการการติดต่อสื่อสารที่ดีขึ้นและทันสมัย

อินเดียกำลังแข่งขันกับผู้เล่นต่างชาติรายอื่นเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งของตลาดการปล่อยดาวเทียมและขึ้นชื่อเรื่องโครงการอวกาศต้นทุนต่ำ

เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว อินเดียได้สร้างสถิติของประเทศหลังจากประสบความเร็วในการปล่อยจรวดที่บรรทุกดาวเทียม 20 ดวงรวมถึง 13 ดวงจากสหรัฐฯ

อินเดียส่งจรวดไร้คนบังคับลำหนึ่งเข้าสู่วงโคจรในปี 2013 ด้วยค่าใช้จ่ายเพียง 73 ล้านดอลลาร์ เทียบกับภารกิจมาเวนมาร์ของนาซาที่มีค่าใช้จ่ายถึง 671 ล้านดอลลาร์ อิสโลยังกำลังพิจารณาภารกิจไปดาวพฤหัสและดาวศุกร์ด้วย

โมดียกยกย่องเทคโนโลยีอวกาศต้นทุนต่ำของอินเดียอยู่บ่อยครั้ง และในปี 2014 เขาเหน็บแนมว่า จรวดที่ปล่อยดาวเทียมต่างชาติ 4 ดวงเข้าสู่วงโคจรมีราคาต่ำกว่างบสร้างภาพยนตร์เรื่อง “Gravity” ของฮอลลีวูดเสียอีก

ความคิดเห็น

comments