รอมฎอนกับความทุกข์ยากของโรฮิงญา

“เมื่อคืนที่ผ่านมาฉันมีเพียงผัก และข้าวเพียงเล็กน้อยสำหรับซุโฮร(มื้อก่อนรุ่งอรุณ)” อับดุลลาตีฟ, วัย 45 ปีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในค่ายลี้ภัยในเมือง Cox’s Bazar พร้อมกับภรรยา และลูกสามคน และแม่ของเขา

“ผมไม่สามารถแม้แต่จะให้อาหารที่ดีสำหรับลูกชายวัย 12 ขวบของผม”

ความทุกข์ยากของอับดุลลาตีฟ เป็นเรื่องปกติธรรมดาในค่ายผู้ลี้ภัยซึ่งมีชาวโรฮิงญาราว 1.3 ล้านคน ที่หนีตายจากการปราบปรามทางทหารที่รุนแรงจากทหารพม่า

เมื่อนึกถึงรอมฎอนในบ้านเกิดที่ยะไข่บนชายฝั่งตะวันตกของพม่า อับดุลลาตีฟ กล่าวว่า “ผมสามารถหาอาหารที่ดีสำหรับครอบครัว 6 คนที่บ้านเกิดในยะไข่ เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเราในฐานะชาวมุสลิม ”

อับดุลลาตีฟ ซึ่งเป็นชาวนาที่ร่ำรวยใน Mongdu เขาบริจาคเงินจำนวนมากเป็นประจำทุกปีในช่วงรอมฎอน

ตอนนี้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในบ้านเกิด ทำให้เขาต้องกลายเป็นหนึ่งในผู้ที่ต้องอยู่โดยอาศัยเงินบริจาคของผู้อื่น เขากล่าวกับอาหรับนิวส์

“ผมไม่ต่างอะไรไปจากขอทานที่บังคลาเทศ” เขากล่าว

ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาถูกห้ามไม่ให้ทำงาน ดังนั้นจึงต้องพึ่งพาองค์กรการกุศล และการช่วยเหลือเท่านั้น

การขาดอาหาร สภาพความเป็นอยู่ที่เข้มงวด และการต้องปรุงอาหารด้วยฟืนทำให้ชาวโรฮิงญาไม่สามารถประกอบอาหารตามปกติในบ้านเพื่อใช้สำหรับละศีลอดได้

Marium วัย 35 ปี บอกว่าเธอไม่สามารถหาอาหารได้ในช่วงวันแรกของเดือนรอมฎอน

“ที่นี่เราอยู่กับความขาดแคลนฟืน ส่วนใหญ่ฉันปรุงอาหารเพียงวันละครั้ง และต้องเตรียมข้าวเพียงพอสำหรับมื้ออาหารสองมื้อต่อวัน”เธอกล่าว

แต่ฤดูร้อนนี้เธอไม่สามารถจัดเก็บข้าวสวยได้นาน และมีเพียงน้ำ 1 แก้วสำหรับอาหารซุโฮรของเธอ

สามีของเธอถูกยิง และถูกสังหารโดยกองกำลังพม่าเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาทำให้เธอต้องหนีตายมายังบังคลาเทศพร้อมกับลูกชายสองคน และลูกสาว 1 คนของเธอ

“เมื่อ Eid-ul-Fitr ปีที่ผ่านมาสามีของฉันซื้อเสื้อผ้าใหม่สำหรับทุกคนในครอบครัว เรายังมอบเสื้อผ้าใหม่ให้กับญาติ ๆ อีกด้วย”เธอกล่าว

ความคิดเห็น

comments