กลุ่มสิทธิฯยัน พม่าวางกับระเบิดดักโรฮิงญาชายแดนบังกลาเทศ

องค์การแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลอินโดนีเซียกล่าวเมื่อวันเสาร์ที่(9 กันยายน)ผ่านมาว่าทหารพม่าได้วางกับระเบิดติดขัดกับชายแดนบังคลาเทศเพื่อป้องกันชาวโรฮิงญเดินทางกลับเข้าประเทศอีกครั้ง พบชาวโรฮิงญาเหยียบระเบิดไปแล้ว 4 ลูก

“การใช้กับระเบิดสังหารบุคคลของทหารพม่าที่พรมแดนรัฐยะไข่ติดบังกลาเทศ เป็นการยืนยันชัดเจนถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงในพม่า” กลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวในแถลงการณ์

การค้นพบข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้นบนพื้นฐานการสอบสวนโดยทีมงานตอบสนองต่อภาวะวิกฤตของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลซึ่งกำลังรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ชายแดนพม่าและบังคลาเทศ

รายงานกังดล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่สื่อที่สนับสนุนรัฐบาลรายงานว่ารัฐบาลจะจัดตั้งค่ายผู้อพยพ 3 แห่งในรัฐยะไข่ ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 16 วันที่ที่รัฐบาลประกาศจัดตั้งค่ายเพื่อช่วยเหลือชาวโรฮิงญาที่กำลังหนีตายออกนอกประเทศ

ชาวโรฮิงญาประมาณ 294,000 คนหนีตายเข้าไปในฝั่งบังกลาเทศนับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม โดยอยู่อย่างแออัดในฝั่งบังกลาเทศ อยู่อย่างหิวโหย และอ่อนล้า

ผู้อพยพชาวโรฮิงญากล่าวว่าทหารพม่าโจมตี ทำให้พวกเขาหนีไปอยู่บนเนินเข้า ไม่มีน้ำ อาหาร ที่พัก และยารักษาโรค

ความรุนแรงครั้งล่าสุดปะทุขึ้นในรัฐยะไข่เมื่อเกือบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อหน่วยรักษาความปลอดภัยได้ออกปฏิบัติการต่อต้านชาวโรฮิงญา

บังคลาเทศซึ่งเป็นเจ้าภาพดูแลชาวโรฮิงญาอยู่แล้วประมาณ 400,000 คน แต่เวลานี้กำลังต้องเผชิญหน้ากับการไหลบ่าเข้ามาของผู้ลี้ภัยรอบใหม่นับตั้งแต่ปฎิบัตการทางทหารของพม่า

Tirana Hassan ผู้อำนวยการทีมตอบโต้ในภาวะวิกฤตของกลุ่มแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่ากับระเบิดถูกวางไว้ใกล้กับ Taung Pyo Wal ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เรียกว่า Tumbro ที่ชายแดนของยะไข่ และบังกลาเทศ

“เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในประเทศพม่าต้องรีบยกเลิกการปฏิบัติที่ชั่วร้ายผู้ที่หลบหนีความรุนแรงจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เหล่านี้” ฮัสซันกล่าว

“พม่าควรยินยอมให้องค์กรด้านมนุษยธรรมได้เข้าถึงพื้นที่ได้อย่างเต็มที่รวมทั้งทีมงานเก็บกู้วัตถุระเบิดเพื่อเข้าสู่จังหวัดยะไข่” เธอกล่าวเสริม

ฮัสซันกล่าวว่าเหมืองดังกล่าวกับระเบิดเหล่านี้ถูกห้ามใช้ในระดับสากล

อย่างไรก็ตามกองทัพพม่าเป็นหนึ่งในประเทศจำนวนน้อยของโลกรวมถึงเกาหลีเหนือ และซีเรียซึ่งยังคงใช้กับระเบิดสังหารบุคคลเป็นอาวุธยุทธศาสตร์ในสงคราม

Kalma วัย 20 ปีบอกกับแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลว่าแม่ของเธอเสียชีวิตเพราะระเบิด

“แม่สามีของฉันกลับไปที่หมู่บ้านของเรา [จากค่ายผู้ลี้ภัย] เพื่อเอาน้ำติดตัวมาด้วย แต่เพียง 2-3 นาที ฉันได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้นอย่างระนแรง และมีคนเหยียบที่กับระเบิดนั่นคือแม่สามีของฉันเอง” เธอกล่าว

แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลยังได้รับหลักฐานเป็นภาพถ่ายซึ่งเผยให้เห็นกับระเบิดที่อยู่ในระยะไม่ไกล

ระเบิดที่เกิดขึ้น 4 ครั้้งในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา บนพื้นที่อพยพที่วุ่นวายกับชาวโรฮิงญาที่หนีตายในเมืองเล็ก ๆ ใกล้กับชายแดนพม่า โดยล่าสุดระเบิดได้ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 3 คนรวมทั้งเด็ก 2 คน

สัปดาห์ก่อนหน้านี้รัฐบาลพม่าปฏิเสธรายงานของสื่อที่กล่าวหาว่าทหารพม่าเป็นผู้วางกับระเบิดสังหารบุลคลที่สกัดไม่ให้ชาวโรฮิงญากลับเข้าพม่าอีก

องค์การแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้ทุกประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา สมาชิกสหภาพยุโรป อิสราเอล ออสเตรเลีย และรัสเซียยุติความร่วมมือทางทหารกับพม่า

ต่างจากประเทศอื่น ๆ เช่นตุรกีที่มีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือ และเป็นแกนนำในการปกป้องสิทธิของชาวมุสลิมชาวโรฮิงญา นอกจากนี้ประธานาธิบดีรอยับ ตอยยิบ ออโดกันยังได้หารือทางโทรศัพท์กับนางอองซาน ซูจีผู้นำพม่าเพื่อแสดงความกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เพิ่มขึ้นในรัฐยะไข่

โดยตุรกียังได้เสนอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวโรฮิงญา โดยมีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือชาวโรฮิงญา 100,000 คน ขณะที่เมื่อวันพฤหัสบดีที่(7 กันยายน)ผ่านมา สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของตุรกี นาง Emine Erdoğan และคณะผู้แทนจากเจ้าหน้าที่องค์กรทางการเมือง และองค์กรเอกชนร่วมเดินทางไปบังคลาเทศเพื่อเยี่ยมเยียนผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในค่ายที่เมือง Cox Bazaar ในบังกลาเทศ

ขณะที่เมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมาหลังจากการโจมตีชายแดนในเขต Maungdaw ของยะไข่ กองกำลังรักษาความปลอดภัยของพม่าได้ออกมาตรการปราบปรามอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 เดือนในพื้นที่ ซึ่งตามรายงานของกลุ่มชาวโรฮิงญาระบุว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 400 คน

สหประชาชาติแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ในปฎิบัติการทางทหารของพม่า ที่มีการระบุว่ามีการข่มขืน ฆาตกรรม ทารุณกรรมไม่เว้นแม้แต่ทารก และการลักพาตัวเกิดขึ้นในพื้นที่

ในรายงานของสหประชาชาติระบุว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ที่มา dailysabah

ความคิดเห็น

comments