ซูจีชิ่งไม่ร่วมประชุม UN ผลจากการใช้ความรุนแรงต่อโรฮิงญา

การปราบปรามทางทหารอย่างรุนแรงต่อโรฮิงญาในรัฐยะไข่ที่เริ่มต้นตั้งแต่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการอพยพขนาดใหญ่ 379,000 คนในช่วงเวลาไม่ถึง 20 วัน ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์อย่างหนักต่อนางอองซานซูจีผู้นำพม่าในฐานะเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่กลับปล่อยให้เกิดการละเมิดสิทธิอย่างรุนแรงต่อชาวโรฮิงญาโดยไม่ใช้อำนาจยับยั้ง

นางอองซานซูจีผู้นำประเทศพม่าในตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐ ประกาศจะไม่เข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นครนิวยอร์กที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้

โฆษกฝ่ายพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของนางซูจีกล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อวันอังคาร(12 กันยายน)ว่าเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพได้ถอนตัวจากเข้าร่วมประชุมสหประชาชาติในนิวยอร์กที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 กันยายนนี้

การแถลงดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยเหตุผลที่นางถอนตัวจากการร่วมประชุมระดับโลกดังกล่าว

นางอองซานซูจีผู้นำพม่าในตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐต้องเผชิญกับ การวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการพลัดถิ่นของ ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา ในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า

นับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคมมีชาวโรฮิงญา 379,000 คนหนีตายจากพม่าเข้าบังคลาเทศ แต่โฆษกพรรค NLD กล่าวว่าไม่ทราบเหตุผลที่นางอองซานซูจีถอนตัวออกจากการประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปีครั้งนี้

“เธอไม่กลัวที่จะถูกวิจารณ์หรือเผชิญหน้ากับปัญหาบางทีเธออาจจะมีเรื่องเร่งด่วนในการจัดการกับเรื่องนี้” Aung Shin โฆษก NLD กล่าวกับรอยเตอร์

โดย U Henry Van Thio รองประธานาธิบดีพม่าคาดว่าจะเป็นตัวแทนพม่าเข้าร่วมการประชุมแทน และพูดในนามของพม่า ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัวเมื่อวันพุธที่(13 กันยายน)ผ่านมา

วิกฤติที่เกิดขึ้นกับกองกำลังรักษาความปลอดภัยการตอบสนองอย่างรุนแรงต่อชาวโรฮิงญาเป็นปัญหาใหญ่ที่นางอองซานซูจีได้เผชิญหน้ามาตั้งแต่เริ่มเป็นผู้นำพม่าในปีที่แล้ว

ชาวเน็ตได้ล่าชื่อเพื่อเรียกร้องให้เธอถูกปลดออกจากรางวัลโนเบลสันติภาพเนื่องจากไม่สามารถยับยั้ง หรือแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้น

ในปีแรกของการเป็นผู้นำพม่านางเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว นางได้กล่าวปกป้องความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาวิกฤติที่เกิดขึ้นกับชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม

ความกดดันระหว่างประเทศต่อพม่ากำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงในรัฐยะไข่ รัฐที่ยากจนที่สุดของพม่า ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศที่เริ่มขึ้นในวันที่ 25 สิงหาคมเมื่อกองกำลังที่อ้างตัวเป็นชาวโรฮิงญาก่อเหตุโจมตีด่านตรวจ และค่ายทหาร รวม 31 แห่ง

ทหารพม่าใช้กรณีดังกล่าวเป็นข้ออ้างในการปราบปรามอย่างรุนแรงต่อชาวโรฮิงญาอย่างขว้างขวาง ซึ่งชาวโรฮิงญาที่หนีตายมาได้เล่าว่าปฎิบัติการทางทหารของพม่ามีขึ้นเพื่อขับไล่ชาวโรฮิงญาออกจากพม่า

ที่มา อัลญะซีเราะห์

ความคิดเห็น

comments