พม่าเตือนปาก UN-USA ระวังพูดโรฮิงญากระทบพม่า

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทางการพม่าออกโรงสวนคำพูดเลขาธิการสหประชาชาติ และผู้นำสหรัฐ กรณีกล่าวถึงปัญหาสิทธิของชาวโรฮิงญาในพม่า อ้างถ้ามีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จริง ชาวพุทธต่างหากที่เป็นเหยื่อ

โฆษกสภาผู้แทนราษฏรเมียนมา เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงสหประชาชาติในวันที่ 4 มิถุนายน โดยจดหมายลงนามวันที่ 3 มิถุนายน เตือนเลขาธิการสหประชาชาติ และองค์กรระหว่างประเทศ อย่า“สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเมียนมา” โดยเนื้อหาระบุว่า “ในการสื่อถึงปัญหาการลักลอบค้ามนุษย์และผู้อพยพบนเรือ เราขอความกรุณาองค์กรระดับชาติและองค์กรระหว่างประเทศใช้ความระมัดระวังอย่างสูงเพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความเข้าใจผิดต่อประเทศของเราและวิกฤตปัญหาในภูมิภาค”

“ลักษณะของแต่ละประเทศควรเป็นเรื่องที่ถูกเก็บไว้ในใจ”โฆษกคนดังกล่าวเขียน

จดหมายฉบับนี้ถูกเขียนขึ้นหลังจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จัดการประชุมลับครั้งแรกเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนในพม่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยทูตที่เข้าร่วมเปิดเผยว่านายซาอิด ราอัด อัล ฮุสเซน ระบุว่าชาวโรฮิงญากำลังเผชิญการเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบ

เลขาธิการสหประชาชาติเคยกล่าวในงานประชุมที่เวียดนามว่า“มันเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องช่วยชีวิตมนุษย์”และ“การไม่ส่งพวกเขากลับไปสู่สถานการณ์อันตราย” เองก็เป็นเรื่องสำคัญ

เมียนมาปฏิเสธที่จะร่วมรับผิดชอบต่อวิกฤตในภูมิภาคเมื่อครั้งประชุมประเด็นเรื่องการอพยพอย่างผิดปกติที่จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่29พฤษภาคมที่ผ่านมาในกรุงเทพฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเมียนมาระบุว่า “ประเด็นการอพยพอย่างผิดกฎหมายของชาวโรฮิงยานั้น พวกคุณไม่สามารถให้ประเทศผมเพียงประเทศเดียวรับผิดชอบได้ การชี้นิ้วสั่งการจะไม่ช่วยอะไร มันจะไม่พาเราไปไหน”

ด้านนายวันนะ หม่อง ลวิน รัฐมนตรีต่างประเทศพม่าบอกกับเหล่าคณะผู้แทนทูตและองค์กรนานาชาติในย่างกุ้งถึงกรณีที่ผู้นำสหรัฐที่ออกมาระบุก่อนหน้านี้ว่าพม่าจำเป็นต้องยุติเลือกปฏิบัติกับชาวโรฮิงญา หากต้องการประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ว่า “มีความพยายามวาดภาพว่าการถูกเลือกปฏิบัติและกดขี่ข่มเหงคือต้นตอที่ทำให้ประชาชนหลบหนีจากรัฐยะไข่ แต่มันไม่เป็นความจริงเลย”

ทั้งนี้เขาชี้ว่ากรณีมีชาวบังกลาเทศจำนวนมากอยู่บนเรือผู้อพยพซึ่งขึ้นฝั่งเมื่อเดือนพฤษภาคม เป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างดีว่าการไล่บ่าของ “มนษย์เรือ” นั้นเป็นปัญหาระดับภูมิภาคที่มีความเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ “เหตุการณ์นี้แสดงให้ภูมิภาคเช่นเดียวกับประชาคมนานาชาติเห็นว่ามันไม่ใช่รากเหง้าของปัญหา”

เรือดังกล่าวที่ถูกอ้างถึงนั้นถูกกองทัพเรือพม่าเข้าสกัดเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งพม่าบอกในตอนนั้นว่าคนบนเรือ 200 จากทั้งหมด 208 คนเป็นผู้อพยพทางเศรษฐกิจจากบังกลาเทศ แต่จากการตรวจสอบของรอยเตอร์พบว่าบนเรือดังกล่าวมีราวโรฮีนจาอยู่ด้วยราว 150-200 คน โดยเรือลำนี้ถูกขบวนการค้ามนุษย์ทิ้งไว้กลางทะเล ก่อนถูกพบและลากขึ้นฝั่งโดยกองทัพเรือพม่า

ซอ เอ หม่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการรัฐยะไข่ กล่าวว่าหากมีเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรัฐยะไข่ตามที่มีการกล่าวหาจริง ฝ่ายที่ถูกกระทำนั้นก็น่าจะเป็นชาวพุทธยะไข่มากกว่า “ตอนนี้เรากำลังตกอยู่ในอันตรายจากการรุกล้ำของชาวบังกลาเทศเหล่านี้” ความเห็นที่ก่่อความขุ่นเคืองแห่เอกอัคราราชทูตบังกลาเทศประจำพม่า แต่ทูตรายนี้ปฏิเสธให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว

ทั้งนี้พม่าอ้างว่าอยู่ระหว่างกระบวนการตรวจสอบถิ่นฐานของผู้อพยพ 733 คนที่กองทัพเรือนำขึ้นฝั่งเมื่อวันพุธ(3มิ.ย.) หลังจากพบเรือของพวกเขาล่องลอยอยู่กลางทะเลอันดามันในวันศุกร์ที่แล้ว โดยเจ้าหน้าที่เผยว่าเบื้องต้นพบว่าเป็นพม่าแค่ 187 คนและอีก 546 คนเป็นชาวบังกลาเทศ ขณะที่ก่อนหน้านี้พม่าสังห้ามสื่อมวลชนรายงานข่าวการจับกุมดังกล่าว และสั่งเด็ดขาดให้ลบไฟล์ทิ้ง

i-News Daily 58-06-05-324m

ความคิดเห็น

comments

ใส่ความเห็น