สยบฟิตนะห์เบียร์ฮาลาล! ไม่ออกฮาลาลให้ผลิตภัณฑ์เลียนแบบเหล้า-เบียร์

มีอยู่บางกรณี ไม่พบหะรอม ไม่พบนญิส แต่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกลับไม่รับรอง เช่นผลิตภัณฑ์เบียร์ ไวน์ วิสกี้ หรือผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเลียนแบบผลิตภัณฑ์สุราอื่นๆที่ปลอดแอลกอฮอล์โดยการสกัดแอลกอฮอล์ออกจนหมด ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ไม่นับเป็นนญิสและไม่อาจนับเป็นสิ่งหะรอม อย่างไรก็ตาม ไม่อนุญาตให้มีการรับรองฮาลาลเนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้เดิมทีมีเจตนาทำเครื่องดื่มหะรอม

Dr.Winai Dahlan โพสเฟสบุกระบุถึงหลักเกณฑ์ในการรับรองฮาลาลในหัวข้อ “ไม่สกปรก ไม่หะรอม แต่ไม่รับรองฮาลาล” โดยระบุว่า

การรับรองฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยหลักใหญ่คือดูว่าผลิตภัณฑ์ที่ขอการรับรองมีการปนเปื้อนสิ่งหะรอมที่ถูกกำหนดตามมาตรฐานฮาลาลหรือไม่ หากพบการปนเปื้อนจากการใช้วัตถุดิบหรือจากการตรวจวิเคราะห์หรือกรณีอื่นย่อมรับรองฮาลาลไม่ได้ อีกประการหนึ่งคือการตรวจพบนญิสหรือสิ่งสกปรกตามตามหลักการอิสลามย่อมไม่รับรองเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม มีอยู่บางกรณี ไม่พบหะรอม ไม่พบนญิส แต่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกลับไม่รับรอง ได้แก่
1. ผลิตภัณฑ์เบียร์ ไวน์ วิสกี้ หรือผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเลียนแบบผลิตภัณฑ์สุราอื่นๆที่ปลอดแอลกอฮอล์โดยการสกัดแอลกอฮอล์ออกจนหมด ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ไม่นับเป็นนญิสและไม่อาจนับเป็นสิ่งหะรอม อย่างไรก็ตาม ไม่อนุญาตให้มีการรับรองฮาลาลเนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้เดิมทีมีเจตนาทำเครื่องดื่มหะรอมแต่แบ่งออกมาส่วนหนึ่งเพื่อสกัดแอลกอฮอล์ออก ถือว่าเจตนาเดิมนั้นยังคงอยู่ ไม่เหมาะสมที่จะให้การรับรองฮาลาล
2. ผลิตภัณฑ์ข้าวหมากหรือตาแปมีการหมักข้าวกระทั่งเกิดแอลกอฮอล์ หากมีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 1.5% โดยน้ำหนักย่อมมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอาการมึนเมาจึงนับเป็นสิ่งหะรอม หากมีแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1.5% ไม่นับเป็นนญิสและไม่นับเป็นสิ่งหะรอม แต่ไม่รับรองฮาลาลเนื่องจากมีความเสี่ยงว่าอาจมีผู้บริโภคทำการแยกส่วนของน้ำออกจากเนื้อข้าวเพื่อนำไปบริโภค น้ำนั้นย่อมมีแอลกอฮอล์ปริมาณสูงกลายเป็นสิ่งหะรอมไปได้
3. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบที่สกัดมาจากชิ้นส่วนของมนุษย์ ดังเช่น สาร E920 หรือ L-cysteine สกัดจากเส้นผมมนุษย์ แม้ชิ้นส่วนจากมนุษย์ถือว่าสะอาดไม่ใช่นญิส และไม่หะรอม ฟัตวาของท่านจุฬาราชมนตรี (อาศิส พิทักษ์คุมพล) ที่ 01/2556 ไม่อนุมัติการบริโภค
กรณี 1 และ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนาอิสลามของคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานครเคยฟัตวาแล้วซึ่งสอดคล้องกับการฟัตวาโดยคณะกรรมการฟัตวาจากสำนักอื่นในต่างประเทศ ขณะที่กรณีที่ 3 มีฟัตวาจากจุฬาราชมนตรีชัดเจนแล้ว

d8333

ความคิดเห็น

comments