ม.นรา จัดโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน SMP

ม.นราฯ จัดโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน SMP เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการในด้านปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

ณ ห้องประชุม ดร.สุพัฒน์ ศรีสวัสดิ์ ชั้น 6 คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เมือง จ.นราธิวาส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีระ เทพพรหม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นประธานเปิดโครงการ “พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโครงการ SMP ซึ่งทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่มหาวิทยาลัยนราธิวาสฯจัดทำขึ้น โดยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ และฝึกทักษะกระบวนการในด้านปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ช่วยให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาประสิทธิภาพในการเรียนการสอน และเป็นการส่งเสริมและยกระดับทางการศึกษาให้กับนักเรียนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนในโครงการ SMP รวม 9 แห่ง จำนวน 180 คน และคณะครูจากโรงเรียนดังกล่าวอีก จำนวน 36 คน

และการจัดโครงการดังกล่าวเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและคณะครูในโครงการ SMP และส่งเสริมประสบการณ์และสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับนักเรียนและคณะครูในโครงการ SMP โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การสอนเสริมภาคทฤษฏีแก่นักเรียน การสอนเสริมภาคปฏิบัติแก่คณะครู การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การจัดการเรียนการสอนให้เกิดประโยขนสูงสุด” โดย ผศ.ดร.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด อดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจกรรมและพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยสงชลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และการบรรยายพิเศษในหัวข้อ 1 ความสุขของครู” โดยอาจารย์สรยา จาราแว ข้าราชการบำนาญ อดีตอาจารย์ประจำโรงเรียนคณะราษฏร์ จ.ยะลา อีกด้วย

ด้านนางสาวฟารียานี สาแม อาจารย์โรงเรียนประทีบวิทยา กล่าวว่า โครงการ SMP เป็นโครงการที่เน้นในส่วนของการพัฒนาเด็กนักเรียนโรงเรียนเอกชน ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมกับทาง กอ.รมน.โดยในช่วงแรงมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 6 แห่งที่เรียนควบคู่ไปพร้อมๆกับทางศาสนา และในปี 2560 มีเพิ่มอีก 3 โรงเรียน เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเพิ่มประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น และเมื่อในอดีตที่ผ่านมา นักเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ค่อยให้ความสนใจการเรียนด้านวิทยาศาสตร์มากนัก และเมื่อมีการพัฒนาด้านอุปกรณ์และเครื่องมือที่ดีและทันสมัยส่งผลให้นักเรียนมีความตื่นตัวอยากเรียนด้านวิทยาศาสตร์และมีพัฒนาการที่ดีมากขึ้น และหลังจากที่เด็กนักเรียนได้เข้ามาร่วมในกิจกรรมโครงการ SMP ทำให้เด็กได้มีการรู้จักเพื่อนสามารถเปิดโลกทัศน์มากขึ้นและมีประสบการณ์เพิ่ม และเกิดการกระตุ้นให้รู้จักวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยโครงการนี้ยังได้จัดทำขึ้นในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส พร้อมกับการดูแลและเป็นที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิดจากวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆในพื้นที่

ด้าน ด.ช.ซอบีรีน แวยูโซ๊ะ นักเรียน ที่เข้าร่วมโครงการ เปิดเผยว่า จากเดิมที่นักเรียนได้เรียนมาจากสถาบันเดิมนั้น นักเรียนได้ความรู้ที่ไม่มากนัก แต่พอได้เข้ามาร่วมตัวกับโครงการ SMP แล้ว ทำให้วิชาต่างๆ เช่น วาศาสตร์ คณิตศาสตร์ที่มีการเน้นมากขึ้น ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น และมีความหวังที่จะพัฒนาตัวเองและประเทศชาติต่อไปในอนาคตได้.

ภาพ/ข่าว ซาการียา ดอเลาะ​

ความคิดเห็น

comments