รมต.อินโดฯ พบซูจี ยื่นข้อเสนอให้ปกป้องคนทุกคนในยะไข่

Retno LP Marsudi รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียเดินทางจากเมืองย่างกุ้งไปยังเมืองเนปีดอร์ประเทศพม่า เพื่อหารือในประเด็นต่างๆเกี่ยวกับสภาพความเป็นชาติพันธุ์ของชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่พม่า

detik รายงานตามรายงานของ AFP รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่าเขาจะได้พบกับผู้บัญชาการกองกำลังพม่า ในการประชุมที่จะจัดขึ้นที่กรุง Naypyidaw เขาจะเน้นความสำคัญของการรักษาความปลอดภัย และความมั่นคงในรัฐยะไข่

“ครั้งแรกกับผู้บัญชาการกองกำลังแห่งพม่า ซึ่งหลายคนจะเน้นเรื่องความปลอดภัย และความมั่นคงในรัฐยะไข่” Retno กล่าวในวันจันทร์ (4 กันยายน)

หลังจากนั้น Retno ก็มีกำหนดที่จะได้พบกับที่ปรึกษาของรัฐดอว์อองซาน ซูจี ซึ่งเป็นผู้ปกครองในทางพฤตินัยของพม่า Retno ได้ส่งข้อเสนอแนะจำนวนมากจากรัฐบาลอินโดนีเซียเกี่ยวกับการคุ้มครองประชาชนทุกคนในรัฐยะไข่

“อินโดนีเซียจะเสนอข้อเสนอบางอย่าง และรวมถึงการปกป้องประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่” เขากล่าว

ก่อนเดินทางกลับ Retno จะพบหารือกับรัฐมนตรีบางคนของพม่า เขาจะหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่อินโดนีเซียจะมอบให้แก่ชาวโรฮิงญาในระหว่างการประชุม

“ฉันจะได้พบกับที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ประจำสำนักงานประธานาธิบดี ซึ่งฉันจะหารือรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเสนอของอินโดนีเซียรวมถึงวิธีที่อินโดนีเซียจะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่รัฐยะไข่” Retno กล่าว

ขณะที่ medanbisnisdaily รายงานว่า อินโดนีเซียไม่เพียงแต่ส่งรัฐมนตรีต่างประเทศเดินทางมายังประเทศพม่าเท่านั้น แต่อินโดนีเซียก็พยายามช่วยเหลือชาวโรฮิงญาผ่านช่องทางอื่น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ติดต่อกับเลขาธิการสหประชาชาติอันโตนิโอ กูเทอร์เทสกล่าวถึงวิกฤติด้านมนุษยธรรมที่เกิดกับกลุ่มโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ของพม่า

Retno และ Guterres หารือเกี่ยวกับชาวโรฮิงญาทางโทรศัพท์คืนวันศุกร์ (1 กันยายน) ทั้งสองพูดเป็นเวลา 16 นาที Guterres หวัง Retno ยังคงมีบทบาทในการแก้ปัญหาความรุนแรงในรัฐยะไข่

“เลขาธิการตระหนักถึงบทบาทของอินโดนีเซีย และคาดว่าอินโดนีเซียจะมีบทบาทต่อไปในการช่วยแก้วิกฤติด้านมนุษยธรรมในรัฐยะไข่” Retno กล่าวก่อนหน้านี้

Retno และ Guterres แสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านมนุษยธรรม Retno ได้เรียกร้องให้รัฐบาลพม่ายุติการใช้ความรุนแรงทั้งหมด และต้องให้ความคุ้มครองแก่ทุกคน

“ฉัน และเลขาธิการสหประชาชาติให้การสนับสนุนรายงานของนายโคฟีอันอันนัน (อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ) และหวังว่าข้อเสนอแนะของอันนันจะสามารถนำไปปฏิบัติได้” เขากล่าว

นอกจากนี้ความขัดแย้งด้านมนุษยธรรมในพม่ายังเป็นจุดสนใจในที่ประชุมรัฐสภาโลก รองประธานสภาผู้แทนราษฎร Taufik Kurniawan กล่าวว่าจะนำปัญหาปัญหาความรุนแรงในรัฐยะไข่ของพม่าเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาโลก

เมื่อวันพุธที่ผ่านมาสภาผู้แทนราษฎรจะเดินทางไปที่บาหลีเพื่อเข้าร่วมการประชุม “รัฐสภาโลก” ที่มีสมาชิก 47 ประเทศรวมทั้งพม่า “สภาผู้แทนราษฎรจะใช้การทูตของรัฐสภาเพื่อให้คำแนะนำในประเด็นดังกล่าว “Taufik กล่าวในวันจันทร์ (4 กันยายน)

หนึ่งในคำแนะนำที่สภาฯ จะเสนอคือการประเด็นรางวัลโนเบลของนางซูจี เพราะนางได้รับรางวัลโนเบล แต่ดูเหมือนว่านางได้ปล่อยปะละเลยต่อประเด็นความรุนแรงต่อชาวโรฮิงญา

ซูจี ไม่ใช่ประธานาธิบดีพม่า แต่เขาเป็นผู้นำที่แท้จริงของพม่า ซูจีดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเขายังเป็นประมุขของประเทศในตำแหน่งประธานที่ปรึกษาแห่งรัฐด้วย

นอกจากการเดินทางเยือนพม่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียจะเดินทางไปบังคลาเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่อยู่ในบังคลาเทศ

“เราหวังว่าในสัปดาห์นี้เราจะส่งอาหารและการช่วยเหลือทางการแพทย์ เราหวังว่าความรุนแรง และวิกฤติด้านมนุษยธรรมนี้จะต้องยุติลงในเร็ว ๆ นี้” ประธานาธิบดีโจโควี ของอินโดนีเซียกล่าวในวันอาทิตย์ (3 กันยายน)

ความคิดเห็น

comments