อินโดนีเซียส่งเครื่องบินขับไล่และเรือรบหลายลำไปลาดตระเวนบริเวณหมู่เกาะใกล้ทะเลจีนใต้ ตามการเปิกเผยของกองทัพเมื่อวันพุธ (8 มกราคม) หลังความตรึงเครียดกับจีนเพิ่มขึ้นเมื่อเรือจีนรุกล้ำน่านฟ้า
ในวันพุธ (8) ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด ก็เดินทางไปน่านน้ำประมงรอบหมู่เกาะนาทูนาที่มีพรมแดนติดทะเลจีนใต้ ซึ่งถูกจีนอ้างสิทธิ์เกือบทั้งหมดโดยไม่สนการอ้างสิทธิจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ รวมถึงเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย
กองทัพอินโดนีเซียระบุว่า พวกเขาได้ส่งเรือรบ 8 ลำ และเครื่องบินขับไล่ 4 ลำไปก่อนการเยือนของวิโดโดเพื่อแสดงให้เห็นถึงความพยายามยืนยันอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่นี้ เรือยามชายฝั่งจีนลำหนึ่งถูกตรวจพบใกล้หมู่เกาะดังกล่าวเมื่อวันพุธ (8)
“เราส่งเรือรบไป 8 ลำ” ฟาจาร์ ตรี โรฮาดี โฆษกกองทัพเรือ เผยกับผู้สื่อข่าวเอเอฟพียืนยันกับกองทัพอากาศว่า เครื่องบินขับไล่ก็ถูกส่งไปเช่นกัน
มันเกิดขึ้นภายหลังการจัดส่งทหารราว 600 คนจากกองทัพเรือ กองทัพบก และกองทัพอากาศเมื่อวันศุกร์ (3) ไปยังเกาะนาทูนา ในขณะที่กองทัพเปิดฉากลาดตระเวนประจำเพื่อปกป้องพื้นที่นี้ เนื่องจากการปรากฏของเรือต่างชาติในน่านน้ำอินโดนีเซีย
รัฐบาลอินโดนีเซียระบุว่า พวกเขายังจะส่งชาวประมงหลายร้อยคนไปยังพื้นที่ดังกล่าวด้วยเพื่อคอยจับตาเรือต่างชาติ
ความเคลื่อนไหวนี้ออกมาหลังจากอินโดนีเซียเรียกตัวเอกอัครราชทูตจีนเข้าพบเมื่อสัปดาห์ที่แล้วและยืนหนังสือประท้วงต่อการที่เรือยามชายฝั่งจีนคุ้มครองเรือประมงจีนรอบๆ หมู่เกาะดังกล่าวเมื่อกลางเดือนธันวาคม
จีนตอบโต้ว่า พวกเขามีสิทธิตามประวัติศาสตร์ในพื้นที่นี้ และว่าเรือประมงเหล่านั้นดำเนินกิจกรรมอย่างถูกกฎหมายและมีเหตุผล
ในสัปดาห์นี้ กระทรวงการต่างประเทศของจีน ระบุว่า ข้อพิพาทดังกล่าวกำลังถูกจัดการด้วยวิธีทางการทูต
“จีนและอินโดนีเซียประสานงานกันในเรืองนี้ผ่านช่องทางการทูต” เกิง ส่วง โฆษกกระทรวง กล่าวในวันอังคาร (7) และอธิบายว่าสองประเทศเป็น “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์สมบูรณ์แบบ”
“ทั้งสองประเทศแบกรับความรับผิดชอบที่จะต้องรักษาความสงบและความมั่นคงในภูมิภาค” เขากล่าวเสริม
จีนอ้างสิทธิเหนือพื้นที่มหาศาลของทะเลจีนใต้ พร้อมสร้างสิ่งปลูกสร้างทางทหาร และเกาะเทียม และคอยขับไล่เรือประมงชาติในพื้นที่
จีนอ้างสิทธิเหนือพื้นที่เกือบทั้งหมดของเส้นทางน้ำอุดมทรัพยากรด้วยสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า เส้นประ 9 จุด ภาพลายเส้นคลุมเครือที่ยึดจากแผนที่สมัยทศวรรษ 1940 ในขณะที่สาธารณะรัฐจีนช่วงชิงหลายเกาะจากการควบคุมของญี่ปุ่น
อินโดนีเซียไม่ได้มีการอ้างสิทธิ์ในทะเลจีใต้ แต่ระบุว่าพวกเขาจะไม่ยอมให้จีน หุ้นส่วนการค้าสำคัญ รุกล้ำเข้าสู่น่านน้ำใกล้เคียง