พม่าประกาศจะสร้างค่าย 3 แห่งรองรับผู้อพยพจากเหตุรุนแรงในยะไข่

สื่อมวลชนให้การสนับสนุนจากรัฐบาลพม่ารายงานเมื่อวันเสาร์(9 กันยายน)ที่ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 16 วัน ที่รัฐบาลพม่าได้ออกมาประกาศจะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวโรฮิงญา ที่หลบหนีความรุนแรงจากการปราบปรามของทหารพม่าเข้าไปในฝั่งบังกลาเทศ

รัฐบาลพม่าระบุว่าจะสร้างค่ายขึ้น 3 แห่งทางตอนเหนือ ตอนใต้ และตอนกลางของ Maungdaw ซึ่งเป็นศูนย์กลางของความรุนแรงและเป็นพื้นที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ของชาวโรฮิงญา

“คนที่อพยพจะสามารถได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการดูแลรักษาทางการแพทย์” ซึ่งความช่วยเหลือจะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของกาชาดพม่า ตามรายงานที่เปิดเผยวันเสาร์

ตามรายงานไม่ได้ระบุโดยตรงว่าจะเป็นความช่วยเหลือให้กับชาวโรฮิงญาหรือไม่ แต่กล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือต่อชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ โดยจะช่วยเหลือจนกว่าเหตุการณ์จะสงบ

“เบงกาลี” เป็นคำเรียกที่กลุ่มหัวรุนแรงพม่าใช้เรียกชาวโรฮิงญา เพื่อกล่าวหาว่าคนกลุ่มนี้เป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ โดยพวกเขาถูกเลือกปฎิบัติจากรัฐบาลพม่า

ชาวโรฮิงญาราว 120,000 คนยังคงกลายเป็นผู้ผลัดถิ่นที่ต้องอยู่ค่ายลี้ภัยในพม่า จากเหตุความรุนแรงในการปราบปรามของทหารพม่า และกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนาในปี 2012 ในขณะที่ส่วนที่ชาวโรฮิงญาที่เหลือก็ยังคงอยู่ภายใต้ข้อกำหนดที่เข้มงวดในการเคลื่อนไหวของพวกเขาในพม่า

ขณะที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลพม่าได้ตอบรับข้อเสนอของคณะที่ปรึกษานานาชาติแก้ปัญหาความขัดแย้งทางศาสนาในรัฐยะไข่ภายใต้การนำของโคฟี อันนัน ที่เสนอให้พม่าปิดค่ายโรฮิงญาโดยให้คืนสัญชาติแก่พวกเขา และให้พวกเขาได้กลับไปอยู่ในบ้านของตนได้ตามปกติ แต่ความรุนแรงระรอกล่าสุดเกิดขึ้นเพียง 2 วันหลังจากที่อันนันได้นำเสนอการแก้ปัญหายะไข่ฉบับสุดท้ายให้กับพม่า โดยข้อเสนอหลักๆ คือการคืนสิทธิด้านมนุษยธรรมให้กับชาวโรฮิงญา และให้เร่งกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานาย Yanghee Lee ผู้แทนพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในพม่ากล่าวว่าประชาชนกว่าพันคนอาจถูกสังหารในการปราบปรามกองทัพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา

ในการให้สัมภาษณ์กับ AFP เธอกล่าวว่านักการเมืองชื่อดังกล่าวนางอองซาน ซูจีผู้เคยรณรงค์ประชาธิปไตยที่กล้าหาญในสมัยอดีตรัฐบาลพม่าไม่ได้ใช้อำนาจทางจริยธรรมของเธอในการปกป้องชาวโรฮิงญา

“ฉันคิดว่าเราจำเป็นต้องลบความทรงจำของเราเกี่ยวกับไอคอนประชาธิปไตยที่ถูกคุมขัง” ลีกล่าวอธิบายว่าซูจีเป็นนักการเมืองไม่ใช่ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน

ซูจีผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพถูกประณามจากเพื่อนร่วมรางวัลโนเบล Malala Yousafzai และบิชอพ Desmond Tutu ต่อการที่นางปฏิเสธที่จะออกมากดดันให้ทหารยุติปฎิบัติการ และพูดเพื่อปกป้องสิทธิชาวโรฮิงญา

ความคิดเห็น

comments