ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซายังคงต้องอยู่กับปัญหาวิกติด้านพลังงาน ที่ต้องอยู่กับความมืดวันละ 8-12 ชั่วโมงจากปัญหาพลังงานไฟฟ้าไม่เพียงพอ ทำให้ภาคเอกชนในฉนวนกาซาในวันนี้หันมาใช้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นทางเลือก
อาหรับนิวส์รายงานว่า พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ไม่เพียงแค่ราคาถูก เหมาะแก่การใช้งานในระยะยาวแล้ว แต่บางกรณีมันหมายถึงชีวิต
“มันไม่ใช่แค่การส่องสว่าง และการบันเทิง แต่มันคือความเป็น-ความตาย” Tamer Al-Buari วัย 41 ปีกล่าว เนื่องจากเขามีความผิดปกติที่ระบบหายใจอย่างรุนแรง ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดในเวลากลางคืน
ที่ผ่านมาเขาจะต้องใช้เงินปีละ 4,600 เหรียญสหรัฐสำหรับซื้อน้มันเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้า เพื่อช่วยอำนวยควทมสะดวกให้คนในบ้าน และใช้กับเครื่องช่วยหายใจของเขา
แต่ตอนนี้เขาลงทุน 5,000 เหรียญสหรัฐสำหรับติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่ถูกกว่าในระยะยาว
ช่วง 3-4 ปีก่อนมีชาวปาเลสไตน์เพียงไม่กี่คนที่เข้าถึงพลังงานแสงอาทิตย์เนื่องจากราคาที่สูงมาก แต่ช่วงที่ผ่านมาราคทได้ปรับลดลงมากจนกลายมาเป็นทางเลือกหนึ่งในตอนนี้
ตอนนี้ โรงเรีย, โรงพยาบาล, มัสยิด หรือแม้แต่มัสยิดเริ่มติดแผงโซลาเซลบนหลังคาของอาคารพวกเขา
Nabeel Marouf, ผู้จัดการทั่วไปของ Gaza-based Renewable Power Engineering and Contracting เปิดเผยว่าราคาค่ทติดตั้งอยู่ที่ 1,500 – 30,000 เหรียญสหรัฐขึ้นอยู่กับกำลังไฟฟ้าที่ต้องการ
ปัจจุบันฉนวนกาซาผลิตไฟฟ้าได้เองเพียง 60 เมกะวัตต์ นำเข้าจากอิยิปต์ 30 เมกะวัตต์ ส่วนอีก 120 เมกะวัตต์ต้องนำเข้าจากอิราเอล ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งานของชาวกาซาราว 2 ล้านคน ทำให้ต้องมีการสลับการจ่ายไฟแต่ละพื้นที่เป็นช่วงเวลา