พม่าอ้างพร้อมช่วยผู้อพยพทางเรือหลังถูกนานาชาติกดดันหนัก

พม่าระบุวันนี้ (20) ว่า พร้อมที่จะจัดหาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้แก่มนุษย์เรือ แต่ไม่มีความชัดเจนว่าจะช่วยอย่างไร ขณะที่พรรคฝ่ายค้านบอกพวกเขาเป็นมนุษย์ ควรได้รับสิทธิฯ ด้านซูจี หัวหน้าฝ่ายค้านปิดปากเงียบกลัวกระทบคะแนนเสียง

กระทรวงการต่างประเทศ ได้ออกคำแถลงฉบับหนึ่งที่มีเนื้อสาระสำคัญ 5 ข้อ ความยาวหนึ่งหน้ากระดาษ ตีพิมพ์เผยแพร่ในหน้า 1 หนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไล้ท์ออฟเมียนมาร์ ฉบับวางจำหน่ายวันพุธ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา ตอกย้ำ “ความห่วงใย” ร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศของพม่า เกี่ยวกับปัญหาคนอพยพในทะเลอันดามันกับช่องแคบมะละกา และได้ติดตามเรื่องนี้โดยใกล้ชิด และยังแสดงความห่วงใยต่อ “ความทนทุกข์ และชะตากรรมที่เสี่ยงต่อชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์”

d6355แต่ในขณะเดียวกัน ก็ระบุในคำแถลงด้วยจุดยืนเดิมว่า คนเหล่านั้นตกเป็นเหยื่อของการลักลอบขนคน และการอพยพอย่างผิดกฎหมายในภูมิภาค

คำแถลงของพม่าในวันพุธนี้อ้างว่า ได้ทำงานอยู่เบื้องหลังตลอดมาในการหาทางป้องกันการลักลอบ และการอพยพอย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งการลาดตระเวนในน่านน้ำของตนเป็นประจำ ทั้งทางเรือ และทางอากาศ เพื่อป้องปรามมิให้มีการเดินทางผ่าน แต่หากเกิดมีขึ้นก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ล่วงล้ำ รวมทั้งอำนวยความปลอดภัยให้แก่บุคคลเหล่านั้นขณะอยู่ในทะเล

“ปัจจุบันได้มีการดำเนินหลายมาตรการเพื่อป้องกันการลักลอบขนคน และการอพยพโยกย้ายอย่างผิดกฎหมายในขอบเขตทั่วประเทศ เช่นเดียวกันกับรัฐบาลท้องถิ่นรัฐระไค (Rakhine/ยะไข่) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ต่างก็กำลังดำเนินการอย่างขยันขันแข็ง ในการป้องกันการอพยพผิดกฎหมายทางทะเล” กระทรวงการต่างประเทศในกรุงเนปีดอระบุในข้อหนึ่งของคำแถลง

“พม่าได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ต่อบรรดาประเทศในภูมิภาค ผ่านกลไกระดับภูมิภาค รวมทั้งกระบวนการข้อตกลงบาหลี (Bali Process) เกี่ยวกับการลักลอบขนประชาชน การค้าบุคคล และอาชญากรรมที่เกี่ยวข้อง พม่าเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะทำงานร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศ บนพื้นฐานมนุษยธรรม เพื่อขจัดความทุกข์ยากของเหยื่อของการลักลอบ” คำแถลงระบุ

ในครั้งแรกรัฐบาลพม่าปฏิเสธข้อเสนอว่า พม่าต้องรับผิดชอบบางส่วนของวิกฤต และยังปฏิเสธที่จะยืนยันว่า จะเข้าร่วมการประชุมภูมิภาคที่ไทยเป็นเจ้าภาพในวันที่ 29 พ.ค.อีกด้วย แต่ท่าทีในวันพุธ (20) ดูอ่อนลงหลังถูกกดดันจากประเทศเพื่อนบ้านของพม่า รวมทั้งจากภายในประเทศเอง

โฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) กล่าวเมื่อวันจันทร์ (18) ว่า กลุ่มมุสลิมชนกลุ่มน้อยมีสิทธิตามสิทธิมนุษยชน

“พวกเขาเป็นมนุษย์ ผมเห็นพวกเขาเป็นมนุษย์ที่มีสิทธิตามสิทธิมนุษยชน” ญาน วิน โฆษกพรรค NLD กล่าว

ขณะที่อองซานซูจี หัวหน้าพรรค NLD และเจ้าของราวัลโนเบลสันติภาพ ยังคงสงวนท่าที่หวั่นกระทบคะแนนเสียงเลือกตั้งที่จะมีขึ้นปลายปีจากฐานเสียงของกลุ่มชาวพุทธโดยเฉพาะกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อต้านชาวมุสลิม แม้ก่อนหน้านี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ต่อการไม่พูดถึงประเด็นชะตากรรมของโรฮิงญา ทั้งที่เธอเป็นผู้ได้รับราวัลโนเบลสันติภาพก็ตาม

ผู้คนมากกว่า 200 ชีวิตถูกฆ่า และอีกจำนวนหลายหมื่นคนที่ส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา ต้องไปอาศัยอยู่ในค่ายผู้ไร้ที่อยู่หลังกลุ่มชาวพุทธใช้ความรุนแรงในการเข่นฆ่า เผาโรงเรียน มัสยิด บ้านเรือนในชุมชนชาวมุสลิมนับตั้งแต่ปี 2555 โดยการอำนวยความสะดวกของทางการพม่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พม่าเริ่มสั่งรัฐบาลยะไข่สร้างงานให้โรฮิงญาสกัดค้ามนุษย์

“ดอน” กล่อม “เมียนมา” ถกแก้โรงฮิงญา พม่าลั่นพร้อมรับกลับหากพิสูจน์สัญชาติไทย

ความคิดเห็น

comments

ใส่ความเห็น