เปิดคำฟ้องแอฟริกาใต้ชี้ชัด “อิสราเอลฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์”

แอฟริกาใต้จัดทำรายการบรรยายข้อกล่าวหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดำเนินการโดยอิสราเอล ขณะกำลังขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามอิสราเอลต่อพฤติกรรมดังกล่าวทันที

อัลญะซีเราะห์ รายงานว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ในกรุงเฮกได้จัดให้มีการพิจารณาคดีครั้งแรกเป็นเวลา 2 วันใน คดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่แอฟริกายื่นฟ้องต่ออิสราเอล เกี่ยวกับสงครามในฉนวนกาซา

แม้ว่าจะอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีซึ่งจะกินเวลาวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ แต่การทิ้งระเบิดอย่างต่อเนื่องต่อดินแดนฉนวนกาซาโดยกองกำลังอิสราเอลก็ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง โดยในวันเปิดศาลวันแรกมีชาวปาเลสไตน์มากกว่า 100 คนถูกสังหารและบาดเจ็บเกือบ 200 คน ตามข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขในฉนวนกาซา

ขณะที่ภายนอกศาล ผู้ประท้วงที่สนับสนุนปาเลสไตน์เรียกร้องให้มีการยุติปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลทันที

ต่อไปนี้เป็นประเด็นสำคัญจากการนำเสนอหลักฐานทางคดีที่ ICJ

การพิจารณาคดี เริ่มต้นด้วยการอ่านคดีของแอฟริกาที่ยื่นฟ้องต่ออิสราเอล และข้อเรียกร้องที่อิสราเอลระงับปฏิบัติการทางทหารในฉนวนกาซาทันที แอฟริกาเตือนศาลว่าชาวปาเลสไตน์มากกว่า 23,000 คนถูกสังหารไปแล้วจากการโจมตีของอิสราเอลในฉนวนกาซานับตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม

วูซิมูซี มาดอนเซลา(Vusimuzi Madonsela) เอกอัครราชทูตประจำเนเธอร์แลนด์กล่าวว่า “การยอมรับว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการอนุญาตจากรัฐอิสราเอลนั้นย่อมเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำที่ผิดกฎหมายต่อประชาชนชาวปาเลสไตน์อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1948”

โรนัลด์ ลาโมลา(Ronald Lamola) รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของแอฟริกาใต้กล่าวว่าการตอบสนองของอิสราเอลต่อการโจมตีของกลุ่มฮามาสเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ทางตอนใต้ของอิสราเอลนั้น “ล้ำเส้น”

“การโจมตีด้วยอาวุธในดินแดนของรัฐ ไม่ว่าจะร้ายแรงเพียงใด แม้แต่การโจมตีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่โหดร้าย ก็สามารถให้เหตุผลหรือแก้ต่างต่อการละเมิดอนุสัญญา [การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ปี 1948] ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกฎหมายหรือศีลธรรมก็ตาม” เขากล่าว

ลาโมลา เสริมว่าคดีนี้ทำให้ศาลมีโอกาสดำเนินการแบบเรียลไทม์เพื่อป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในฉนวนกาซาไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปด้วยการออกคำสั่งห้าม

อาดิลา ฮัสซิม(Adila Hassim) ทนายความผู้เบิกความสนับสนุนแอฟริกาใต้ กล่าวถึงสิ่งที่เธอระบุว่าเป็นการละเมิดอนุสัญญาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หลายครั้ง ซึ่งอิสราเอลเป็นภาคีของอนุสัญญาดังกล่าวด้วย

“แอฟริกาใต้ยืนยันว่าอิสราเอลละเมิดมาตรา 2 ของอนุสัญญาโดยการกระทำที่เข้าข่ายการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การกระทำดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงรูปแบบพฤติกรรมที่เป็นระบบซึ่งสามารถสรุปการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้” เธอกล่าว

ฮัสซิมจึงระบุ “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” จำนวนหนึ่งที่กระทำโดยอิสราเอล

“การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งแรกคือการสังหารหมู่ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา” เธอกล่าวขณะแสดงภาพถ่ายหลุมศพจำนวนมากที่ศพถูกฝัง “มักไม่ปรากฏหลักฐาน” เธอเสริมว่าไม่มีใครรอด รวมถึงเด็กแรกเกิดด้วย

การกระทำฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งที่สองถือเป็นอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายหรือจิตใจที่เกิดขึ้นกับชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา ซึ่งเป็นการละเมิดมาตรา 2B ของอนุสัญญาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ฮัสซิมชี้ว่าการโจมตีของอิสราเอลทำให้ชาวปาเลสไตน์เกือบ 60,000 คนได้รับบาดเจ็บและพิการ ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก

ฮัสซิมยังระบุอีกว่าพลเรือนชาวปาเลสไตน์จำนวนมาก รวมทั้งเด็ก ได้ถูกจับกุม ปิดตา ถูกบังคับให้เปลื้องผ้า บรรทุกขึ้นรถบรรทุก และถูกนำตัวไปยังสถานที่ที่ไม่รู้จัก

Tembeka Ngcukaitobi ทนายความคนที่สองที่เป็นตัวแทนของแอฟริกาใต้ ระบุว่า “ผู้นำทางการเมือง ผู้บัญชาการทหาร และบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการของอิสราเอล ได้ประกาศเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็นระบบและชัดเจน”

Ngcukaitobi ยกความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม โดยเรียกร้องให้กองกำลังภาคพื้นดินเตรียมเข้าสู่ฉนวนกาซาเพื่อ “จดจำสิ่งที่อามาเลขทำกับคุณ” “สิ่งนี้หมายถึงคำสั่งตามพระคัมภีร์ของพระเจ้าที่ส่งถึงซาอูลให้ทำลายล้างกลุ่มคนเหล่านั้นทั้งหมด” ทนายความกล่าว

สมาชิกสภาเนสเซตคนอื่นๆ เรียกร้องให้ฉนวนกาซาถูกกวาดล้าง แบน ลบออก และบดขยี้ ทนายความระบุ “ทหารเชื่อว่าภาษานี้และการกระทำของพวกเขาเป็นที่ยอมรับได้ เพราะการทำลายชีวิตชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาเป็นนโยบายของรัฐที่ชัดเจน” Ngcukaitobi กล่าว

จากนั้นการพิจารณาคดีก็มุ่งไปสู่การตอบคำถามเรื่องเขตอำนาจศาล จอห์น ดูการ์ด(John Dugard) ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายระหว่างประเทศของแอฟริกาใต้ ชี้ให้เห็นว่าพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั้น “เป็นภาระหน้าที่ต่อประชาคมระหว่างประเทศโดยรวม”

“รัฐภาคีของอนุสัญญานี้ไม่เพียงมีหน้าที่ต้องยุติการกระทำฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เท่านั้น แต่ยังต้องป้องกันการกระทำเหล่านั้นด้วย” ดูการ์ดกล่าว พร้อมเสริมว่าแอฟริกาใต้พยายามติดต่อรัฐบาลอิสราเอลผ่านทางสถานทูตก่อนยื่นฟ้องแล้ว

แม็กซ์ ดู เปลสซิส(Max du Plessis) ทนายความอีกคนที่เป็นตัวแทนของแอฟริกาใต้กล่าวว่าหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ ตลอดจนองค์กรสิทธิมนุษยชน สถาบัน และรัฐต่างๆ “ได้ร่วมกันพิจารณาการกระทำของอิสราเอลว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เตือนว่าชาวปาเลสไตน์ เสี่ยงต่อการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์”

ตัวแทนทางกฎหมายของแอฟริกาใต้เตือนศาลว่าในขั้นตอนนี้ ศาลไม่จำเป็นต้อง “ตัดสินว่าอิสราเอลมีกระทำการที่ขัดต่อพันธกรณีของตนภายใต้อนุสัญญาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือไม่?”

อิสราเอลโต้แย้งซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าตนกำลังดำเนินการเพื่อป้องกันตนเองหลังจากที่นักรบฮามาสบุกเข้ามาในดินแดนของตนเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม คร่าชีวิตผู้คนไป 1,139 ราย และจับผู้คนไปเป็นเชลยมากกว่า 200 คน

ในสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นข้อโต้แย้งแบบเอาแต่ใจซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่อิสราเอลจะเรียกร้องกลุ่มฮามาสถูกพิจารณาคดีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ แต่คณะผู้แทนของแอฟริกาใต้ตั้งข้อสังเกตว่ากลุ่มฮามาสไม่ใช่รัฐและไม่สามารถเป็นภาคีของอนุสัญญาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการดำเนินคดีที่กรุงเฮกได้

หลังจากการเบิกความเป็นเวลาสามชั่วโมงเกี่ยวกับสิ่งที่แอฟริกาใต้กล่าวว่าเป็นคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่น่าสนใจ ศาลก็สั่งให้มีการไต่สวนคดีต่อในวันศุกร์เพื่อรับฟังข้อโต้แย้งด้วยวาจาของอิสราเอล

โธมัส แมคมานัส(Thomas MacManus) อาจารย์อาวุโสด้านอาชญากรรมของรัฐที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยควีนแมรีแห่งลอนดอน บอกกับอัลญะซีเราะห์ว่าการเบิกความของแอฟริกาใต้ “น่าประทับใจมาก” “พวกเขาระบุข้อกล่าวหาที่รัดกุมด้วยวิธีที่รัดกุมและถูกต้องตามกฎหมาย” MacManus กล่าว

นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู กล่าวว่ามีการนำเสนอความหน้าซื่อใจคดและการโกหกต่อศาลสูงสุดของสหประชาชาติ โดยเสริมว่าข้อกล่าวหาของแอฟริกาใต้ต่ออิสราเอลเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในฉนวนกาซาจะเกิดขึ้นได้ในโลกที่กลับหัวกลับหางเท่านั้น

“เรากำลังต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย เรากำลังต่อสู้กับการโกหก” เนทันยาฮูกล่าว “วันนี้เราเห็นโลกกลับหัว อิสราเอลถูกกล่าวหาว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในขณะที่กำลังต่อสู้กับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์”

“อิสราเอลกำลังต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายที่ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ พวกเขาสังหาร ข่มขืน เผา ตัดชิ้นส่วน ตัดศีรษะ เด็ก ผู้หญิง คนชรา ชายหนุ่ม และหญิง” เขากล่าว

“ความหน้าซื่อใจคดของแอฟริกาใต้กรีดร้องสู่สวรรค์” เนทันยาฮูกล่าวเสริม “แอฟริกาใต้อยู่ที่ไหนตอนที่ผู้คนหลายล้านคนถูกสังหารหรือถูกพรากจากบ้านในซีเรียและเยเมน โดยใคร? โดยพันธมิตรของกลุ่มฮามาส”

เนทันยาฮูกล่าวว่าอิสราเอลจะรักษาสิทธิ์ในการปกป้องตัวเองจนกว่าจะได้รับ “ชัยชนะทั้งหมด”

Lior Haiat โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิสราเอล ระบุว่าการพิจารณาคดีเมื่อวันพฤหัสบดีว่าเป็นหนึ่งใน “การแสดงความหน้าซื่อใจคดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ประกอบกับการกล่าวอ้างที่เป็นเท็จและไม่มีมูลความจริงหลายครั้ง”

จากนั้นเขากล่าวหาแอฟริกาใต้ว่าพยายามยอมให้กลุ่มฮามาสเดินทางกลับอิสราเอลเพื่อ “ก่ออาชญากรรมสงคราม”

แม้ว่าคำตัดสินใดๆ ของ ICJ อาจมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อสงคราม แต่สิ่งหนึ่งที่สนับสนุนแอฟริกาใต้และชาวปาเลสไตน์จะสร้างความกดดันอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้สนับสนุนหมายเลขหนึ่งของอิสราเอล นั่นก็คือสหรัฐอเมริกา

จอห์น เคอร์บี โฆษกความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาวกล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า สหรัฐฯ ไม่เห็นมูลเหตุสำหรับข้อกล่าวหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของแอฟริกาใต้ต่ออิสราเอลเกี่ยวกับการเสียชีวิตของพลเรือนในฉนวนกาซา

ขณะที่ในวันศุกร์(12 มกราคม)ที่ผ่านมาภายหลังการแก้ต่างของอิสราเอลที่ศาลโลก MEMO รายงานว่า โรนัลด์ ลาโมลา(Ronald Lamola) รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นผู้นำคณะผู้แทนแอฟริกาใต้ กล่าวกับผู้สื่อข่าวในกรุงเฮกว่า “ในปัจจุบัน รัฐอิสราเอลล้มเหลวในการพิสูจน์หักล้างหลักฐานของแอฟริกาใต้ที่เสนอต่อศาล”

“เราเชื่อและยังคงมั่นใจอย่างยิ่งว่าข้อเท็จจริงเหล่านั้นเป็นการละเมิดอนุสัญญาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ลาโมลากล่าว

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำกล่าวอ้างของอิสราเอลที่ว่าแอฟริกาใต้ “เข้าใจผิด” นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูที่อ้างถึงกลุ่มอาเมเลค (ลูกหลานของอเมเลค) และคำนี้ไม่เกี่ยวข้องกับ “การยุยงให้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวปาเลสไตน์” รัฐมนตรีแอฟริกาใต้กล่าวว่าการอ้างอิงดังกล่าวไม่สามารถเพิกเฉยได้

“คุณจะเพิกเฉยต่อคำกล่าวอ้างของอาเมเลคของนายกรัฐมนตรีได้อย่างไร” เขาถามโดยตั้งคำถามกลับไปยังรัฐมนตรีอิสราเอล พร้อมชี้ว่ารัฐมนตรีคนอื่นๆ ยังพูดซ้ำๆ ต่อเรื่องนี้ ย่อมแสดงว่า “แสดงให้เห็นการดำเนินการตามนโยบายอย่างชัดเจน”

ชาวอาเมเลขคือกลุ่มคนสมัยโบราณที่ถูกระบุในพระคัมภีร์ของชาวยิวว่าเป็นผู้ข่มเหงชาวอิสราเอล

รัฐมนตรีย้ำว่า

ไม่ว่าบุคคลในกลุ่มปาเลสไตน์และฉนวนกาซาจะทำอะไรก็ตาม และไม่ว่าภัยคุกคามต่อพลเมืองอิสราเอลจะรุนแรงเพียงใด การโจมตีแบบฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทั่วทั้งฉนวนกาซา … ด้วยเจตนาทำลายล้างพวกเขาก็ไม่สมเหตุสมผลเลย

ลาโมลายังตอบสนองต่อข้อกล่าวหาของอิสราเอลที่เรียกข้อโต้แย้งของแอฟริกาใต้ว่า “สับสนและโกหก” เขากล่าวว่าข้อโต้แย้งส่วนใหญ่ รวมถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการพลัดถิ่น ก็มาจากสหประชาชาติเช่นกัน

อัมมาร์ ฮิจาซี(Ammar Hijazi) ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงกิจการพหุภาคีแห่งรัฐปาเลสไตน์กล่าวว่าอิสราเอล “ไม่สามารถให้ข้อโต้แย้งที่ชัดเจนใดๆ บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและกฎหมายได้” ในระหว่างการโต้แย้งด้วยวาจา

สิ่งที่อิสราเอลเบิกความต่อศาลในวันนี้คือคำโกหกหลายข้อที่ถูกหักล้างไปแล้วซึ่งได้ถูกกล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้

ฮิจาซีกล่าวว่า

นอกจากนี้ MEMO ยังรายงานอีกว่า ทนายความชาวไอริช บลินน์ นี กราเลห์(Blinne Ni Ghralaigh) ทีมกฎหมายของแอฟริกาใต้ ยังได้นำเสนอข้อความสุดท้ายที่ ดร.มาห์มูด อาบู นูไจลา(Mahmoud Abu Nujaila) แพทย์จาก Medecins Sans Frontieres ที่เขียนทิ้งไว้บนกระดานไวท์บอร์ดของโรงพยาบาลในฉนวนกาซา ก่อนที่จะเสียชีวิตในเวลาต่อมาจากการโจมตีทางอาการของอิสราเองต่อโรงพยาบาลดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนโดยข้อความระบุว่า

ใครก็ตามที่ยืนหยัดจนถึงสุดท้าย
จงบอกเล่าเรื่องราวที่เราทำ สิ่งที่เราได้ทำ
จดจำมันไว้

Dr Mahmoud Abu Nujaila

นอกจากนี้ในบทความของ บลินน์ นี กราเลห์(Blinne Ni Ghralaigh) ใน thewire.in ยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ข้อความดังกล่าวของ ดร.มาห์มูด อาบู นูไจลา(Mahmoud Abu Nujaila) ที่เสียชีวิตพร้อมกับเพื่อนร่วมงานอีก 2 คน ได้ถูกนำมาเผยแพร่ในคำเทศในโบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองเบธเลเฮมในวันคริสต์มาส ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่อิสราเอลสังหารชาวปาเลสไตน์ 250 คน ในจำนวนนี้อย่างน้อย 86 คน หลายคนมาจากครอบครัวเดียวกัน ถูกสังหารหมู่ในการโจมตีค่ายผู้ลี้ภัยเพียงครั้งเดียว

บาทหลวงชาวปาเลสไตน์ มุนเธอร์ ไอแซค(Munther Isaac) กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมของเขาและชาวโลกว่า: “ฉนวนกาซาอย่างที่เรารู้ว่าไม่มีเหลืออยู่แล้ว นี่คือการทำลายล้าง นี่คือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เราจะลุกขึ้นมา เราจะยืนหยัดขึ้นมาอีกครั้งจากท่ามกลางการทำลายล้าง ดังเช่นที่เราเคยทำมาโดยตลอดในฐานะชาวปาเลสไตน์ แม้ว่านี่อาจเป็นการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดที่เราได้รับก็ตาม”

ความคิดเห็น

comments