รอยเตอร์ชี้ “ดีดีบินไทย”ตั้งเป้าขายทรัพย์สินกลบขาดทุนปี 2015” หลังก่อหนี้สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จรัมพร โชติกเสถียร ผู้อำนวยการใหญ่การบินไทยให้สัมภาษณ์พิเศษกับรอยเตอร์ ถึงแผนการขายทรัพย์สินของบริษัทในส่วนที่ไม่สำคัญเช่น หุ้นในนกแอร์ รวมถึงบ.เชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ โรงแรม และที่ดิน ราว 15.5 พันล้านบาท (318.95 ล้านปอนด์) เพื่อชดเชยกับการขาดทุนที่จะเกิดในปี 2015 รวมไปถึงการยกเลิกเส้นทางการบิน และเลิกจ้างพนักงาน หลังจากถูกจัดอันดับจากทอมสันส์ รอยเตอร์ว่า สายการบินไทยแอร์เวยสมีหนี้สินร่วม 5.9 พันลานดอลลาร์ สูงที่สุดในบรรดาสายการบินในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หลังจากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลงต่ำอย่างหนักสามารถช่วยพยุงสายการบินแห่งชาติ “ไทยแอร์เวย์ส” ไว้ได้ราว 16 พันล้านบาทในปี 2015 และเป็นครั้งแรกที่ทางปบริษัทสามารถกลับทำให้ผลประกอบการมีกำไรนับตั้งแต่ปี 2012 จรัมพร โชติกเสถียร ผู้อำนวยการใหญ่การบินไทยให้สัมภาษณ์พิเศษกับรอยเตอร์ในวันศุกร์(6)ว่า แต่ทว่าการที่สามารถกลับมาทำกำไรได้นั้นยังไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมต่อการปรับโครงสร้าง “เราถือหุ้นในบริษัทอื่น เรามีที่ดิน และโรงแรม ซึ่งเราอาจขายในส่วนนี้ได้หากเราต้องการ” จรัมพรที่ก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งดีดีการบินไทยในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ความเห็น

รอยเตอร์ชี้ว่า บริษัทการบินไทยถือเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐแห่งแรกของไทยที่ต้องเข้ารับการปรับโครงสร้างองค์กรนับตั้งแต่เกิดรัฐประหารในปี 2014 ซึ่งที่ผ่านมาไทยแอร์เวย์สต้องประสบปัญหาขาดทุนจากผลประกอบการติดต่อกันถึง 7 ไตรมาสเนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น การแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินที่ดุเดือด และรวมไปถึงความซบเซาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเนื่องมาจากความไม่สงบทางการเมือง

นอกจากนี้ จากการจัดลำดับของทอมสันส์ รอยเตอร์ พบว่า การบินไทยถือเป็นสายการบินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีหนี้สูงสุดถึง 5.9 พันลานดอลลาร์

โดยพบว่า ทรัพย์สินบริษัทในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบินที่สามารถนำออกมาขายได้รวมไปถึง หุ้น 39% ของบริษัทสายการบินต้นทุนต่ำ “นกแอร์” และหุ้นอีกราว 23 % ของบริษัทเชื้อเพลิงการบิน “บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด” นอกจากนี้จรัมพรยังตั้งเป้าลดค่าใช้จ่ายและความสามารถลงราว 20% และการบินไทยยังมีแผนที่จะขายเครื่องบินออกไปเพื่อลดขนาดฝูงบินเหลือแค่ 77 ลำ จากทั้งหมดที่มีราว 101 ลำภายในสิ้นปีนี้ และอาจต้องเผชิญกับประสบภาวะด้อยค่าของสินทรัพย์(impairment charge)แต่ผู้อำนวยการใหญ่การบินไทยปฎิเสธที่จะระบุตัวเลขที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

และโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดจะถูกนำมาใช้ ที่จรัมพรคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายราว 5 พันล้านบาทในปี 2015

รอยเตอร์รายงานเพิ่มเติมว่า ไทยแอร์เวย์สมีแผนที่จะเลิกการใชครื่องบินบางรุ่นรวมไปถึง แอร์บัส340s โบอิง747s และเครื่องบิน 8 ลำจากฝูงบินดรีมไลเนอร์จากทั้งหมด 11 ลำ ซึ่งจรัมพรยืนยันว่าจะสามารถประหยัดได้ถึง 6% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

การบินไทยยังทำการยกเลิกเส้นทางการบินบางเส้นทางที่ไม่ทำกำไรตลอดทั้งปีนี้ แต่จะกำหนดเครื่องบินใหม่เข้าประจำการในเส้นทางที่ยังเปิดให้บริการเพื่อทำให้มั่นใจว่า ในเที่ยวบินนั้นจะมีผู้โดยสารเต็มเครื่อง โดยตั้งเป้า 80% ในปี 2015 จาก 68.9% ในปี 2014

ดีดีการบินไทยยืนยันต่อว่า ผลประกอบการทางการเงินจะดีขึ้นจากการตัดค่าใช้จ่ายในปี 2016 และจะเห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดการบริหารในบริษัทการบินไทยตามมามากขึ้นในปีนี้ นอกจากนี้ 3 ใน 9 ของสมาชิกบอร์ดบริหารจะเกษียณอายุใน 2015 และทางบริษัทกำลังมองหาหัวหน้าการเงินคนใหม่

ไทยแอร์เวย์สอาจไปตลาดหลักทรัพย์เพื่อหาทุนเพิ่มหลังจากทำให้ผลประกอบการ 2 ไตรมาสติดกลับมามีกำไร แต่ทว่าจรัมพรยืนยันว่า บริษัทจะยังไม่เพิ่มทุน (recapitalise) จนกระทั่งการปรับโครงสร้างเสร็จสิ้นแล้ว และชี้ว่า การเปลี่ยนรัฐบาลใหม่จะไม่มีผลกระทบต่อแผนงานที่วางไว้ ซึ่งรัฐบาลรักษาการที่มาจากการรัฐประหารประกาศจะให้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในช่วงต้นปี 2016 “ไม่ว่ารัฐบาลไหนมาก็ต้องทำวิธีนี้ เพราะไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว มันจะดีกว่ามากที่จะปล่อยให้เราฟื้นตัว หลังการฟื้นตัวไปแล้ว” จรวยพรให้ความเห็นกับรอยเตอร์ในตอนสุดท้าย

ความคิดเห็น

comments

ใส่ความเห็น