พม่าจัดหนักตายทะลุพัน ปั้นข่าวเท็จป้ายสีชาวโรฮิงญา

อาจจะมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,000 คนในพม่าซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา สูงกว่าตัวเลขที่รัฐบาลพม่าเปิดเผยกว่า 2 เท่า ตามการเปิดเผยของผู้แทนอาวุโสของสหประชาชาติกับ AFP พร้อมเรียกร้องให้นางอองซาน ซูจี เจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ ในฐานะผู้ปกครองพม่า “พูดความจริง” ตั้งคำถามแรงพม่ากล่าวหาโรฮิงญาเผาบ้านตัวเองแล้วหนี ทั้งที่กำลังถูกไล่ฆ่า และฝนตกอากาศเปียกชื้น ทำได้หรือ? ย้ำชาวโลกอย่าจำภาพเก่าซูจีนักสู้เพื่อสันติภาพ ชี้เธอเป็นนักการเมืองทำทุกอย่างได้เพื่อตำแหน่งทางการเมือง

ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา 270,000 คนส่วนใหญ่เป็นพลเรือนชาวโรฮิงญาหนีไปยังประเทศบังกลาเทศอยู่ในค่ายที่สร้างขึ้นชั่วคราวที่ตะเข็บชายแดน

ตามรายงานของพม่าผู้เสียชีวิตจำนวนมากเกิดจากการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายชาวโรฮิงญาที่โจมตีพร้อมกัน 31 จุดในวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา จนทำให้ทหารพม่าต้องปราบปรามอย่างรุนแรงในพื้นที่

แต่ Yanghee Lee ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในพม่ากล่าวว่า บนพื้นฐานของข้อมูลปากคำของพยานในพื้นที่ และการดำเนินการปราบปรามอย่างรุนแรง อาจมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 1,000 คนแล้ว

“ผู้เสียชีวิตอาจมีทั้งสองฝ่าย แต่เกือบทั้งหมดเป็นชาวโรฮิงญา” Yanghee Lee กล่าว

ชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่ในพม่า แต่พม่าปฎิเสธสิทธิการเป็นพลเมืองของชาวโรฮิงญา โดยกล่าวหาว่าพวกเขาเป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ แม้ว่าพวกเขาจะอาศัยอยู่ในแผ่นที่ที่ปัจจุบันถูกเรียกว่ายะไข่มาหลายชั่วอายุคนแล้วก็ตาม

ตัวเลขจากการประเมินของผู้แทนพิเศษสหประชาชาติสูงกว่าตัวเลขของทางการพม่าที่อ้างว่ามีผู้เสียชีวิต 432 คน โดยพม่าระบุว่า 286 คนที่เสียชีวิตคือกลุ่มก่อการร้ายโรฮิงญา ขณะที่ 15 คนเป็นเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจพม่า

นอกจากนี้การเปิดเผยของทางการพม่าเมื่อวันพุธที่(6 กันยายน)ผ่านมา ระบุว่ามีบ้านเรือนของชาวโรฮิงญา 6,600 หลัง และบ้านเรือนของผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม 201 คน ถูกเผานับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา

นอกจากนี้ทางการพม่ายังเปิดเผยอีกว่ามีพลเรือนเสียชีวิตจากการสู้รบ 30 คน โดย 7 คนเป็นชาวโรฮิงญา, 7 คนเป็นชาวฮินดู และอีก 16 คนเป็นชาวยะไข่

แต่ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติบอกกับ AFP ว่า “เป็นไปได้สูงมาก” รัฐบาลได้ “ประเมินตัวเลขต่ำเกินไป”

“สิ่งที่ร้ายแรงคือเราไม่สามารถยืนยันตัวเลขดังกล่าวได้ เนื่องจากเราไม่มีสิทธิ์เข้าตรวจสอบในพื้นที่”

ผู้แทนพิเศษสหประชชาติยังได้ตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับข้อกล่าวของของทางการพม่าที่กล่าวหาว่าชาวโรฮิงญาเผาบ้านตัวเอง แต่หมู่บ้านชาวพุทธที่อยู่ติดกันกลับไม่ถูกเผา และการเผาเกิดขึ้นในช่วงที่ฝนตก

“ถ้ามีคนถือปืนเข้ามา และคุณกำลังต้องวิ่งหนี ในสภาพพื้นที่ที่ฝนตกเปียกชื้น แล้วคุณจะมีเวลากลับมาเผาบ้านตัวเองอย่างไร???” ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติตั้งคำถาม

ในการให้สัมภาษณ์ที่ Sungkyunkwan University ในกรุงโซลซึ่งเธอทำงานเป็นศาสตราจารย์ภาควิชาจิตวิทยาและการศึกษาเด็กเธอบอก AFP ว่าเธอกลัวว่า “จะเป็นมหันตภัยร้ายร้ายแรงที่สุดในโลก และพม่าในช่วงหลายกี่ปีที่ผ่านมา”

ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพของพม่านางอองซาน ซูจีซึ่งใช้เวลาหลายปีในการถูกกักบริเวณในบ้านในช่วงที่พม่าปกครองด้วยระบบระบอบเผด็จการทหาร ปัจจุบันเธอเป็นผู้นำของประเทศในตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐที่มีอำนาจเหนือประธานาธิบดี

แต่เธอไม่สามารถพูดถึงความรุนแรงนี้ได้จนทำให้ชื่อเสียงระดับโลกของเธอเสียไป

กลุ่มสิทธินักเคลื่อนไหว – รวมถึงหลาย ๆ คนที่เคยเรียกร้องเสรีภาพให้เธอในอดีต – และเพื่อนร่วมรางวัลโนเบลของเธออย่าง Malala Yousafzai และอาร์คบิชอป Desmond Tutu ได้กล่าวถึงเธอในปฎิบัติการดังกล่าวว่า

“เธอต้องการที่จะลุกขึ้น” ลีกล่าว และเรียกร้องถึงอองซาน ซูจีให้ “แสดงให้โลกเห็นสิ่งที่เธอได้ต่อสู้เพื่อบรรลุเป้าหมายคือพม่าที่เป็นอิสระ และเป็นประชาธิปไตย”

“เธอต้องแสดงให้เห็นความเมตตาต่อผู้คนในพม่ามากขึ้น”

ซูจีได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1991 โดยคณะกรรมการโนเบลกล่าวว่า “มีความจำเป็นในการประนีประนอมระหว่างภูมิภาคที่เต็มไปด้วยการแบ่งแยกอย่างรวดเร็ว และความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศของเธอ”

แต่เมื่อต้นสัปดาห์นี้ในแถลงการณ์ครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดความรุนแรงขึ้น ซูจี อายุ 72 ปีกล่าวประณามการนำเสนอข้อมูลเหตุรุนแรงในยะไข่ว่า “มันเป็นยอดภูเขาน้ำแข็งที่ข้อมูลขนาดใหญ่ไม่ถูกต้อง” โดยไม่กล่าวถึงชาวโรฮิงญาที่เดินทางหนีตายไปยังบังกลาเทศ

ในจดหมายที่บาทหลวง Tutu ส่งถึงซูจีว่าถึง “น้องสาวที่รักอย่างสุดซึ้ง” “ภาพที่เราเห็นในความทุกข์ทรมานของชาวโรฮิงญาทำให้เราเจ็บปวดและกลัว”

“มันไม่เหมาะสำหรับสัญลักษณ์ของความชอบธรรมในการเป็นผู้นำประเทศดังกล่าว; มันเพิ่มความเจ็บปวดของเรา” เขากล่าวเสริม

“ถ้าราคาทางการเมืองของการขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในพม่าคือความเงียบของคุณ มันเป็นราคาแพงเกินไป” บาทหลวง Tutu ระบุ

ภายใต้รางวัลรางวัลโนเบลสถานะที่ไม่สามารถเพิกถอนได้ แต่ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติกล่าวว่าบทบาทของผู้ได้รับรางวัลแสดงให้เห็นว่า “สถานการณ์ร้ายแรงนี้เป็นอย่างไร”

ทหารพม่าภายใต้การควบคุมของพลเอก อาวุโส มิน ออง ลาย ในฐานนะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า เธอ(ซูจี)ควรจะพูดและพยายามโน้มน้าวให้เขายุติความรุนแรง นี่คือจุดในความเป็นผู้นำที่เธอควรทำ

Yanghee Lee ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติ ยังระบุอีกว่าประมาณร้อยละ 86 ของประชากรพม่าเป็นชาวพุทธ

“สิ่งที่เราลืมไปก็คือเธอเป็นนักการเมือง ที่ผ่านมาคนคาดหวังให้เธอมีเสียงศีลธรรมอันสูงส่ง แต่เธอเป็นนักการเมืองและอะไรคือเป้าหมายที่สำคัญที่สุดถ้าคุณเป็นนักการเมือง? การได้รับการเลือกตั้งไง”ผู้แทนสหประชาชาติกล่าว

“ฉันคิดว่าเราจำเป็นต้องลบความทรงจำของเราเกี่ยวกับไอคอนประชาธิปไตยที่ถูกคุมขัง(ของซูจี)ออกไป”

ที่มา อาหรับนิวส์

ความคิดเห็น

comments