ให้แล้วเอาคืนไม่ได้ สถาบันโนเบลแจงหลังทั่วโลกล่าชื่อให้เรียกจากซูจี

องค์กรที่กำกับดูแลการพิจารณารางวัลโนเบลสันติภาพระบุว่า รางวัลที่มอบให้กับนางอองซานซูจีในปี 2534 นั้นไม่สามารถเรียกคืนได้

หัวหน้าสถาบันโนเบลออกมากล่าวว่า ไม่ว่าจะด้วยความประสงค์ของผู้ก่อตั้งรางวัล คือนายอัลเฟรด โนเบล หรือกฎระเบียบของมูลนิธิโนเบล ต่างไม่ได้บัญญัติถึงความเป็นไปได้ที่จะเพิกถอนเกียรติจากผู้ที่ได้รับรางวัลนั้นแล้ว

“เป็นไปไม่ได้ที่จะเพิกถอนรางวัลโนเบลสันติภาพของเขาหรือเธอคืนเมื่อได้รับไปแล้ว ไม่มีคณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัลทั้งที่สต็อกโฮล์มหรือออสโลพิจารณายกเลิกรางวัลหลังจากรางวัลถูกมอบไปแล้ว” หัวหน้าสถาบันโนเบล ในนอร์เวย์ กล่าว

การร้องเรียนออนไลน์บนเว็บไซต์ Change.org ที่มีการร่วมลงชื่อจากทั่วโลกเพื่อเรียกร้องให้สถาบันเรียกคืนรางวัลโนเบลสันติภาพของนางอองซานซูจี เนื่องจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชนกลุ่มน้อยโรฮิงญาในรัฐยะไข่ของพม่า มีผู้ร่วมลงนามมากกว่า 386,000 คน ในเวลาไม่กี่วัน

ซูจีได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพจากการต่อสู้โดยไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนขณะอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหาร และซูจีได้กลายเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของพม่า หลังนำพรรค NLD ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อปี 2558

ขณะที่เพื่อนร่วมรางวัลโนเบลของเธออย่าง Malala Yousafzai และอาร์คบิชอป Desmond Tutu ได้กล่าวถึงเธอในปฎิบัติการกวาดล้างชาวโรฮิงญาของทหารพม่าว่า

“เธอต้องการที่จะลุกขึ้น” ลีกล่าว และเรียกร้องถึงอองซาน ซูจีให้ “แสดงให้โลกเห็นสิ่งที่เธอได้ต่อสู้เพื่อบรรลุเป้าหมายคือพม่าที่เป็นอิสระ และเป็นประชาธิปไตย”

“เธอต้องแสดงให้เห็นความเมตตาต่อผู้คนในพม่ามากขึ้น”

ซูจีได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1991 โดยคณะกรรมการโนเบลกล่าวว่า “มีความจำเป็นในการประนีประนอมระหว่างภูมิภาคที่เต็มไปด้วยการแบ่งแยกอย่างรวดเร็ว และความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศของเธอ”

แต่เมื่อต้นสัปดาห์นี้ในแถลงการณ์ครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดความรุนแรงขึ้น ซูจี อายุ 72 ปีกล่าวประณามการนำเสนอข้อมูลเหตุรุนแรงในยะไข่ว่า “มันเป็นยอดภูเขาน้ำแข็งที่ข้อมูลขนาดใหญ่ไม่ถูกต้อง” โดยไม่กล่าวถึงชาวโรฮิงญาที่เดินทางหนีตายไปยังบังกลาเทศ

ในจดหมายที่บาทหลวง Tutu ส่งถึงซูจีว่าถึง “น้องสาวที่รักอย่างสุดซึ้ง” “ภาพที่เราเห็นในความทุกข์ทรมานของชาวโรฮิงญาทำให้เราเจ็บปวดและกลัว”

“มันไม่เหมาะสำหรับสัญลักษณ์ของความชอบธรรมในการเป็นผู้นำประเทศดังกล่าว; มันเพิ่มความเจ็บปวดของเรา” เขากล่าวเสริม

“ถ้าราคาทางการเมืองของการขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดในพม่าคือความเงียบของคุณ มันเป็นราคาแพงเกินไป” บาทหลวง Tutu ระบุ

ด้าน Yanghee Lee ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติ ออกมากล่าวอย่างผิดหวังในบทบาทผู้นำพม่าของซูจีในประเทศที่มีประชากรประมาณร้อยละ 86 ของประชากรพม่าเป็นชาวพุทธ

“สิ่งที่เราลืมไปก็คือเธอเป็นนักการเมือง ที่ผ่านมาคนคาดหวังให้เธอมีเสียงศีลธรรมอันสูงส่ง แต่เธอเป็นนักการเมืองและอะไรคือเป้าหมายที่สำคัญที่สุดถ้าคุณเป็นนักการเมือง? การได้รับการเลือกตั้งไง” ผู้แทนสหประชาชาติกล่าว

“ฉันคิดว่าเราจำเป็นต้องลบความทรงจำของเราเกี่ยวกับไอคอนประชาธิปไตยที่ถูกคุมขัง(ของซูจี)ออกไป”

ความคิดเห็น

comments