ห้ามคลุมฮิญาบ ศาลยุโรปตัดสินให้สิทธิ์นายจ้างสั่งได้

อีกครั้งที่ศาลยุติธรรมยุโรป ECJ ออกคำตัดสินที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยระบุให้นายจ้างสามารถห้ามพนักงานไม่ให้สวมสัญลักษณ์ทางศาสนาหรือการเมืองในระหว่างทำงาน ถือเป็นการตัดสินครั้งแรกของศาลยุโรปเกี่ยวกับการแต่งกาย หลังจากที่ก่อนหน้านี้เพิ่งตัดสินให้ชาติในยุโรปไม่จำเป็นต้องออกหนังสือเดินทางเพื่อสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันอังคาร (14 มีนาคม) การตัดสินคดีครั้งสำคัญหลังจากพนักงานหญิง 2 คนในฝรั่งเศสและเบลเยียมถูกไล่ออกจากงาน หลังจากคนทั้งคู่ไม่ยอมถอดผ้าคลุมฮิญาบออกในระหว่างเวลางาน

โดยในคดีแรก ซามิรา อัชบิตา(Samira Achbita) หญิงชาวเบลเยียมทำงานแผนกต้อนรับประจำบริษัท จีโฟร์เอส ซีคิว โซลูชันส์(G4S Secure Solutions)ของเบลเยียม ที่มีกฎห้ามพนักงานบริษัทสวมเครื่องหมายสัญลักษณ์ทางศาสนาหรือทางการเมืองได้ไล่หญิงผู้นี้ออก หลังจากเธอปฎิเสธที่จะถอดผ้าคลุมฮิญาบ

และเหมือนเช่นเดียวกันกับคดีทีสอง วิศวซอฟต์แวร์หญิงชาวฝรั่งเศสรายหนึ่งถูกไล่ออก หลังจากปฎิเสธที่ถอดผ้าคลุมฮิญาบออกหลังถูกลูกค้าร้องเรียน

ในแถลงการณ์ของศาลยุติธรรมยุโรป ECJ กล่าวว่า “กฎเกณฑ์ภายในที่ระบุว่า ห้ามสวมเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แสดงทางศาสนา ความเชื่อ หรือการเมืองนั้น ไม่ถือว่าเป็นการกีดกันทางตรง”

ด้านกลุ่มที่ออกมาสนับสนุนผู้เสียหายสตรีเหล่านี้ชี้ว่า คำพิพากษาที่ออกมาอาจทำเกิดการปิดกั้นต่อผู้หญิงมุสลิมจำนวนมากเข้าสู่การทำงาน

โดยกลุ่มเดอะ โอเพน โซไซตี จัสติซ อินนิชิเอตีฟ( The Open Society Justice Initiative) ของมหาเศรษฐี จอร์จ โซรอส ได้ออกความเห็นว่า คำพิพากษานั้นจะทำให้หลักประกันว่าด้วยความเท่าเทียมตามหลักกฎหมายอียูนั้นอ่อนแอลง

มาริแอม ฮมาเดาน์(Maryam Hmadoun) สำนักงานนโยบายได้ออกมาชี้ว่า “ในหลายประเทศชาติสมาชิกยุโรป เฉพาะกฎหมายของชาตินั้นๆเองยังระบุว่า การห้ามผ้าคลุมศรีษะทางศาสนา(ฮิญาบ)ในที่ทำงานถือเป็นการกีดกัน” และกล่าวต่อว่า “แต่ในที่ซึ่งกฎหมายของรัฐนั้นอ่อนแอ คำตัดสินที่ออกมานี้จะทำให้หญิงมุสลิมจำนวนมากไม่สามารถอยู่ในสถานทำงานได้” รอยเตอร์รายงาน

ในขณะที่องค์การนิรโทษสากลได้ออกมาสนับสนุนคำตัดสินของศาลยุติธรรมยุโรป ECJ ในคดีของวิศวกรซอฟต์แวร์หญิงชาวฝรั่งเศส แต่ก็ชี้ว่า คำพิพากษาในการห้ามจะเป็นการเปิดประตูหลังให้กับอักคติต่างๆตามมา

ซึ่งความเห็นเหล่านี้ยังสอดคล้องกับบรรดาแรบไบศาสนายิวในยุโรปที่ชี้ว่า คำพิพากษาล่าสุดอาจทำให้เกิดคดีอาชญากรรมด้านความเกลียดชังเพิ่มมากขึ้น ในการส่งข้อความออกมาว่า “ประชาคมทางศาสนาไม่เป็นที่ต้อนรับ” ตามรายงานของรอยเตอร์

ทั้งนี้คำตัดสินดังกล่าวที่ออกมาล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเนเธอร์แลนด์ เท่ากับเป็นการส่งแรงหนุนแนวคิดหัวรุนแรงในกาต่อต้านชาวมุสลิมของผู้สมัครฝ่ายขาวของเนเธอร์แลนด์ ที่กำลังมีคะแนนสูสีในการเลือกตั้ง

ความคิดเห็น

comments